2 เดือนอียูเตือนภัยสินค้าไทยตรึม |
![]() |
แนะส่งออกระวังทั้งของกินของใช้ปีก่อนโดน 39 ชนิด | |
![]() |
โพสต์ทูเดย์ อียู แฉแหลก สินค้าไทยไม่ได้มาตรฐาน แค่ 2 เดือนแรกปีนี้ ถูกแจ้งเตือนภัย ทั้งสินค้าอาหาร และไม่ใช่อาหารหลายรายการ |
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า ช่วง 2 เดือนแรก (มกราคม กุมภาพันธ์) ปี 2550 สหภาพยุโยป (อียู) ได้แจ้งเตือนสินค้าอาหารที่นำเข้าจากไทย ตามระบบการแจ้งเตือนสินค้าอาหารและอาหารสัตว์ (Rapid for Food and Feed System ; RASFF) ของสหภาพยุโรปหลายรายการ | ![]() |
ซึ่งพบสารกันบูดซัลไฟต์ ในดอกไม้จีนอบแห้ง ลูกอมรสผลไม้ พบเชื้อจุลินทรีย์ซาลโมเนลลาในผักหลายชนิด เช่น ผักบุ้ง สะระแหน่ ผักชี พบแคดเมียม ในเห็ดอบแห้ง พบแบคทีเรีย ในปลาหมึกแช่แข็ง พบฮีสตามีน ในปลาทูน่ากระป๋อง เป็นต้น | ![]() |
ขณะเดียวกัน อียูยังได้แจ้งเตือนภัยสินค้าที่ไม่ใช่อาหารของไทยอีกหลายรายการ เพราะผลิตไม่ได้มาตรฐานของอียูภายใต้ระบบเตือนภัยสินค้าที่มีใช่อาหาร (Rapid Alert System for Non-Food Products : RAPEX) |
ประเทศกรีซ พบรถยนต์มิตซูบิชิ รุ่น CR L200 จากไทย ที่ผลิตในปี 2549 มีข้อบกพร่อง ในระบบส่งสัญญาณระดับน้ำในที่กรองเชื้อเพลิง ซึ่งอาจก่อให้เกิดการแตกร้าว ส่งผลให้พลังงานการขับเคลื่อนถูกตัดและขาดการควบคุมในเวลาขับขี่จึงได้ให้ผู้นำเข้าแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวแล้ว |
ขณะที่สเปน ตรวจพบอุปกรณ์ไฟตกแต่งรวม 6 รายการ ที่เสี่ยงต่อการเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจร เพราะไม่ได้ผลิตตามมาตรฐานและเงื่อนไขที่กำหนด จึงได้ปฏิเสธการนำเข้า |
![]() |
ส่วนฟินแลนด์ ตรวจพบของเด็กเล่นยี่ห้อ Biltema 3 รายการเพราะมีความเสี่ยงต่อการหักหลุดของชิ้นส่วนขนาดเล็กไปติดคอเด็ก ซึ่งไม่เป็นไปตามเงื่อนไขด้านความปลอดภัย และยังมีความเสี่ยงเพิ่มเติมทางอันตรายจากสารเคมี เพราะสีที่ใช้ทาบนสินค้า มีส่วนผสมของตะกั่ว ซึ่งเป็นโลหะหนักอันตรายเกินอัตราที่กำหนด จึงให้ถอนการวางจำหน่ายแล้ว |
นอกจากนี้ อียูยังรายงานว่า ในช่วงหลังปี 2549 (กรกฎาคม ธันวาคม) สินค้าอาหารของไทย ได้รับการแจ้งเตือนภัยจากอียูมีทั้งหมด 39 รายการส่วนใหญ่จะถูกปฎิเสธนำเข้า หรือให้นำออกจากชั้นวางสินค้า โดยสินค้าที่ถูกแจ้งเตือนบ่อยที่สุดคือ ผัก 16 ครั้ง เพิ่มขึ้นจากครึ่งแรก 2549 ที่ถูกแจ้งเตือน 12 ครั้ง เช่นใบมะกรูดและใบโหระพา ถั่วฝักยาว ผักชี และใบสะระแหน่ ตะไคร้ มะเขือยาว เพราะพบเชื้อซาลโมเนลลา ซึ่งทำให้เกิดโรคระบบทางเดินอาหาร และสารตกค้างจากยาฆ่าแมลงโอเมโทต เชื่อว่ากรณีดังกล่าวจะทำให้การนำเข้าผักของไทยในอียูได้รับการตรวจสอบอย่างเข้มงวดเพิ่มขึ้น ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยกำลังแก้ไขปัญหาอยู่ | |
รองลงมาคือ อาหารแช่แข็ง 8 ครั้ง เพิ่มขึ้นจากครึ่งปีแรกที่ถูกแจ้ง 3 ครั้ง โดยพบแคดเมียมในปลาหมึกแช่แข็ง พบการใช้สารคาร์บอนมอนอกไชด์ในปลาทูน่าแช่แข็ง ไก่ปรุงรสแช่แข็ง เป็นต้น | |
สำหรับอาหารแปรรูป แจ้งเตือน 6 คร้ง ลดลงจากช่วงครึ่งปีแรกที่ถูกแจ้งเตือน 17 ครั้ง เช่น สับปะรดอบแห้ง เนื้อปลาทูน่าในน้ำมันพืช เยลลี ถั่วกระป๋อง ส่วนใหญ่พบเชื้อแอลฟาทอกซิน เป็นต้น ส่วนอาหารทะเลแจ้งเตือน 4 ครั้ง ลดลงจากครึ่งแรกที่ได้รับการแจ้งเตือน 3 ครั้ง เช่น ปลา ปลาแห้ง ปลารมควัน โดยพบแมลงและตัวอ่อนของแมลง เป็นต้น | ![]() |
ขณะที่อาหารสัตว์โดนแจ้งเตือน 2 ครั้ง คือ อาหารสุนัข ซึ่งยังไม่เคยถูกแจ้งเตือนมาก่อน เพราะพบซาลโมเนลลา และอื่น ๆ 3 ครั้ง ได้แก่ ชา กาแฟ สารปรุงแต่งอาหาร เพราะพบสมุนไพรที่ไม่ได้รับอนุญาตในชา กาแฟ และพบการฉายรังสีในสารปรุงแต่งอาหาร |
อย่างไรก็ตาม ประเทศในกลุ่มอียูที่มีการแจ้งเตือนภัยสินค้าอาหารและไม่ใช่อาหารนำเข้าจากประเทศไทยมาที่สุด คือ |
ฟินแลนด์ | 11 | ครั้ง | |
สหราชอาณาจักร | 9 | ครั้ง | |
นอร์เวย์ | 7 | ครั้ง | |
เนเธอร์แลนด์ | 3 | ครั้ง | |
อิตาลี | 3 | ครั้ง | |
ฝรั่งเศส สเปน ไซปรัส สวีเดน เยอรมณี ละกรีซ | 1 | ครั้ง | |
อย่างไรก็ตาม หากรวมสถิติในปี 2549 สินค้าไทยถูกแจ้งเตือนทั้งสิ้น 75 ครั้ง | |||
ที่มา : หนังสือพิมพ์ โพสต์ TODAY 19-04-07 |
|||