ขอบคุณมากค่ะพี่เกรียงที่ช่วยรับเป็นที่ปรึกษาเรื่องที่พวกเรากำลังทำงานกลุ่มกันนี้
ทั้งที่บอกในเวลาอันสั้น หน่อยขอบคุณผม เธอเป็นเพื่อนของเพื่อนที่ทำธุรกิจให้คำปรึกษาด้านการบริหารงานขาย
หน่อยกำลังเรียนปริญญาโทสำหรับผู้บริหารที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เธอและทีมงานอีก
4 คน ได้รับหมอบหมายจากอาจารย์ในวิชาพฤติกรรมองค์กร ให้ทำงานโครงการนำเสนอเรื่องภาวะผู้นำกับการตัดสนใจ
ิู่
ทีมงานของเราวางแผนไว้ว่าจะนำเสนอโมเดลการตัดสินใจของผู้บริหาร สักสองสามรูปแบบ
เป็นภาคแนวคิดหรือทฤษฎีเกี่ยวกับการตัดสินใจของผู้นำ หลังจากนั้นเราอยากนำเสนอให้เห็นว่าในชีวิตจริงแล้วผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จเขามีการตัดสินใจกันอย่างไร
เราจะสัมภาษณ์และพูดคุยกับพี่ แล้วอัดวีดีโอเพื่อนำไปตัดต่อ แล้วนำเสนอสอดแทรกในการเสนองานของกลุ่มเรา
พี่เกรียงโอเคไหมค่ะ
ได้เลยหน่อย เรื่องที่ผมมีโอกาสได้ช่วยเหลือคนอื่นในเรื่องที่ผมพอมีความรู้อยู่บ้างนั้นเป็นความสุขของผมอยู่แล้ว
ผมว่าพวกคุณช่วยกันตั้งคำถาม แล้วผมก็ตอบ เสร็จแล้วคุณก็นำไปตัดต่อเลือกเอาละกัน
เดี๋ยวนี้วีดีโอดิจิตอลมันง่ายมาก
ไม่ต้องห่วงค่ะพี่ อารีย์พาสามีมาช่วยถ่ายด้วย อารีย์ซึ่งเป็นผู้อำนวยการฝ่ายกำกับและตรวจสอบภายในของบริษัทหลักทรัพย์ที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งพาตากล้องกิตติมศักดิ์มาช่วยงานนี้
พรชัย ผู้จัดการฝ่ายขายของธุรกิจเกี่ยวกับสี เริ่มยิงคำถามแรกก่อนเลย
พี่เกรียงครับ จากประสบการณ์ของพี่ผู้บริหารที่เก่งๆ นั้นเขามีอะไรคล้ายๆกันบ้างในการตัดสินใจ
ผมอธิบายว่า ในการตัดสินใจนั้น ผมมองว่ามี 4 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือ ค่านิยม
ความเชื่อ สไตล์ และรูปแบบ
กัปตันชูชาติ ซึ่งเป็นนักบินในสายการบินเพื่อการพาณิชย์แห่งหนึ่งถามด้วยความนอบน้อม
ตามสไตล์ผู้ดีเก่า คุณเกรียงศักดิ์หมายความว่าอย่างไรครับ
ผมหมายความว่าอย่างนี้ครับ ปัจจัย 4 ข้อนี้มีผลต่อการตัดสินใจของคนเรา เริ่มที่ค่านิยมก่อน
เช่น หากคุณเป็นคนที่มีค่านิยมเรื่องของผลลัพท์ที่จับต้องได้ เช่น กำไรสูงสุดการตัดสินใจของคุณก็จะมีแรงจูงใจในเรื่องของเงิน
แต่ว่าหากค่านิยมของคุณคือเรื่องความสัมพันธ์ การตัดสินใจของคุณก็จะคำนึงถึงความรู้สึกของคนที่ได้รับผลกระทบจากการตัดสินใจ
ถ้าหากมันเป็นการตัดสินใจโดยลำพัง ที่ไม่มีผลกระทบกับคนอื่น ก็ยังพอทำเนา แต่หากว่าเป็นการตัดสินใจเป็นทีมละก็
อาจจะมีปัญหาได้หากทีมงานแต่ละคนมีค่านิยมที่แตกต่างกันแบบสุดขั้วก็มักจะเกิดความขัดแย้งเกิดขึ้น
ทรงพล ซึ่งเป็นผู้อำนวยการฝ่ายติดตามความเสี่ยงด้านสินเชื่อ จากธนาคารใหญ่แห่งหนึ่ง
ถามขึ้นมาว่า แล้วเราจะทำอย่างไรครับ เพื่อลดความขัดแย้งนี้ หากทีมมีค่านิยมที่แตกต่างกันมากละครับ
ทางออกทางหนึ่งก็คือการที่องค์กรหลายๆแห่งมีการจัดทำค่านิยมพื้นฐาน หรือที่เรียกว่า
Core Values ซึ่งมันจะเปรียบเสมือนเข็มทิศสำหรับบุคลากรในองค์กรแห่งนั้น ว่าหากเกิดความขัดแย้งจากการที่มีค่านิยมของแต่ละบุคคลแตกต่างกันแล้ว
ทีมงานต้องหันกลับมาที่ค่านิยมหลักขององค์กรเพื่อใช้เป็นบรรทัคฐานในการตัดสินใจ
เช่นกัน หากองค์กรใดไม่มีการจัดทำค่านิยมพื้นฐานให้ชัดเจน การตัดสินใจแต่ละครั้งก็จะสร้างความขัดแย้งในใจคน
เพียงแต่ว่าคนจะแสดงออกหรือไม่เท่านั้น
แล้วอีก 3 ปัจจัยที่เหลือละคะ หน่อยถามด้วยความอยากรู้โดยแทบจะไม่ยอมเปิดโอกาสให้ผมได้หายใจเลย
ผมอยากเน้นเรื่องความเชื่อ ดังนั้นผมจะพูดเป็นเรื่องสุดท้ายสำหรับสไตล์นั้นเป็นเรื่องของแต่ละบุคคล
เราต้องคอยสังเกตดูว่าแต่ละคนโดยเฉพาะนายเราเขามีสไตล์อย่างไร บางคนตัดสินใจนาทีสุดท้าย
บางคนถนัดการตัดสินใจแบบรวดเร็ว บางคนชอบให้คนระดมความคิดกันมากๆ บางคนชอบถามความเห็นคนอื่นก่อน
มีหลากหลาย ถ้าแม้นว่าเป็นไปได้ เราควรพยายามยืดหยุ่นปรับตัวเราให้เข้ากับสไตล์ของผู้อื่น
ตราบเท่าที่ไม่เกิดผลเสียหายกับองค์กร อย่างไรก็ตาม ทีมงานที่มีประสิทธิภาพมักจะจัดทำ
Team Norm หรือกติกาในการตัดสินใจ ว่าทีมงานนั้นจะมีกี่รูปแบบ และในสถานการณ์ใดควรจะใช้แบบใด
วิธีนี้จะมีประโยชน์มาก หากมีทีมงานมีสมาชิกที่มีสไตล์ที่แตกต่างกันมาก
สำหรับเรื่องรูปแบบหรือกระบวนการที่ใช้นั้นขึ้นอยู่กับองค์กร เช่น มีองค์กรจำนวนมากที่ใช้แนวทางการวิเคราะห์การตัดสินใจของเคปเนอร์-ทริโก
บางแห่งก็ใช้แนวคิดหมวก 6 ใบ ของเอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน เรื่องนี้แล้วแต่ว่าองค์กรจะเลือกแบบไหน
ก็จะอบรมบุคลากรให้ใช้แบบนั้นๆ
คุณอารีย์ถือโอกาสเชื่อมเข้าเรื่องปัจจัยที่ 4 ทีนี้มาถึงเรื่องระบบความเชื่อแล้วใช่ไหมคะ
จากประสบการณ์ของผม
ผู้บริหารที่เก่งๆ ในยุคนี้นั้นมักจะมีระบบความเชื่อที่คล้ายๆกันในเรื่องการตัดสินใจ
พวกเขาจะรักษาสมดุลระหว่างความเร็วและข้อมูล พวกเขาเชื่อว่าการตัดสินใจในเวลาแม้มีข้อมูลเพียงร้อยละ
80 ยังดีกว่ารอข้อมูลครบร้อยแต่ตัดสินใจล่าช้าเกินไป เราอยู่ในยุคที่เรียกว่า
เศรษฐกิจความเร็วหรือ The Economy of Speed โลกเราเปลี่ยนแปลงเร็วมาก หากเราไม่ตัดสินใจเราก็ไม่สามารถลงมือทำงานได้
แนวโน้มก็คือคู่แข่งเราอาจจะตัดหน้าไปก่อนก็ได้ พวกเขาพร้อมที่จะเสี่ยงมากกว่าเราอยู่แล้ว
แต่จะมีพฤติกรรมแบบนี้ได้นั้น พวกเขาต้องเชื่อว่าเขาได้ตัดสินใจภายใต้ปัจจัยที่ดีที่สุดในเวลานั้นๆ
แล้วเขาได้คำนึงถึงข้อมูล ปัจจัยต่างๆตลอดจนนำคนที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมแล้ว
เขาก็พร้อมที่จะรับผิดชอบต่อผลของการตัดสินใจของเขา ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น หากมันเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด
เขาก็จะลงมือแก้ไขและปรับแต่งแผนงานเพื่อลดความเสียหาย พวกเขาจะไม่หวั่นวิตกว่าการตัดสินใจผิดพลาดจะทำให้เขาเสียความมั่นใจ
เขาเชื่อว่าการตัดสินใจผิด 2 ครั้งใน 10 ครั้ง ดีกว่ามีการตัดสินใจผิดเป็นศูนย์
แต่ไม่มีการตัดสินใจเลย
นอกจากนี้
พวกเขายังมีความเชื่อในเรื่องที่ว่า ไม่มีใครสมบูรณ์ ดังนั้นเขาจะไม่กลัวเสียหน้าจากการทำผิด
เขารู้ดีว่าความกลัวเสียหน้า ทำให้คนไม่กล้าตัดสินใจอะไรออกไปเพราะหากมีความผิดพลาดเกิดขึ้น
จะถูกคนอื่นตำหนิ พวกเขาจะมองว่าผิดเป็นครู เขาจะรีบบอกให้คนอื่นรับรู้ว่าบทเรียนที่ได้คืออะไรเพื่อป้องกันไม่ให้คนอื่นต้องมาผิดพลาดแบบเขาอีกนั่นเป็นวิธีที่ผู้นำเหล่านี้เห็นว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากความผิดพลาดของตนเองให้ผู้อื่น
สำหรับคนที่ไม่เรียนรู้จากสิ่งที่ผิดพลาดนั้น ปกติคือคนที่คอยจ้องจับผิดชี้นิ้วหาแพะเมื่อเกิดปัญหาขึ้น
ที่มาหนังสือพิมพ์
โพสต์ทูเดย์ วันที่ 30 / 1/ 06
|