THE TOYOTA
WAY |
แปลโดย :ดร.วิทยา สุหฤทดำรง |
ตอนที่ 3 : หลักการข้อที่ 1-ปรัชญาความยั่งยืนในระยะยาว |
ยึดคำมั่นต่อลูกค้า พนักงาน และสังคม เป็นสิ่งที่พนักงานทุกระดับ
ทุกๆคนท่องจนขึ้นใจ ! Dr. Liker กล่าวว่าเขาไม่เคยเห็นบริษัทอื่นๆให้น้ำหนักในเรื่องนี้มากเท่ากับ TOYOTA เลย ! |
![]() |
จากการสัมภาษณ์ครั้งหนึ่ง Jim Press ผู้เป็นรองประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านปฏิบัติการของ TOYOTA MOTOR SALES ในอเมริกาเหนือกล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า : เงินที่ได้จากผลประกอบการของเรานั้น มิใช่เพื่อเอาไว้ตอบแทนผู้บริหารหรือพนักงานเป็นหลัก ตรงกันข้าม พวกเรายินดีมากกว่าหากมันจะถูกนำไปพัฒนาชุมชน ช่วยเหลือสังคมที่ได้ให้โอกาสแก่พวกเราในการเข้าไปทำธุรกิจ มิใช่เพราะพวกเราไม่อยากได้ผลตอบแทนมากๆ แต่พวกเราเชื่อว่าด้วยการให้สังคมก่อน ในที่สุด ....พวกเราจะมีอนาคตที่ยั่งยืนกว่าในระยะยาว ! |
Jim Press |
|
![]() |
|
ที่ดูเหมือนเกินความคาดหมายก็คือว่าความคิดนี้ไม่ใช่จะจำกัดอยู่แค่ในกลุ่มไม่กี่คนในระดับบนๆเท่านั้น
ตรงกันข้าม Dr. Liker ได้สุ่มถามไปทุกภาค ทุกสาขาในประเทศต่างๆ เขาก็จะได้คำตอบในทำนองเดียวกัน
! |
ผลของความคิดส่วนรวมมาก่อนส่วนตัวนี้คือ ทุกคนภายใต้ร่ม TOYOTA
จะยินดีให้ความร่วมมือกันและกันมากกว่าบริษัทอื่นๆ ความขัดแย้งภายในน้อยกว่าที่อื่น นี่กระมัง แนวคิดของหลักการข้อที่ 2-3-4 (การเต็มใจใช้ขบวนการที่ถูกต้องเพื่อผลที่ดีที่สุดต่อส่วนรวม , การพัฒนาบุคลากรและหุ้นส่วน , และ การร่วมกันแก้ปัญหารากเหง้าอย่างต่อเนื่อง)จึงเป็นจริงได้ ในขณะที่ในบริษัทอื่น-คิดได้เหมือนกัน แต่ไม่เคยเป็นจริง ! |
ความไว้วางใจระหว่างผู้บริหารและพนักงานที่เต็มเปี่ยม คืออีกสิ่งหนึ่งที่ TOYOTA ทำได้อย่างเป็นรูปธรรม ข้อพิสูจน์คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาแล้วหลายกรณี อย่างเช่นที่ การไม่ยอมย้ายฐานการผลิตรถยนต์ใน Long Beach , California ในปี 2002 ที่โรงงานถูกแรงกดดันเรื่องกลิ่นสีพ่นรถ จนเกือบจะย้ายโรงงานไปที่ Mexico ที่มีโอกาสทางธุรกิจมากกว่า มีต้นทุนในระยะยาวต่ำกว่า | ![]() |
แต่ TOYOTA ก็เลือกอยู่ที่เดิมโดยยอมจ่ายเงินมหาศาลในการปรับปรุงโรงงานให้ได้ค่ามาตรฐานกลิ่นสีตามที่รัฐ California กำหนด เหตุผลมีเพียงประการเดียวคือ เพื่อรักษาพนักงานเดิมในรัฐนั้นเอาไว้ทั้งหมด |
และนั่นคือข้อพิสูจน์อันหนึ่งของแนวคิด วางรากฐานการตัดสินใจเชิงบริหารบนปรัชญาระยะยาว- แม้ว่าจะเป็นภาระแก่เป้าหมายทางการเงินในระยะสั้น |
![]() |
ตอนหน้า เราไปรู้จักกับแนวคิด กระบวนการที่ถูกต้อง เหมาะสม จะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง กันนะครับ |
พิชัย
อรุณพัลลภ |
Department
of Quality Management |
![]() |
|