ตอนที่ 16 |
อุปนิสัยที่ 6 : ผนึกพลัง....ประสานความต่าง |
การผนึกพลังประสานความต่างเป็นหัวใจของผู้นำองค์กรที่มีศูนย์กลางชีวิตที่หลักการ |
ใช้ได้แม้กับครอบครัวที่พ่อแม่มีศูนย์กลางชีวิตที่หลักการ มันเป็นตัวเร่งที่ปลดปล่อยพลังมหาศาลของสมาชิกทุกคนออกมาสุดๆเพื่อหลอมรวมกันเป็นผลประโยชน์ร่วมของส่วนรวม ! | ![]() |
การผนึกพลังประสานความต่างมีให้เห็นทั่วไปในธรรมชาติ ถ้าคุณปลูกต้นไม้สองต้นไว้ใกล้กัน รากของมันจะประสานกัน ช่วยยึดกันและกัน สามารถต้านลมพายุได้ดีกว่าต้นที่ปลูก | |
เดี่ยวๆ ! หรือความแตกต่างของชายและหญิงทางกายภาพ ทางจิตใจ ที่ทำให้สร้างสรรค์ชีวิตในรูปแบบที่น่าตื่นเต้น หรือสร้างสรรค์ผลงานในองค์กร เมื่อความแข็งกร้าวของฝ่ายหนึ่งผสานกับความอ่อนโยนของอีกฝ่ายหนึ่งก่อให้เกิดเป็นความปรองดอง เกิดการเติมเต็มสิ่งที่อีกฝ่ายหนึ่งขาดไปให้ครบสมบูรณ์ เกิดความสัมพันธ์ที่กลมกลืนและเอื้อต่อความเติบโตโดยไม่แตกหักโดยใช่เหตุหรือไร้ประสิทธิผลในกรณีที่มีเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ! |
การผนึกพลังประสานความต่างทำให้เกิดการพึ่งพาซึ่งกันและกัน บรรยากาศความร่วมมือจะดีขึ้นเนื่องจากความคิดเรื่องการป้องกันตนเองน้อยลง มีความเชื่อใจระหว่างกันมากขึ้น ขัดแย้งกันน้อยลง เอาใจใส่ผู้อื่นมากขึ้น อวดความเหนือกว่าน้อยลง ตำหนิคนอื่นน้อยลง และ .เล่นการเมืองน้อยลง !!! |
![]() |
การผนึกพลังประสานความต่างต้องการความใจกว้าง ไม่มีความโอหังในใจ และมีจิตใจที่ชอบความท้าทายที่มาจากความคิดสร้างสรรค์เพราะส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่คาดเดาไม่ค่อยได้ (ก็เพราะชื่อมันบอกอยู่ชัดๆแล้วว่า ความคิดสร้างสรรค์มันจึงเป็นสิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน !)มันมักจะเป็นสิ่งที่ไม่มีความชัดเจน มันเป็นการลองผิดลองถูก หากเราไม่อดทนต่อการที่จะต้อง |
ฟัง-เพื่อเข้าใจผู้อื่นก่อนที่จะให้เขาเข้าใจเราแล้ว โอกาสที่เราจะเป็นฝ่ายทำลายบรรยากาศสร้างสรรค์เสียเองก็จะสูงขึ้นจนบ่อยครั้งเราจะพบว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่กลัวบรรยากาศความคิดสร้างสรรค์นั่นเป็นเพราะเขาไม่รู้วิธี ประสานพลังความต่างมากกว่า ไม่ใช่จุดอ่อนของบรรยากาศสร้างสรรค์ !!! | ![]() |
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อเมริกาได้ให้เดวิด ไลเลียนทัล เป็นหัวหน้าคนใหม่ของคณะทำงานด้านพลังงานอะตอมมิก เดวิดได้รวบรวมกลุ่มบุคคลซึ่งมีอำนาจ ความเชี่ยวชาญในแต่ละด้านมาทำงานด้วยกัน | |
กลุ่มคนที่มีความแตกต่างกันจากหลายสาขานี้ต้องทำงานภายใต้กำหนดการกรอบเวลาที่อัดแน่น พวกเขาถูกกดดันจากรัฐบาลและสื่อมวลชนจนพวกเขาเริ่มหมดความอดทน แต่เดวิดใช้เวลาหลายสัปดาห์ในการสร้างบัญชีออมใจระหว่างคนในกลุ่มให้สูงขึ้น เขาให้แต่ละคนทำความรู้จักซึ่งกันและกัน รู้ว่าใครสนใจหรือชอบเรื่องอะไร มีความหวังในชีวิตอย่างไร มีความกังวลในเรื่องอะไร ใครมีพื้นฐานครอบครัวอย่างไร มีมุมมองต่องานที่ทำอย่างไร เขาพยายามทุกอย่างที่จะทำให้ทุกคนมีความผูกพันกัน | |
การทำเช่นนี้ทำให้เดวิดถูกตำหนิเป็นอย่างมาก เพราะดูเหมือนว่าเป็นการกระทำที่ ไร้สาระและไม่มีประสิทธิภาพ !! | |
แต่ปรากฏว่าคนกลุ่มนี้กลับเข้ากันได้ดี กล้าเปิดเผยความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เพราะพวกเขามีความไว้วางใจจากการรู้จักกันอย่างดีว่าใครเป็นอย่างไร และรู้ว่าทุกคนมีวัตถุประสงค์เดียวกันคือทำให้งานบรรลุผลสำเร็จ พวกเขาจึงมีความคิดสร้างสรรค์มากและประสานความคิดกันได้อย่างดี พวกเขาเคารพความเห็นกันและกันจนขนาดที่ว่าถ้าเกิดความเห็นไม่ตรงกัน แทนที่จะโต้เถียงกันด้วยอารมณ์ร้อน พวกเขากลับตั้งใจฟังเพื่อเข้าใจอีกฝ่ายหนึ่ง ! | |
พวกเขามีทัศนคติที่ว่า ถ้าคนที่มีสติปัญญา มีความสามารถ มีความมุ่งมั่นนั้นมีความเห็นไม่ตรงกับผม แสดงว่าต้องมีอะไรสักอย่างที่ผมยังไม่เข้าใจ และผมต้องการทำความเข้าใจมันให้ได้ | |
ผลคือ-ไม่มีการกลัวการเสียหน้า ไม่มีการปกป้องตนเอง ไม่มีลีลาเพื่อที่ตนเองต้องเป็นผู้ชนะอยู่เสมอ และแล้วในที่สุด .วัฒนธรรมที่หาได้ยากยิ่งก็เกิดขึ้นในกลุ่มทำงาน พร้อมกับงานที่สำเร็จตามเป้าหมาย ! | |
![]() |
COVEY ได้ชี้ให้เราได้เห็นถึงผลประโยชน์ที่แตกต่างมหาศาลระหว่างการมีและการไม่มีการผนึกพลังประสานความแตกต่าง การเห็นอย่างเดียวคงไม่เกิดประโยชน์หากไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไรจึงจะเป็นจริงได้ในทางปฏิบัติ งั้นคราวหน้าเราไปติดตามกันนะครับ ! |