เครื่องมือการจัดการที่มีผลต่อความอยู่รอดขององค์กร |
ตอนที่ 5 : Six Sigma (ต่อจากตอนที่แล้ว) | |
เมื่อเรารู้แล้วว่า Six Sigma มีเป้าหมายที่
Teamwork และ Learning โดยมีเป้าหมายเป็นขนมล่อ เราคงหายกลัวกันแล้ว เพราะลึกๆแล้วทุกคนรู้อยู่แก่ใจว่า
หากองค์กรกำลังมีความเสี่ยงต่อความอยู่รอดในระยะยาวแล้วละก็ ทุกคนต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลงเพื่อเตรียมรับมือกับปัญหา
.... ที่สำคัญคือ ....เครื่องมือที่จะถูกนำมาใช้ต่างหาก ที่มีความน่าเชื่อถือแค่ไหน ว่าใช้แล้วจะไม่เหนื่อยฟรี !!!! |
Six Sigma ทำงานอย่างไร ? |
Six Sigma มีขั้นตอนในการทำงาน 5 ขั้นตอนดังนี้ : | |
![]() |
1-Define คือการระบุปัญหาที่กำลังเกิดได้อย่างชัดเจน เช่น ปัญหาคุณภาพบ้านที่ลูกค้าแจ้ง |
2-Measure คือการวัดความรุนแรงของปัญหาที่เกิด เช่น จำนวนบ้านที่ไม่มีคุณภาพ จำนวนปัญหาที่เกิดกับบ้านเช่น การร้าวมีมากเท่าใด การรั่วของประปา การเกิดไฟฟ้าช็อตเป็นต้น | |
3-Analyze คือการวิเคราะห์ตัวเลขว่าแต่ละปัญหาที่เกิดมีอะไรเป็นส่วนใหญ่ กี่เปอร์เซ็นต์ มีสาเหตุมาจากอะไร จนถึงการวางแนวทางในการแก้ปัญหานั้นๆ |
4-Improve คือการพัฒนาวิธีการทำงานจริงเพื่อขจัดปัญหา เช่นการกำหนดขั้นตอนการทำงานใหม่ๆที่ถูกต้อง |
5-Control คือการวางระบบควบคุมให้การทำงานเป็นไปอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ |
โครงสร้างมาตรฐานในการทำโครงการ Six Sigma จะประกอบด้วยทีมงานที่ชัดเจนที่ต้องทำงานอย่างต่อเนื่องดังนี้ : | |
![]() |
1-Executive -คือผู้บริหารระดับสูงสุดขององค์กรที่มีความต้องการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังและให้การสนับสนุนขบวนการแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง |
2-Champion คือผู้บริหารระดับสูงที่ : เข้าใจกระบวนการ Six Sigma อย่างดี สามารถกำหนดหัวข้อที่จะทำโครงการเพื่อแก้ปัญหาได้ตรงประเด็น ให้การสนับสนุน Black Belt และ Green Belt ในการทำงานอย่างราบรื่น ติดตามผลงานอย่างใกล้ชิดจนจบบรรลุเป้าหมาย |
|
3-Master Black Belt คือผู้ที่ได้รับการคัดเลือกมาจาก
Black Belt ที่มี ประสบการณ์ในการทำ Six Sigma ที่ : ดูแลและสนับสนุน ให้คำปรึกษาแก่ Black Belt ถ่ายทอดความรู้ อบรม Black Belt ใหม่ๆขึ้นมา |
![]() ![]() |
4-Black Belt คือหัวหน้าโครงการซึ่งได้รับการคัดเลือกมาจากพนักงานดีเด่น
ที่: เข้าใจขบวนการทำ Six Sigma มีความคิดสร้างสรรค์ มีความสามารถในการวางระบบวัดและวิเคราะห์สถิติ สามารถวางขั้นตอนปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับการแก้ปัญหา ให้การสนับสนุนการทำงานของ Green Belt ให้บรรลุเป้าหมาย |
5-Green Belt คือผู้ช่วยของ Black Belt ที่ผ่านการอบรม Six Sigma
ที่ร่วมรับผิดชอบโครงการ สามารถเก็บข้อมูลได้ถูกต้องตามที่ Black Belt กำหนด |
|
6-Employee คือพนักงานทุกคนที่เข้าใจปัญหาและให้ความร่วมมือกับทีมงาน
Six Sigma ในการปรับปรุงงานของตนและช่วยเก็บข้อมูลที่กำหนด |
หากเราจะเปรียบ Six Sigma กับสิ่งที่เราคุ้นเคยอยู่แล้วคือ P-D-C-A เราจะเห็นว่า Six Sigma ก็คือ รูปแบบหนึ่งของการทำ P-D-C-A ที่มีการกำหนดผู้รับผิดชอบที่ชัดเจนพร้อมกับมีคุณสมบัติที่ต้องผ่านการอบรมหลักสูตรตามเจ้าสำนักหลักสูตรทุกอย่าง ซึ่งไม่ต้องสงสัยเลยว่าเมื่อบริษัทใดซื้อหลักสูตรแล้ว ขั้นตอนของการทำ Six Sigma จะต้องประกอบไปด้วยขั้นตอนเหล่านี้ : |
![]() |
1-การอบรมแนวคิด Six
Sigma แก่ Executive , Master Black Belt , Black Belt , Green Belt และพนักงานทุกคน |
2-การอบรม Key Man ของทีมงานตั้งแต่ Master Black Belt ลงมาในเรื่อง ศักยภาพในการทำหน้าที่ในตำแหน่งของตน เช่น : |
Master Black Belt : การวางแผน , จิตวิทยาการบริหารบุคคล , การให้กำลังใจ การบริหารความขัดแย้ง , สถิติ , การสร้างทีม , การสร้างวิทยากร |
Black Belt : จิตวิทยาการบริหารบุคคล , การให้กำลังใจ , การเก็บข้อมูลและสถิติ |
Green Belt : การเก็บข้อมูลและสถิติ และการทำรายงาน |
การสัมฤทธิ์ผลของการทำ
Six Sigma |
แรงผลักดันให้ทำ Six Sigma มี 3 ข้อ : |
1-เพื่อตอบสนองการคาดหวังของลูกค้า เหมือนกับที่ลูกค้ามักจะให้ความเชื่อถือบริษัทที่มี ISO บริษัทไหนไม่ได้ทำก็อาจจะกลัวว่าลูกค้ามองว่าไม่เป็นมืออาชีพ |
2-เพื่อให้ In trend และไม่ล้าหลังคู่แข่งที่มีการทำ Six Sigma |
3-เพื่อพัฒนาขบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพ |
แนวคิด 2 ข้อแรก ผู้บริหารมักจะมองว่าการทำ Six Sigma เป็น Cost
และลงบัญชีเป็นค่าใช้จ่าย บ่อยครั้งค่าใช้จ่ายนี้จะถูกบวกเข้าไปในต้นทุนสินค้าและผลักภาระไปให้ลูกค้า ในขณะที่แนวคิดที่ 3 เป็นแนวคิดที่สมเหตุสมผลที่สุด เพราะมันอยู่ภายใต้แนวคิดที่ว่า การพัฒนาขบวนการทำงานโดยการเน้นความร่วมมือและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องนี้เป็นการ สะสมทรัพย์สิน(Asset) เป็นการ ลดต้นทุน เหมือนกับการทำ QC ซึ่งเป็นสิ่งที่ Make sense ที่สุดสำหรับผู้บริหารที่หวังผลความยั่งยืน ! |
แล้วแนวคิด 1, 2 , หรือ 3 นี้ เกี่ยวอะไรกับ การสัมฤทธิ์ผล ? |
Minimum Effort Means Minimum Results ! แนวคิดที่หวังแค่ไหน ผลที่จะได้ก็ ....จะได้แค่นั้น ! |
แน่นอน ความทุ่มเทในการทำ Six Sigma ที่มองเป้าหมายแค่ข้อ 1 เราก็จะได้แค่
รูปแบบ ที่เป็น เปลือกนอก ที่จะโชว์ลูกค้าว่า บริษัทของเรามีการทำ Six
Sigma ความทุ่มเทจากแนวคิดที่ 2 ก็คงได้ผลไม่ต่างจากข้อ 1 นัก ผลคือผู้บริหารจะไม่ใส่ใจใน ความเป็นไป ในระหว่างทำ Six Sigma เพราะเป้าหมายคือเพียงขอให้ได้ชื่อว่า ได้ทำ ความทุ่มเทของ Master Black Belt , Black Belt , Green Belt และพนักงานทั้งหมดก็จะมีเพียงระดับ แค่นๆ แต่หากผู้บริหารยึดแนวคิดที่ 3 เป็นธงหลักแล้วละก็ ความทุ่มเทของตนเอง ของคนทุกระดับก็จะต้องเพิ่มขึ้นเป็นหลายเท่าตัว ....และสิ่งที่องค์กรจะได้ก็คือ ประสิทธิภาพที่พัฒนาขึ้นๆเรื่อยๆซึ่ง เป็นคุณ กับองค์กรมหาศาลจน เปลือก จากแนวคิด 1 , 2 เทียบกันไม่ติด !!!! |
สรุป Six Sigma : |
1-มีการกำหนดเป้าหมายขององค์กรที่ชัดเจน |
2-มีการมอบหมายผู้รับผิดชอบที่มีศักยภาพที่ชัดเจน (เปรียบเทียบ BSC vs. Six Sigma) หากมองวิธีคิดของฝรั่งจากเครื่องมือทั้ง BSC และ Six Sigma แล้ว เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า: |
1-เขามีความใฝ่รู้ อยากพัฒนามากกว่าเรา |
2-เขามีความคิดเป็นระบบมากกว่าเรา |
3-เขาอยากส่งเสริมให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้สิ่งที่เขาค้นพบด้วยการเผยแพร่แนวคิดอย่างกว้างขวาง แม้ว่าส่วนหนึ่งจะมาจาก ความต้องการขายหลักสูตร จากสิ่งที่เขาคิด แต่หากสังคมไม่เห็น คุณค่าเสียแล้ว คนคิดก็อยู่ไม่ได้ เพราะการคิดแต่ละอย่างต้องใช้เวลา ต้องมีค่าใช้จ่าย หาก สังคมไม่ตอบรับอนาคตก็จะไม่มีคนคิดสิ่งใหม่ๆแน่นอน ผลคือสังคมไม่มีความรู้ใหม่เกิดขึ้น เหมือนสังคมของเรา ...ที่ไม่ส่งเสริมคนกล้าคิดสิ่งใหม่ๆ...บ่อยครั้งกลับหมั่นไส้คนที่กล้าแสดงออกด้วยซ้ำ ! |
บัดนี้ ....สิ่งที่ผมเคยสงสัยเมื่อ พศ. 2519 ว่าทำไมชาติตะวันตกจึงเจริญกว่าเรา และผมต้องทำอะไรบ้างเพื่อให้รุ่นลูกของผมมีชีวิตดีกว่าผม ผมจะต้องทำอะไรบ้าง .... |
การพัฒนาผ่านการศึกษา
คือคำตอบของทุกสิ่ง !!!! |
จบเรื่องเครื่องมือการจัดการที่มีผลต่อความอยู่รอดขององค์กร |
พิชัย อรุณพัลลภ |
Department
of Quality Management |
![]() |
|