THE  NAPOLEAN  HILL’S  LAWS  OF  SUCCESS
 
Dr. Napolean Hill  
ตอนที่ 17 : บทสรุป
 
ในที่ประชุมครั้งหนึ่งที่มีผู้ร่วมประชุม  300 คน   ผมถามที่ประชุมว่า—ใครต้องการประสบความสำเร็จในชีวิต  กรุณายกมือขึ้น  ?
 
มีคนแค่  10 คนที่ยกมือในทันที  หลังจากนั้นอีกสัก สอง  สามอึดใจก็มีคนทยอยยกมือตามจนกระทั่งเต็มห้องในที่สุด
 
ผมถามต่อว่า—ใครบ้างที่มีแผนที่ชัดเจนในการเดินไปสู่ความสำเร็จนั้น  กรุณายกมือขึ้น ?
คนที่เคยยกมือทันทีเหลือไม่ถึง 5 คน ตามมาด้วยคนที่ทยอยยกมือทีละคน  สองคน  และหลังจากรออยู่นานพอจนแน่ใจว่าไม่มีคนยกมือเพิ่ม  ผมก็เริ่มนับคนที่ยกมือ  ได้จำนวน  9 คน ย้ำ  มีเพียง 9 คน หรือ 3%  เท่านั้นที่คิดว่าตนเองมีแผนที่ชัดเจนในการเดินไปสู่ความสำเร็จ !
ผมถามต่อ—หากมีเคล็ดลับสู่ความสำเร็จที่ผ่านการเก็บรวบรวมมาจากประสบการณ์ของคนอย่าง Thomas Adison , Henry Ford , Andrew  Carnekie , Woodrow Wilson , Harvey Firestone , George Eastman เป็นต้น มีใครอยากรู้ไหม ?
คราวนี้มีคนยกมือเร็วขึ้น  และเต็มห้อง  ใช้เวลา 5 วินาที !
ผมถามต่อว่า—หากคุณรู้เคล็ดลับของคนดังๆเหล่านี้แล้ว  มีใครคิดว่าจะทำตามบ้าง ?
น่าสนใจมากที่คราวนี้  มี 15 คนที่ยกมือภายใน  15 วินาที   นอกนั้นยกมือหลังจากเวลาผ่านไป 30 วินาที จึงครบทุกคน !
ผมถือว่าคนที่ใช้เวลาในการยกมือนานกว่า 15 วินาที ยกเพราะเห็นคนอื่นยก และไม่มีความเด็ดขาดชัดเจนที่จะทำจริง  หรือมีความลังเลว่าตนจะทำจริง  คนกลุ่มคิดนานจึงไม่ถูกนับ ดังนั้น 15 คนหรือ 5% เท่านั้นที่เป็นจำนวนของคนที่มีความมุ่งมั่นที่จะทำให้ตนได้รับความสำเร็จ !
 
ข้อสรุปของผมจากการสำรวจในเรื่องดังกล่าวคือ :
1-ในกลุ่มคนในวัยทำงาน  มีคนจำนวนน้อยมากที่มีเป้าหมายชัดเจน  ส่วนใหญ่ทำแบบไร้เป้าหมาย
2-ทุกคนอยากรู้เคล็ดลับสู่ความสำเร็จ
3-แต่มีเพียง 5% เท่านั้นที่คิดว่าจะ “ลงมือทำ”อย่างจริงจัง รู้ข้อมูลอย่างนี้แล้ว  ผมมีความรู้สึก—แปลกใจ ที่ว่า—“ทำไมคนส่วนมากจึงลังเลในการลงมือ “ทำ” เพื่อชีวิตของเขาเองแท้ๆ ที่เป็นอย่างนี้ผมไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะ—“อยากได้ ....แต่อยากได้มาฟรีๆง่ายๆโดยไม่ต้องเหนื่อยไม่ต้องทำอะไรเลย  ใช่หรือไม่ ?”
 
นี่เป็นสาเหตุหนึ่งหรือไม่ที่หลายคนสงสัยว่า—“ทำไม—ประเทศเราจึงยังพัฒนาช้ามาก  ขนาดประเทศสิงคโปร์ที่มีขนาดประเทศเท่าเกาะภูเก็ต  ยังมีรายได้ประชาชาติต่อหัวเป็น 4 เท่าของคนไทย ( 4 เท่านี้เป็นตัวเลขที่ดีขึ้นมาหลายเท่าหลังจากมีรายได้จาก เทมาเสค 73,000 ล้านบาทแล้ว !—Oops !—ว่าจะไม่แตะการเมืองแล้วเชียว  แต่นี่เป็นความจริง ! )”
 
Dr.Hill ได้แนะนำ-- The Laws of Success (กฎแห่งความสำเร็จ) ซึ่งประกอบด้วยคุณค่า :
อภิจิต (แปลเป็นไทยว่า—ความร่วมใจ (Synergy)—ได้ไหม ?)
การเอาชนะความกลัว (ตัวถ่วงความคิดริเริ่ม ?)
การมีเป้าหมายที่สำคัญแน่นอน(ชีวิตมีจุดยึดเหนี่ยว)
ความเชื่อมั่นในตนเอง(การเอาชนะปัญหาด้วยการพึ่งตนเอง)
การมีนิสัยอดออม(ทำให้ไม่มีแรงกดดันทางการเงิน)
การมีความคิดริเริ่ม(โอกาสทำงานเดิมที่เคยเบื่อให้สนุกกับสิ่งใหม่)
การมีจินตนาการ(กล้าคิด กล้าฝันนอกกรอบ ?)
ความกระตือรือร้น(การไม่เฉื่อยแฉะ มีชีวิตชีวา)
การควบคุมตนเอง (ให้อยู่ในแนวทางที่สร้างสรรค์)
การทำงานเกินเงินเดือน(ทำงานเพื่อเพิ่มประสบการณ์และความรู้ของตน) 
การมีบุคลิกต้องตาต้องใจ(ด้วยคุณธรรม การดูแลภาพลักษณ์ของตน)
การมีใจจดใจจ่อในงานที่ทำ(ความมุ่งมั่นต่อการบรรลุเป้าหมาย)
การที่มีความคิดถูกต้องเที่ยงตรง (เพื่อประสิทธิผลของส่วนรวมที่ส่งผลต่อตน)
“กฎ” หมายถึง “ทฤษฎีที่ได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นจริงเสมอ  --ทำ—แล้ว—เป็นจริงเสมอ !
   
คุณค่าที่เป็น “กฎ” เหล่านี้เป็นสิ่งที่ทำให้คนที่เคย –ด้อยโอกาส และ คนธรรมดาๆมากมายกลายเป็นคนที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว !

 

“กฎ” เหล่านี้ได้มาด้วยความอุตสาหะอย่างเลือดตาแทบกระเด็นของคนรุ่นแรกๆที่สร้างชาติอเมริกาจนเป็นมหาอำนาจในโลกทุกวันนี้ !
“กฎ” เหล่านี้ได้มาด้วยนิสัยชอบจดบันทึกของฝรั่ง ที่เชื่อมั่นในสังคม “เรียนรู้—Learning Society”
 
ที่อยากให้คนรุ่นหลังพัฒนากว่าคนรุ่นก่อน  อันเป็น “วัฒนธรรมตะวันตก” ที่เห็นประโยชน์ของคน Next Generation มากกว่า  (ในขณะที่คนเอเชียที่มักเห็นแก่อัตตา—ศักดิ์ศรีของคนที่แก่กว่า (Former Generation) ว่าต้องเก่งกว่า  ดีกว่า คนรุ่นหลัง  กลัวคนรุ่นหลังเอาชนะอาจารย์  เวลาสอนเพลงยุทธก็ต้องเก็บเคล็ดลับไว้สัก 2-3 เพลง ครูจะได้เก่งกว่าตลอดเวลา แต่ผลสุดท้าย—เมื่อผ่านไปทีละรุ่น--ความเจริญของเขา—เปรียบเทียบกับของเรา  เป็นไง  ชัดเจน  !?!)
 
“กฎ” เหล่านี้ไม่ใช่ “การคาดเดา” หรือมาจาก “เอาสีข้างเข้าถู” เพื่อบังคับให้คนรุ่นหลังเชื่อ  ด้วยระบบอาวุโส  ตรงกันข้าม  “กฎ” เหล่านี้ผ่านการพิสูจน์แล้วอย่างถ่อมตัวว่า—ฉันเคยพลาดมาแล้วด้วยการทำอย่างนี้  นี้  และนี้  ฉะนั้นคุณจงเดินไปทางนั้น  นั้น  และนั้น  จะได้ไม่พลาดเหมือนฉัน
 
—ทำให้คนหลายๆคนประสบความสำเร็จจากจุดต่ำสุดไปสู่จุดสูงสุด  และแนวคิดที่แพร่หลายในประชาชนส่วนใหญ่นี้ทำให้ประเทศหนึ่งเป็น “มหาอำนาจโลก” มาแล้ว !
ภายใต้การแข่งขันที่รุนแรงของโลกปัจจุบัน  มีเหตุผลใดหรือที่รัฐบาลที่ “ฉลาด  มีวิสัยทัศน์” จะไม่ปลูกฝัง “กฎ” เหล่านี้ลงในสมองของประชากรที่เป็น “ทรัพยากรที่มีค่าที่สุด”
อย่างเช่นที่อเมริกาได้บรรจุอยู่ในหลักสูตรตำราเรียนของนักเรียนอเมริกันที่พร่ำสอนตั้งแต่เด็กเล็กทุกระดับชั้นเป็นคุณค่าประจำชาติคือ :
   
Can-Do Spirit(เราทำได้ทุกสิ่งหากมีความมุ่งมั่นพอ) 
Everything is possible(ทุกสิ่งเป็นจริงได้เสมอ)  

 

Every person is equal (มนุษย์ทุกคนเสมอภาคกัน สีผิว , อายุ , พิการ หรือ ปกติ) 
Human Right (สิทธิมนุษยชน คนทุกระดับฐานะทางเศรษฐกิจสามารถยืนหลังตรงอย่างองอาจ ฯ)
Self sufficiency (การพึ่งพาตนเอง ไม่ยืมจมูกคนอื่นหายใจ  ต้องพัฒนาเทคโนโลยีที่มี
ีประสิทธิภาพใหม่ๆอยู่เสมอเพื่อให้ตนสามารถแข่งขันได้และเพื่อรักษาศักดิ์ศรีที่จะไม่ต้องแบมือ –ขอเงินคนประเทศอื่นๆอยู่ร่ำไป)
Freedom (อิสรภาพทางกายและจิตวิญญาณ)
Democracy (ประชาธิปไตยคือวิถีแห่งประสิทธิภาพ  ไม่ใช้วิธีอื่นเด็ดขาด !)
 
อาจมีคนแย้งว่าทุกประเทศไม่มีอะไรที่สมบูรณ์ 100%  แต่หากเรามองด้วยใจที่ “ถูกต้องเที่ยงตรง” เราคงยอมรับได้โดยไม่ขัดต่อความรู้สึกที่ว่า อเมริกาได้ทำตามคุณค่าที่สะท้อน “กฎ” ต่างๆเหล่านี้อย่างเป็น “รูปธรรม” ที่สุด  และทำให้เขามีความเจริญที่สุด !
   
ไม่ว่าความเจริญทางวัตถุอย่างเช่น :
1-ความเจริญทางอวกาศ (Space Technology)
2-ด้านอุตสาหกรรมหนักด้านต่างๆที่นับไม่ถ้วน  จนญี่ปุ่นมองอเมริกาเป็นต้นแบบ (Benchmark) ในการพัฒนาเกือบทุกด้านเช่น รถยนต์  เครื่องใช้ไฟฟ้า  หุ่นยนต์ เป็นต้น
หรือทาง 3-ด้านจิตวิญญาณ : ใครได้มาเห็นเทพีสันติภาพก็ต้องร้อง “Freedom ! Opportunity ! Equality ! )  
หรือด้านปกครองแนวคิดประชาธิปไตยที่ เชื่อว่าประชาชนที่มีความรู้คือหัวใจของการพัฒนาประเทศ   
 
(ดร.ซุนยัดเซนได้รับแรงบันดาลใจจากการได้เห็นระบบนี้ว่ามีประโยชน์ในอเมริกาจนนำไปใช้ในการปฏิวัติในประเทศจีนให้พ้นจากการปกครองของราชวงศ์แมนจู หรือความยุ่งเหยิงของประเทศเราทุกวันนี้แท้จริงต้นเหตุมาจากการขาดการศึกษาใช่ไหม ....ที่กระทบต่อการเมือง  เศรษฐกิจ  สังคม  หากคำว่า “ประชาธิปไตย” ในความหมายของนักปราชญ์คือโดยประชาชน (ที่มีความรู้  คุณธรรม) ด้วยประชาชน(ที่มีความรู้   คุณธรรม) เพื่อประชาชน(ที่ด้อยโอกาส) แล้วละก็ “ประชาธิปไตย”  ของประเทศเราที่โดยประชาชน (ที่ไม่มีความรู้) ด้วยประชาชน(ที่มีอำนาจ) เพื่อประชาชน(ที่มีอำนาจ)  เราจะเรียกว่าประชาธิปไตยอยู่หรือไม่  การเลือกตั้งที่เน้นแค่เปลือกนอกอย่างฉาบฉวยของคนที่ไม่เข้าใจความหมายของประชาธิปไตย—การรับ—หรือ—ไม่รับรัฐธรรมนูญ –ของคนส่วนใหญ่ที่ “ไม่มีการศึกษา , ไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้”จะทำให้ประเทศเป็นประชาธิปไตยได้จริงหรือ แม้วันนี้เรายังไม่เห็นผู้ที่จะเน้นเรื่องการศึกษาให้เกิด “รูปธรรม” แล้วเมื่อไรจึงจะมีประชาธิปไตยที่แท้จริง  ? ฉะนั้นวันนี้เราจะมาแบ่งฝ่ายทะเลาะกันทั้งๆที่รู้ว่าเรากำลังทะเลาะกันที่ปลายเหตุ  ทำไมไม่เก็บแรงทะเลาะไปร่วมกันผลักดันให้เร่งขบวนการศึกษาซึ่งเป็นต้นเหตุคุณภาพของคน  วางแผน 10 ปีว่าจะทำจริง  แล้วในระหว่างนี้อดทนกันหน่อย  อย่าทะเลาะกันดีไหม  !?! Oops !—ว่าจะไม่แตะการเมืองแล้วเชียว  แต่นี่ก็เป็นความจริงเหมือนกัน !  )
 
หรือ 4-ด้านสังคม ที่เขาแปร “ความคิด”  ให้เป็น “รูปธรรม” มากมายอย่างเช่น :
 
การแปร “สิทธิมนุษยชน” สู่การ “กระทำ”ที่ชัดเจนเรื่องสวัสดิการและสิทธิในการดำรงชีพของคนพิการของคนอเมริกันเช่นทางเท้าที่คนพิการที่นั่งรถเข็นสามารถไปไหนคนเดียวได้ทุกๆที่—ย้ำ—ทุกๆที่ 
ขนาดที่รัฐจัดทำทางเท้าสำหรับคนพิการที่ต้องกำจัดสิ่งกีดขวางรถ Wheelchair ให้พ้น
ไปเช่น ป้ายจราจรที่เลิกใช้แล้ว  หรือ  ถังขยะที่ขวางอยู่เพื่อให้รถเข็นผ่านได้อย่างสะดวก  รวมไปถึงรูปแบบรถเมล์ที่ออกแบบให้รถ Wheelchair ขึ้นไปได้  สถานที่สาธารณะต้องมีห้องน้ำสำหรับคนพิการ  เป็นต้น  พวกเขาเริ่มต้นตั้งแต่ปี 1968 ในอเมริกา  และพัฒนามาตลอด  จนแพร่หลายไปในประเทศที่พัฒนาแล้วต่างๆเช่น ฝรั่งเศส , ออสเตรเลีย , นิวซีแลนด์ , แคนาดา , อังกฤษ  เขามีความจริงจังและมุ่งมั่นขนาดตราเป็น พระราชบัญัญัติ ต่อต้านการกีดกันคนพิการ  มีชื่อเรียกแต่ละประเทศต่างๆกัน
เช่น  Anti-Discrimination Legislation , Disability Discrimination Act , Human Rights Act  แต่วัตถุประสงค์เดียวกัน คือ ช่วยคนพิการให้มีพื้นที่ยืนบนโลกนี้อย่างมีความสุขบ้าง  รายละเอียดบางส่วนมีดังนี้
 
   
อเมริกาปกป้อง คุ้มครองเด็กเล็กที่เพิ่งคลอด  วันแรกที่จะออกจากโรงพยาบาลจะต้องนั่งอยู่ใน Car Seat ที่มีมาตรฐานควบคุม  มิฉะนั้นพ่อ-แม่จะมีความผิดตามกฎหมาย
เหตุผล :สถิติเวลาเกิดอุบัติเหตุ  ทารกจะถูกแม่รัดแน่นจนคอหัก  มากกว่าเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุโดยตรง !
การศึกษาของอเมริกามีการกระจายความเจริญได้ทั่วถึง
โรงเรียนในเมืองเล็ก มีคุณภาพเท่าเทียมกันกับในเมืองใหญ่  เด็กทุกคนเรียนหนังสือด้วยตำราที่ถูกออกแบบมาจาก “ครูที่มีจิตวิญาณ”
ที่ส่งผ่านความตั้งใจอยากให้เด็กเรียนรู้ผ่านหนังสือที่น่าอ่าน (กว่าหนังสือของเราที่มักมีแต่ตัวหนังสือ  ไม่มีสีสันชวนให้เด็กอยากอ่าน  เวลาเด็กไม่เข้าใจก็โทษว่าเด็กไม่ฉลาด –กรรมของเด็กไทย ! )
 
รถโรงเรียนของอเมริกามีมาตรฐานทั้งประเทศเดียวกัน  เพื่อให้เป็นที่จดจำได้ทุกรัฐที่ไป  เขาจะมีกฎจราจรห้ามแซงรถนักเรียนที่จอดอยู่เด็ดขาด  ย้ำ—เด็ดขาด !และเพื่อความปลอดภัยสูงสุดของเด็ก  คุณภาพของรถจะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของ National Highway Traffic Safety Transportation Administration (NHTSA) ที่ต้องมีการตรวจสภาพรถที่—ตรวจจริงๆทุกปี—ย้ำ—ตรวจจริงๆ ! (ไม่มีการจ้างคนต่อทะเบียนเหมือนบ้านเรา—เด็ดขาด !)
School Bus Safety Assurance Program
Recall Listing
January 1998 Through June 2005
SCHOOL BUS SAFETY ASSURANCE PROGRAM
2005 EDITION
The National Highway Traffic Safety Administration (NHTSA) is the Federal government agency responsible for assuring the safety of vehicles traveling the public roadways. NHTSA performs this responsibility, in part, by monitoring the performance of safety recall campaigns conducted by manufacturers to remedy a safety defect or noncompliance condition. The prompt remedy of school buses involved in safety recall campaigns is of special concern to the agency because the student occupants of a school bus could be subject to multiple injuries or even loss of life if a recalled safety defect or noncompliance condition is not corrected in a timely manner.
In order to respond to heightened public concern regarding the safety of students riding school buses, the agency initiated the "School Bus Safety Assurance Program" in May 1995. The main purpose of this program is to inform State Transportation Inspection Program Directors, State Pupil Transportation Directors, interested association groups, school district personnel, nonpublic school bus owners, parents, and members of the general public of the current safety recalls involving school buses.
Each recall entry gives the following information: (a) the corporate name of the recalling manufacturer(s); (b) the phone number of the recalling manufacturer(s); (c) the production dates of the school buses being recalled; (d) the school bus model(s) being recalled; (e) the NHTSA assigned recall number; (f) the manufacturer assigned recall number if different from the NHTSA assigned recall number; and (g) a brief description of the safety recall campaign.
School buses remain one of the safest forms of transportation in the United States. The success of the School Bus Safety Assurance Program is dependent on the willingness of each of us concerned with the transportation of children to review the enclosed recall listing and make every effort to ensure that buses within our purview are corrected as soon as possible.
 
If you have any questions concerning the School Bus Safety Assurance Program, please contact either Mrs. Kelly Schuler or Mr. George Person at (202) 366-5210 or by facsimile
at (202) 366-7882 or you can reach Mrs. Schuler by e-mail at Kschuler@nhtsa.dot.gov. Copies of this publication are also available on NHTSA’s web site located at http://www-odi.nhtsa.dot.gov. If you have any questions concerning a specific recall campaign, please call the involved manufacturer at the phone number given in the recall listing or call NHTSA's Auto Safety Hotline at (888) 327-4236.
 
 
TABLE OF CONTENTS
 
 
List Of School Bus Related
Federal Motor Vehicle Safety Standards (FMVSS)
Federal Motor Vehicle Safety Standard No. 105, "Hydraulic Brake System."
Federal Motor Vehicle Safety Standard No. 111, "Rearview Mirrors."
Federal Motor Vehicle Safety Standard No. 115, "Vehicle Identification Number."
Federal Motor Vehicle Safety Standard No. 120, "Tire Selection and Rims for Vehicles Other Than Passenger Cars."
Federal Motor Vehicle Safety Standard No. 121, "Air Brake Systems."
Federal Motor Vehicle Safety Standard No. 131, "School Bus Pedestrian Safety Devices."
Federal Motor Vehicle Safety Standard No. 209, "Safety Belt Assemblies."
Federal Motor Vehicle Safety Standard No. 210, "Safety Belt Assembly Anchorages."
Federal Motor Vehicle Safety Standard No. 217, "Bus Window Retention and Release."
Federal Motor Vehicle Safety Standard No. 221, "School Bus Body Joint Strength."
Federal Motor Vehicle Safety Standard No. 222, "School Bus Passenger Seating."
Federal Motor Vehicle Safety Standard No. 301, "Fuel System Integrity."
Federal Motor Vehicle Safety Standard No. 304, "Compressed Natural Gas Fuel Container Integrity."
 
ได้กลิ่นอายของ “ความคุ้มครอง  การปกป้องจากกฎหมายที่สัมผัสได้”ของเขาบ้างหรือยัง ?
 
 
แล้วในบ้านเราละ ?
การทำสิ่งที่ “คิด” ให้เป็นจริง ทำไมจึงล้มเหลวเป็นส่วนใหญ่ ?
1-รัฐธรรมนูญมาตรา ๕๔ อย่างสวยหรูว่า “บุคคลซึ่งพิการหรือทุพพลภาพมีสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสวัสดิการ  สิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ  และความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ”แต่แค่คนพิการจะนั่งรถเข็นขึ้นทางเท้าหน้าบ้านยังไม่ได้เลย  แล้วจะไปใช้สิทธิ์อื่นๆได้หรือ !?! 
(ดังนั้น  เราก็ต้องภาวนาขอให้เราจงแข็งแรงไปตลอดชีวิต  เพื่อจะได้ไม่ต้องพึ่งพารถเข็นในอนาคต  !  เพราะคนพิการในบ้านเรานั้นถูกจองจำให้อยู่แต่ในบ้านเหมือน ....คนเป็น ....ที่ตายแล้ว  ไม่มีสิทธิ์ออกจากบ้าน !  อย่าแม้กระทั่ง “คิด” หรือ “หวัง”
ถาม : คนพิการบ้านเรามี--สิทธิมนุษยชนเท่าคนพิการอเมริกันไหม  มีใครต่อสู้เพื่อพวกเขาไหม !?!)

 

กระทู้ร่วมแสดงความคิดเห็น ตั้งคำถาม ให้กำลังใจ เสนอแนะ ให้ข้อมูล เรื่องเกี่ยวกับคนพิการ
 
ทางข้ามถนนสำหรับทุกคน Foot Path for All
กรุงเทพและเมืองใหญ่ ควรสร้างทางข้ามถนนที่ทุกคนข้ามได้
เพราะเดี๋ยวนี้ คนที่เจ็บป่วย คนท้องแก่ คนที่ขาไม่มีแรง หรือคนที่ต้องนั่งรถเข็นทั้งเด็กน้อยและผู้ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นแบบถาวรหรือชั่วคราว ไม่สามรถข้ามสะพานลอยที่มีอยูได้ คนกลุ่มดังกล่าวต้องขึ้นแท็กซี่ หรือรถส่วนตัว ต้องจ่ายแพงกว่าคนที่ร่างกายแข็งแรงเดินได้ตามปกติ(รวมทั้งคนตาบอดที่เดินเก่ง) ทั้งเงิน ระยะทาง และเวลา ประเทศชาติต้องใช้พลังงานเพิ่มขึ้น รถติดมากขึ้น ก่อมลพิษทางเสียง และอากาศที่เป็นพิษมากขึ้น
แต่ถ้าสร้างทางข้ามถนนสำหรับทุกคน โดยยึดหลัก Design-For-All หรือ Universal Design ให้ทุกคนใช้ได้แล้ว
ทุกคนจะสามารถข้ามถนนได้เหมือนๆ กัน ด้วยค่าใช้จ่าย พลังงาน เวลา ความสะดวกสบาย ที่ใกล้เคียงกัน เป็นการลดการใช้พลังงาน ช่วยลดปัญหารถติด ลดควันพิษ ลดปัญหาเสียงดัง ลดความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งรวมแล้วจะลดค่าใช้จ่ายในระยะยาวของประเทศเรา(เพราะแค่จะข้ามถนนก็ต้องวิ่งไปไกลแสนไกล)
หมายเหตุ - ยกเว้นให้วีลแชร์ที่ขึ้นบันไดได้ไว้ก่อนนะ เพราะราคาเป็นล้าน แถมต้องนำเข้า และไม่แน่ว่าจะตกบันไดเมื่อไหร่ (ถ้าตกมาคนนั่งเจ็บตัวแน่นอน ส่วนจะพิการ หรือถึงตายหรือเปล่า ไม่อยากจะนึกถึง) แต่ถ้าอยากดูเพื่อเป็นบุญตาหรืแสวงหาแนวคิดใหม่ๆ ดูได้ที่ http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=dudaidudee&group=3
 

elderly accessibility in Bangkok
it's very difficult and almost impossible for elderly and handicapped folks to navigate around Bangkok, by foot.

The sidewalk is narrow and full of obstacles. Street vendors, uneven surface, protuded man-hole covers, electric and telephone poles, discarded tree stumps, dog excrement, etc. Very often, you have to watch out for errant motorcylces running on the sidelwalk, sneaking up from behind.

And the BTS has no respect for the elderly and handicapped people at all. No elevators nor escalators; no ramps, etc, at most station. A very limited number of stations has a token escalator and elevator.

The accessibility provisions should be mandatory for all government projects, no matter whether it's big or small projects. And all buildings should be required to provide effective and safe accessibility for elderly and handicapped folks.
 
 
   
2-เรามีโรงเรียนที่มีคุณภาพพอเพียง สำหรับเด็กหรือไม่  คุณภาพของโรงเรียนในต่างจังหวัด เทียบกับ กรุงเทพฯ เป็นอย่างไร   !?! คุณภาพรถโรงเรียนของเราเป็นอย่างไร—ใครใคร่ทำ—ทำได้ตามใจชอบ  
—ไม่มีมาตรฐานจนมีข่าวเด็กอนุบาลตกจากพื้นรถที่เป็นรูจนถูกทับเสียชีวิต  หรือเด็กตกรถเมล์ถูกล้อหลังทับกะโหลกเสียชีวิต  และอื่นๆอีกมากมาย !?!)

 

3-ในระดับประเทศ  ผู้ที่เป็น—รัฐบาล—และ—ประชาชน จะต้องถือเป็นหน้าที่ในการมี “ความคิดถูกต้องเที่ยงตรง” ที่สามารถ “เอาชนะความกลัว” (บางคน—กลัวเจ้า—กลัวเทวดา—กลัวถูกวิภากษ์วิจารณ์—แต่ไม่กลัวการทำความชั่ว) มี “จินตนาการเห็นประโยชน์ที่ทุกฝ่ายจะได้รับร่วมกัน” ตั้ง “เป้าหมายที่สำคัญแน่นอน”
 
ในการสร้างอนาคตประเทศผ่านการทำงานด้วย “ความคิดที่มีคุณภาพเช่นกำจัดความคิดอำมาตยาธิปไตย และแทนด้วยการส่งเสริมคุณค่าให้คนทำงานอย่างติดดิน ....”   ....อย่างภูมิใจในสิ่งที่ได้มาด้วยหยาดเหงื่อของตนเอง....อย่าง “เชื่อมั่นในตนเอง” และมีความกล้าหาญในการใช้ “ความคิดริเริ่ม” ....อย่าง “ใจจดใจจ่อ” ด้วย “ความกระตือรือร้น”แม้กระทั่งยอม “ทำงานเกินเงินเดือน” พร้อมทั้งใช้คุณสมบัติส่วนตนที่มี “บุคลิกต้องตาต้องใจ--ด้วยคุณธรรม”
เพื่อเหนี่ยวนำให้ผู้อื่นเห็นประโยชน์ร่วมแล้วให้ความร่วมมือจนเกิด “อภิจิต” ซึ่งนำประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผลสู่ตนเอง และ สังคมที่เราอยู่   (เฮ้อ)  !?!  
ถาม : ทำไมรัฐบาลเราจึงไม่อายในการไป “ขอกู้เงิน” จากญี่ปุ่น  และประเทศอื่นๆ  และขณะนี้ได้ทำอะไรบ้างเพื่อที่อนาคตประเทศจะมีศักดิ์ศรี  คนไทยไปต่างประเทศกล้าพูดเสียงดังว่ามาจาก—Thailand !
 
4-ในการทำงานระดับธุรกิจของเรา  “ประสิทธิภาพ” และ “คุณภาพ” คือเป้าหมายของทุกฝ่าย  เป้าหมายนี้ต้องอยู่เหนือความอยากสบายส่วนตน   เหนือ “ข้ออ้างข้างๆคูๆ” และทุกคนในทุกระดับต้องถือเป็นหน้าที่ในการทำให้เป็นจริงให้ได้โดยไม่มีข้อยกเว้น ! แต่ในความเป็นจริงแล้ว  มีไหมที่คนบางคน  โดยตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจ  กำลังยึดความสบายส่วนตนมาเหนือเป้าหมายองค์กร  โดยถือโอกาสที่องค์กรไม่มีเครื่องมือวัดประสิทธิภาพที่ชัดเจน  ในการที่จะ--ไม่ทำ “สิ่งที่ควรทำ—หากมี--ความคิดถูกต้องเที่ยงตรง”  
และต่อไปนี้คือตัวอย่างในชีวิตจริงของการทำงานที่ทำให้ “เป้าหมาย” ไม่เป็น “ผลอย่างเป็นรูปธรรม”
4.1-เรารู้ว่า—การทำงานคุณภาพด้วยวิธีหนึ่งๆต้องการความร่วมมือจากทุกฝ่าย    บ่อยครั้งเราจะเห็นคนละเลยหน้าที่โดยคิดว่าคนอื่นไม่เห็น  กว่าจะรู้ว่าเคยมีคนละเลยก็สายเกินไปจนถูกลูกค้าตำหนิ
กรณีนี้—ความล้มเหลว—มาจาก “การขาดวินัยและความซื่อสัตย์”
4.2-เรารู้ว่าในการทำงานคุณภาพหนึ่งๆ  กว่าที่จะปรากฏผลสำเร็จ  ทุกฝ่ายต้องช่วยกันแบ่งเบาภาระกันและกัน  กล้าลองผิด  ลองถูก 
บ่อยครั้งเราจะเห็นคน—ขีดเส้นเพื่อที่ตนจะได้ไม่ต้องเหนื่อยทำอะไร  ไม่ต้องรับผิดชอบ  ทั้งๆที่เห็นปัญหาต่อหน้าต่อตาทุกๆวัน
กรณีนี้—ความล้มเหลว—มาจาก “ความคดในความคิด” ของผู้ที่มีส่วนร่วมบ่อนทำลายประสิทธิภาพรวม !
4.3-เรารู้ว่า—วิธีทำงานที่มีเป้าหมาย “ระยะยาว” และ “ระยะสั้น” จะแตกต่างกัน  และ—เป้าหมายระยะยาวมักจะยากกว่า (แต่มักจะยั่งยืนกว่า  ต้องอดทนรอนานกว่าจึงจะเห็นผล)  แต่คนไม่น้อยเลยที่มักเลือก—ความง่ายที่ฉาบฉวย และละเลยคุณค่าที่จำเป็น(ตามที่ Dr.Hill แนะนำ) 
ในกรณีนี้—ความล้มเหลว--มาจาก—“การขาดจุดยืนและความคิดถูกต้องเที่ยงตรง”!
4.4-เรารู้ว่าขบวนการ PLAN—DO—CHECK—ACT ต้องสมบูรณ์  เป้าหมายจึงสำเร็จ  บ่อยครั้งที่เราเห็นมีคนชอบรอปัญหาให้เกิดแล้วค่อยมาทำเป็นขยันมาแก้  ทั้งๆที่เคยเห็นตัวอย่างการเกิดปัญหาที่เป็น Pattern ในอดีตว่าหากไม่คิดล่วงหน้าด้วยการทำงานเชิงรุก  ปัญหาจะเกิดแน่นอน  บกพร่องในเรื่องเดิม  ซ้ำแล้ว  ซ้ำเล่า  แต่หัวหน้าของเขากลับปล่อยให้คนเหล่านั้นทำงานด้วยทัศนคติเดิมๆโดยไม่ดำเนินการใดๆที่แสดงว่า “Hey , I do not approve  your way ! We need efficiency here , no politics ! ” นั่นก็เหมือนการอ่อนข้อให้ต่อความเกรงใจ  การเห็นแก่พวกพ้อง  อยู่เหนือหน้าที่ที่ตนต้อง Commit ต่อองค์กร  ต่อผู้ถือหุ้น  !
กรณีนี้—ความล้มเหลวมาจาก—“การขาดความเป็นผู้นำและความเด็ดขาด”
 
 
แรงเกินไปหรือไม่ที่จะกล่าวว่ามันทำให้ประเทศเรามีคุณภาพทุกด้านต่ำกว่ามาตรฐาน....
....ในเมื่อ Dr.Hill ได้แนะนำ :
1-วิธีการ
2-ข้อพิสูจน์
สู่โอกาสที่ลูกหลานจะได้รับประโยชน์อย่างที่อเมริกันได้รับแล้ว
 
 
ใครยินดีทำตาม ....ยกมือขึ้น !!!!
จบบริบูรณ์
 
Copy Editor….Department of Quality Management