THE  NAPOLEAN  HILL’S  LAWS  OF  SUCCESS
Dr. Napolean Hill
ตอนที่ 14 :ความคิดถูกต้องเที่ยงตรง
 
Dr.Hill เตือนตั้งแต่ต้นบทนี้เลยว่า—หากใครจะอ่านบทนี้แล้วหวังจะให้จบเร็วๆเพราะไม่มีเวลาละก็  อย่าอ่านซะเลยจะดีกว่า !  รอให้มีเวลาว่างๆ  ใจว่างๆค่อยมาอ่านจะดีกว่า !
เพราะว่าเมื่อใดก็ตาม ....ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับความคิด ....มันต้องการความเข้าใจที่ลึกซึ้ง
เพราะ “ความคิด”ในที่นี้ของ Dr.Hill เป็น “รูปธรรม” !
ขอย้ำ .... Dr.Hill บอกว่า “ความคิดเป็นรูปธรรมไม่ใช่นามธรรมอย่างที่เราเคยเข้าใจ ข้อพิสูจน์หรือ :
 
เราได้รู้จักกับ “ความเชื่อมั่นในตนเอง”ที่บอกเราว่า  “เราทำได้ถ้าเราคิดว่าเราทำได้
คนที่ไม่คิดว่าเขาจะทำได้  เขาก็จะไม่ลุกขึ้นมาทำ (ไม่เกิดรูปธรรม)
คนที่คิดว่าเขาจะทำได้  เขาก็จะลุกขึ้นมาทำ (เกิดรูปธรรม)
ตัวอย่างผลผลิตของ “ความคิด”ที่คนกลุ่มหนึ่งเคยทำจนมีผลเป็น “รูปธรรม” อย่างเช่น Adison , The Wright Brothers , Louise Pasteur เป็นต้นได้ทำมาแล้ว
“เครื่องบันทึกเสียง   หลอดไฟ”เป็นวัตถุที่เป็นรูปธรรมที่กำเนิดมาจาก “ความคิด”
“เครื่องบิน” เป็นอีกรูปธรรมหนึ่งที่กำเนิดมาจาก “ความคิด”
 
“ความถูกต้องเที่ยงตรง” อีกแง่หนึ่งที่ Dr.Hill ต้องการย้ำไปด้วยพร้อมๆกันก็คือ—มันสามารถทำให้ชีวิตของคนหนึ่งๆ “ประสบความสำเร็จอย่างเป็น รูปธรรม”  หรือ –“ประสบความล้มเหลวอย่างเป็นรูปธรรมก็ยังได้ !”
 
เราลองมาดูตัวอย่างในชีวิตจริง :
1-Woodrow Wilson ( ประธานาธิบดีคนที่ 28  ของอเมริกา 1913--1921) กลับมาจากกรุงปารีสพร้อมกับ “ความคิดถูกต้องเที่ยงตรง” ในการจัดตั้งองค์การสันนิบาตโลกเพื่อปัดเป่าภัยจากสงคราม เขาถูกกลุ่มคนที่จะได้ประโยชน์จากสงครามใส่ร้ายว่าเขามีเชื้อ—นิโกร  และแล้ว  ชีวิตการเมืองของเขาต้องจบลงอย่างเป็นรูปธรรมจาก “ความคิด” ของกลุ่มคนที่มีอำนาจและมีจำนวนมากกว่าในการทำลาย Woodrow Wilson
   
2-Lincoln มี “ความคิดถูกต้องเที่ยงตรง” ที่ว่า—มนุษย์ทุกคนควรมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน  ไม่ว่าเขามีผิวสีใด  เขาพยายามขายความคิดนี้  แต่ถูกคนกลุ่มใหญ่ที่มี “ความคิดเหยียดผิว” โจมตีว่าเขาอยู่กินกับหญิงผิวสี  และในที่สุดเขาก็ถูกลอบฆาตกรรม
 
   
สองตัวอย่างนี้คงพอเพียงกับการที่แสดงให้เราเห็น  “ผล” ของ “ความคิด” ที่เป็น “รูปธรรม”
 
แต่เราจะเลือก “ความคิด” แบบไหนละในการใช้เป็นแผนที่ชีวิตของเรา ???
 
“ความคิดถูกต้องเที่ยงตรง” หรือ “ความคิดในทางทำลาย” ???
 
เราคงจะเริ่มเห็นประเด็นที่ Dr.Hill ต้องการจะสื่อว่า ให้เราระวัง  เลือกให้ดีระหว่างสองทางเลือกนี้ !!!
 
คนที่มี “ความคิดถูกต้องเที่ยงตรง” มีมาตรฐานเดียวที่ใช้กับตนเอง และกับผู้อื่น !
No double standards , please !
 
คนที่มี “ความคิดถูกต้องเที่ยงตรง” จะมีน้ำใจนักกีฬา  มีความยุติธรรมที่จะมองเห็นความบกพร่องของตนเองเท่าๆกับเห็นของคนอื่น  และเห็นความดีของคนอื่นเท่าๆกับที่เห็นของตนเอง  ! เขาจะไม่เลือกยก “ความบกพร่อง” ของคนอื่นให้อยู่เหนือ “ความดี” ของคนอื่นจนทำให้เขาจ้องที่จะทำลายล้างคนนั้นเพื่อความสะใจของตนเอง
 
เขาศรัทธาต่อมาตรฐานนี้เสมอแม้ว่ามันอาจจะทำให้เขาต้องสูญเสียผลประโยชน์ในบางครั้ง  แต่ลึกลงไปในใจนั้น  เขารู้ดีว่าในระยะยาวแล้ว –เขาจะได้ประโยชน์มากกว่า !
 
ด้วยกฏแห่งค่าเฉลี่ย  ด้วยกฏแห่งมือที่มองไม่เห็น (The Invisible Hands) เขาจะเป็นฝ่ายได้ !!!
 
 
ด้วยความเชื่อที่ว่า—ในโลกนี้ไม่มีใครที่แกล้งโง่อย่างตลอดกาล  “การกดขี่ข่มเหง” “การเอาเปรียบ” ไม่มีทางที่จะให้ส่วนรวมเป็นสุข
สังคมที่ไม่มีสันติ –ไม่มีโอกาสสำหรับประสิทธิภาพ สังคมที่ไม่มีประสิทธิภาพ –ไม่มีใครได้ประโยชน์ !!!
คนบางคน “ซื่อสัตย์” ต่อเมื่อเขา—ได้ประโยชน์
คนที่ใช้หลัก“ความคิดถูกต้องเที่ยงตรง” อาจจะลงทุนด้วยบทเรียนที่เจ็บปวด  นี่เป็นความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้อย่างหนึ่ง  เขาจะยอมเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อส่วนรวม  แต่  “รางวัล” มักจะคุ้มค่าเสมอ
 
หากเราเป็นคนที่มี “ความคิดถูกต้องเที่ยงตรง”หากเราจะกล่าวร้ายต่อใคร  เราจะต้องระวังที่จะไม่พูดถึงความผิดของศัตรูเกินจริง  และต้องไม่ตั้งใจบิดเบือนไม่พูดถึงความดีของผู้นั้นเลยทั้งๆที่เรารู้ๆอยู่ในใจว่าเขาก็ไม่ใช่เลวไปเสียหมด !
หากมีคนนินทาใครให้เราฟัง เราก็ควรฟังหูไว้หู  และใช้ “ความคิดถูกต้องเที่ยงตรง” ในการหาข้อมูลครบทุกด้านก่อนที่จะสรุป !
และหากเราขี้เกียจหาข้อมูล เราก็ไม่ควรเชื่อในข้อมูลที่ “ได้ยินมา” !
สำหรับคนบางคน  เพียงแค่—เขาว่า ....หรือ หนังสือพิมพ์บอกว่า .... ก็เพียงพอแล้วสำหรับการผูกมิตรกับคนบางคน  พร้อมกับเหยียบย่ำบุคคลที่สามที่ถูกกล่าวถึง
 
แต่สำหรับคนที่มี  “ความคิดถูกต้องเที่ยงตรง” เขาจะไม่ยินดี ไม่ยินร้ายกับ “ข้อมูลราคาถูกๆ” ที่ยังไม่ได้ผ่านการค้นคว้าหาข้อมูลที่มาจาก “ความคิดถูกต้องเที่ยงตรง” ของเขาเองเด็ดขาด !!!
 
สำหรับคนที่มี  “ความคิดถูกต้องเที่ยงตรง” เขาจะตัดสินใจเร็วมากเมื่อสถานการณ์มาถึงทางแยกที่ต้องเลือกระหว่าง :
ความมุ่งมั่นเอาชนะอุปสรรค และ การท้อถอย
การเก็บข้อมูลเพื่อต้องการรู้ความจริง และ การเอาสีข้างเข้าถูเพราะว่ากลัวเสียหน้า
ความเหนื่อยจากการทำสิ่งที่ยาก และ การลอยตามน้ำเพื่อเห็นแก่ความสบายของตน
การยืนหยัดแสดงจุดยืนในสิ่งที่เชื่อ และ การล้มตามลู่ทางลมของคนส่วนใหญ่เหมือน DOMINO (คลิ๊กดู VDO)
การเป็นผู้แก้ปัญหา และ การนิ่งเฉยทั้งที่เห็นปัญหาตรงหน้า
การยอมเสี่ยงเป็นผู้ริเริ่มที่อาจจะถูกหรือผิด และ การคอยจับผิดคนอื่นแต่ตนเองไม่ยอมทำอะไร
 
 
แล้ว “ความคิดถูกต้องเที่ยงตรง” เกี่ยวอะไรกับเราหรือ ???
 
ในการทำงานกับคนหมู่มากนั้น ....
“ประสิทธิภาพ”เกิดขึ้นได้ไหมหาก—ไม่มีความร่วมมือกันระหว่างกลุ่มคน (Synergy)
“ความร่วมมือ”ระหว่างกลุ่มคนเกิดขึ้นได้หรือไม่หาก—ไม่มีความไว้เนื้อเชื่อใจกัน(Trust)
“ความไว้เนื้อเชื่อใจ”เกิดขึ้นได้หรือไม่หากไม่มี –ความคิดถูกต้องเที่ยงตรงที่ทำให้เห็นจริง (Integrity)
ผมว่า ....บทนี้เป็นอีกบทหนึ่งที่น่าจะดีที่สุดของหนังสือเล่มนี้
เห็นด้วยไหมครับ ?