ป้ายล้ม-ตึกถล่ม ! ไฟไหม้ฟาง...ที่แก้ไม่ตก
 
 
อาคารทรุด แก๊สระเบิด ตึกถล่ม ไฟไหม้ กระทั่ง ป้ายล้ม !! เหตุการณ์เหล่านี้ ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ เกิดขึ้นมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานคร ที่ เกิดโศกนาฎกรรม บ่อยครั้งที่สุด
 
และเมื่อเกิดเหตุสลด ขึ้นครั้งใด ก็จะมีมาตรการวัวหายล้อมคอกออกมาให้เห็น เป็นประจำและสม่ำเสมอ ในช่วงต้นๆ แต่พอนานวันมาตรการที่เข้มข้นก็จะถูกเลือนหายไป
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลายคนมักโทษพิษ ภัยธรรมชาติ อย่างล่าสุดป้ายยักษ์ล้มครืนลงมาทับคนเสียชีวิต ที่จริงแล้ว เกิดจากการประชันขันแข่งชิงดีชิงเด่นกันทางธุรกิจ อีกประการคือความมักง่ายเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ของผู้ประกอบการ และ เจ้าหน้าที่ที่ปฎิบัติ ละเลย รู้เห็นเป็นใจ มีหลายป้ายยักษ์หลายป้ายในเมืองหลวง ที่เป็นป้ายเถื่อน !!! มีหลายป้ายที่มีโครงสร้างไม่มั่นคงแข็งแรง แต่ ทว่า ถูกปล่อยให้เกิดขึ้นเกลื่อนเมือง จนกลายเป็นความชินตา แต่นั่นคือภัยที่อาจจะเกิดขึ้นโดยไม่มีการเตือนล่วงหน้า
เช่นเดียวกับ อาคาร มีหลายอาคารที่โครงสร้างไม่มั่นคงแข็งแรง หรือ ต่อเติมโดยเลี่ยงกฎหมาย มีอาคารสูง-ใหญ่ที่เป็นอาคารสาธารณะไม่ต่ำกว่า 30,000 อาคารที่เสี่ยงอัตราย หากไล่นับกันจริงๆ เมื่อรวมบ้านเรือนอยู่อาศัยด้วยแล้ว มีนับล้านอาคารทีเดียว ที่เกิดขึ้นในเขตกรุงเทพมหานคร หากเกิดแผ่นดินไหว ไฟไหม้ ตึกถล่มขึ้นมา จะโทษภัยธรรมชาติ ไม่ได้ แต่นี่คือความมักง่ายของผู้ที่เป็นเจ้าของอาคารและ เจ้าหน้าที่ที่ละเลยนั้นเอง
 
ทั้งนี้ ทั้งบ้านเรือน ตึกสูงใหญ่ และ ป้าย ต่างเข้าข่ายเป็นอาคาร ต้องปฎิบัติตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 ต้องขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร และ ต้องให้วิศวกรตรวจสอบโครงสร้างความมั่นคงแข็งแรงเสียก่อน นั้นคือต้นทุนที่ต้องยอมควักกระเป๋าจ่าย อย่างไรก็ดี มีหลายป้ายหลายอาคารในเมืองหลวงที่ไม่รู้ชะตากรรมว่าวันใดจะเกิดโศกนาฎรรมอีก... หนทางที่ทำได้อย่างเดียวก็คือ ทุกคนต้องเฝ้าระวังภัยในชีวิตและทรัพย์สินของตนเอง ทั้งในขณะขับขี่รถยนต์หรือ ใช้อาคารกันเอง และเชื่อว่า ไม่ว่า หน่วยงานราชการจะงัด เอามาตราการอะไรออกมาแก้ไข สุดท้ายก็เกิดโศฏนาฎกรรมซ้ำซากทุกท
 
 
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2232 05 ก.ค.  - 07 ก.ค. 2550