การทำงานเชิงรุก
 
การทำงานเชิงรุก
 
การจัดการไม่ใช่การเพิ่มคนเพื่อแก้ปัญหาแต่คือการมองงานล่วงหน้าในฐานะผู้นำที่ “ต้องรู้ด้วยประสบการณ์”ว่าหาก “ทำ” หรือ “ไม่ทำ” สิ่งที่ควรแล้วผลของมันจะสร้างปัญหา
ปัญหา 1 กระทบให้เกิดปัญหา 2,3 และปัญหา 2,3 ก่อให้เกิด 4,5,6,7 จนถึงจุดหนึ่งๆ ก็จะเกินกำลัง “คนที่มีอยู่” และถ้าการวิเคราะห์สาเหตุผิดก็จะไม่เห็นว่าเกิดจากจุดเริ่มต้นที่ผิด  ก็จะนำไปสู่การเพิ่มคนซึ่งเพิ่มต้นทุนในที่สุด ดังนั้น “ผู้นำ”ต้องถามตนเองให้ชัดๆว่า “เราได้นำจริงหรือไม่” หรือ “คนที่เราให้เป็นผู้นำแทนเรานั้น-เขาได้นำจริงๆหรือไม่”
 
แผนภูมิที่ 1
  แสดงผลจากการไม่ได้ทำงานเชิงรุก จากจุดเริ่มต้นเมื่อเวลาผ่านไปถึง เวลา 1 จะมี
ีงานที่ล้นเกินกำลังคน หากยังทำแบบเชิงรับอยู่งานที่ล้นเกินกำลังคนจะเพิ่มขึ้นๆ เหมือน ณ. เวลา2 ,เวลา 3
...................................................................................................................
   
   
ในทางตรงกันข้าม หากเรามีระบบการเก็บข้อมูลที่เชื่อถือได้  มีคนที่ซื่อสัตย์ที่ “รักความจริง” เก็บข้อมูลอย่างไม่บิดเบือน เราก็จะสามารถวิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริงของปัญหาตรงหน้า จนทำให้ปัญหา 4,5,6,7 ลดน้อยลง ๆ ในขณะเดียวกันนั้น คนในทีมก็พัฒนาวิธีสื่อสารระหว่างกันอย่างสร้างสรรค์  มีความอดทนในการรอให้มาตรการที่เราทำอยู่ทำงานอย่างเต็มที่โดยไม่มีการปัดแข้งปัดขากันแล้ว  ในที่สุดเราก็จะมีวันหนึ่งที่คนที่มีอยู่สามารถจัดการปัญหาได้หมด (เวลา – 3) เมื่อนั้น เราก็จะสามารถทำงานอย่างสบายในพื้นที่ 2 ของ การบริหารเวลาของผู้มีประสิทธิผลในอุปนิสัยที่ 3 ของ 7-Habits (การเพิ่มคนจะเป็นชั่วคราวเท่านั้น)
 
แผนภูมิที่ 2
  แสดงผลจากการทำงานเชิงรุก จากจุดเริ่มต้น คนที่มีอยู่ทำงานมีประสิทธิภาพ
แก้ปัญหาที่กองสะสมอยู่ได้มากกว่าปัญหาที่เกิดใหม่ ผลคือปัญหาจะน้อยลงๆจน สมดุลกับกำลังคนที่ เวลา3 ในที่สุด
...................................................................................................................