TQM-สิ่งที่เราเรียนรู้มาแล้วในชั้นอนุบาล |
7-Habits of Highly Effective People ของ Stephen R. Covey เป็นหนังสือขายดีมากเมื่อ 15 ปีก่อนที่เริ่มตีพิมพ์ฉบับแรก และขายดีตลอดมาจนทุกวันนี้ นอกจากนี้ยังสร้างงานให้กับสถาบันพัฒนาตนเองของ Covey ที่ชื่อว่า FranklinCovey ในการอบรมแก่พนักงานต่างๆทั่วโลก มีรายได้ปีหนึ่งๆหลายร้อยล้านเหรียญ
|
|
ต้องบอกว่ามันต้อง เป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่ อย่างมากที่ทำให้คนทั้งโลก ต้องให้ความสนใจ จนนำมันมาใช้ในการบริหารบุคคลในองค์กรชั้นนำทั่วโลกได้ขนาดนั้น ! |
ถึงกับสามารถสร้างกระแส หวาดวิตก ว่าหากองค์กรไหนขาดมันไปละก็ เตรียมตัวรับมือกับหายนะได้เลย ! |
บางบริษัทก็สำเร็จ บางบริษัทก็ ล้มเหลว (เหมือน Balanced Scorecard ในหลายบริษัท ที่ผู้บริหารติดกับดัก เปลือก-ความต้องการผลทางธุรกิจ-KPI-KRA ที่ถูกจัดลำดับให้อยู่เหนือ แก่น-ความอยากมีส่วนร่วมอย่างเต็มใจจากพนักงาน และ ความใจร้อนอยากได้เห็นผลเร็วๆ) |
เมื่อดูเนื้อหาไส้ในของ 7-Habits of Highly Effective People (จากนี้ไปจะเรียกย่อๆว่า 7-Habits) จะประกอบไปด้วย 3 เรื่องใหญ่ : |
1-การพัฒนาส่วนตนเพื่อให้มี ศักยภาพ ที่สูงขึ้น (อย่าพอใจในการหยุดอยู่กับที่ หยุดพัฒนา) |
2-การพัฒนาความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน (สัมพันธภาพที่ดีเท่านั้นจึงจะนำ Synergy มาให้) และ |
3-การทำให้เกิดความต่อเนื่อง |
หรือ คำเชิญชวนให้คนซื้อหนังสือว่า อ่านมันแล้วจะทำให้เราเข้าใจ 4 คำต่อไปนี้อย่างลึกซึ้งจนกระทั่ง ยอมเปลี่ยนแปลงตนเองอย่างถอนรากถอนโคน จนนำประสิทธิภาพมาสู่ตนเอง และสังคมองค์กรที่เราอยู่ ดังนี้ : |
1-Fairness (ความยุติธรรม) |
2-Integrity (ศีลธรรม-คุณภาพของการอยู่ร่วมกัน) |
3-Honesty (ความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น) |
4-Dignity (ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์) |
เหมือน Covey กำลังบอกเราว่า พวกคุณช่างไร้เดียงสาจริงๆที่ไม่รู้ว่าคนเราจะทำงานได้ดีที่สุดเมื่อมี 4 ข้อนี้ในที่ทำงาน ! |
เหมือน Covey กำลังบอกเราว่า พวกคุณต้องจ้างผมให้มาสอนเรื่องที่คุณรู้อยู่แล้วตอนเป็นเด็ก เพียงแต่ว่ามันผ่านมานานเกินไปจนคุณลืมไปว่า-จะต้องทำอย่างไรจึงจะสามารถจัดระบบระเบียบมันใหม่เพื่อให้มันกลับมาแสดงพลังในรูปของ-ประสิทธิภาพส่วนตน-ประสิทธิภาพส่วนรวม และ ความยั่งยืน ! |
เหมือน Covey กำลังบอกเราว่า แนวคิดที่ให้ประสิทธิภาพที่เราเคยมีในวัยอนุบาลในเรื่อง-ความจริงใจ-ความสามัคคี-การขันอาสาคุณครูช่วยงานของส่วนรวม-การให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่เพื่อประโยชน์ของส่วนรวมนั้น-ถูกคราบเลอะจากการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่เต็มไปด้วย-อัตตาที่มากเกินไปจนกระทั่งบดบังปัญญาว่า-Synergy ให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าต่างคนต่างทำไปคนละทางเสมอ ! |
|
เหมือนที่คุณอนันต์เคยให้ของชำร่วยปีใหม่แก่เรานานมาแล้วที่เขียนว่า สิ่งที่ผู้ใหญ่จำเป็นต้องฝืนตนเองให้มากเวลาอยู่ในที่ทำงานนั้น แท้จริงแล้วก็คือต้องทำในสิ่งที่พวกเราถูกสอนตอนเป็นเด็กอนุบาลนั่นเอง นั่นคือ :อย่าแกล้งเพื่อน อย่างรวมหัวกันรังแกเพื่อน รักเพื่อน แสดงออกในการรักโรงเรียนของเราด้วยการรักษาความสะอาด เห็นสิ่งใดจะเป็นอันตราย-เสื่อมเสียต่อโรงเรียนต้องอย่างนิ่งเฉย อย่าแกล้งไม่เห็น ต้องช่วยกันแก้ไขหรือบอกครู |
สะดุ้ง ไหมครับ ! |
คุ้นๆกับเหตุการณ์ในที่ทำงานในเรื่องใดบ้างที่กลับตรงข้ามกับสิ่งที่คุณอนันต์อยากให้เป็น ? |
TQM ก็เหมือนกับสิ่งที่พวกเรารู้มาแล้วในโรงเรียนอนุบาล ! |
|
TQM คือหลักการทั้ง 3 ข้อต่อไปนี้ : |
|
1-การให้ความสำคัญต่อความต้องการของลูกค้าเรื่องคุณภาพ (ถ้าเปรียบองค์กรเหมือนกับโรงเรียนของเรา-ที่จะได้ประโยชน์จากการซื้อซ้ำของลูกค้าเก่า ใช่ไหม ?) | |
2-การมีส่วนร่วมของคนทุกคน (ทุกคนถือเป็นความภูมิใจที่จะมีส่วนลงมือช่วยงานของโรงเรียนโดยที่ไม่ได้หวังอะไรตอบแทน) |
|
3-การพัฒนาที่ไม่หยุดนิ่ง (การช่วยกันตรวจตรารักษากฏระเบียบต่างๆให้ศักดิ์สิทธิ์อยู่เสมอ ไม่ปล่อยเกียร์ว่าง ) |
|
TQM ที่มีชื่อดูไฮโซ น่าจะเป็นคนละชนชั้นกับ เรา นั้น |
|
แท้ที่จริงก็เป็น มนุษย์เดินดิน มีเจ็บป่วย หิว มีศักดิ์ศรีความเป็นคน เหมือนกับ เรา ทุกคน ! |
|
แท้ที่จริงก็คือเรื่องง่ายๆใกล้ตัวเหมือน 7-Habits นั่นเอง ! |
|
อ่านไส้ในแล้วจะรู้ว่าเป็นความจริง และไม่ใช่เรื่องยาก ! |
|
ข่าวดีอย่างยิ่งก็คือ องค์ประกอบ ของ TQM กว่า 80% ฝ่าย QC ได้ทำมาตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ทีละขั้นทีละตอน เพิ่มเติมวิธีทำงานปีละอย่างสองอย่าง โดยที่พวกเราไม่ทันสังเกต ! |
|
ลองมาดูว่า จริงไหม ? |
TQM ประกอบด้วยเรื่องอะไร และเรื่องอะไรบ้างที่เราทำมาแล้ว ? : |
TQM ประกอบไปด้วย 4 โครงสร้างหลัก (Module) และ 20 ข้อย่อยดังต่อไปนี้ : |
โครงสร้างที่ 1-ความเป็นผู้นำ (Leadership): |
1 -นโยบายของผู้บริหารระดับสูง (CEO) |
2 -การยืนยันการทำนโยบายให้เป็นจริง |
3 -การจัดการด้านระบบ |
4 -การจัดการด้านบุคลากร |
โครงสร้างที่ 2-สภาพแวดล้อมของการทำงาน (The work environment): |
5 การกำจัดและการเก็บวัสดุ |
6 -สุขอนามัยและสุขภาพ |
7 -ความปลอดภัย |
โครงสร้างที่ 3-ระบบและเครื่องมือ (Systems and tools) : |
8 -การสร้างมาตรฐาน |
9 -การแก้ปัญหา |
10-กลุ่มย่อยคุณภาพ (QC Circles) |
11-การใช้สถิติ |
12-การให้ความรู้และการอบรม |
โครงสร้างที่ 4-การผลิตและการขาย (Production and sales) : |
13-การควบคุมการผลิต |
14-การควบคุมขบวนการผลิต |
15-การตรวจสอบ |
16-การจัดการภายในสถานประกอบการผลิตและการใช้อุปกรณ์ |
17-การวัด |
18-การจัดการร้านค้าที่ส่งวัตถุดิบ |
19-การบริการหลังการขาย |
20-การออกแบบและการพัฒนา |
ที่มา : สมาคมมาตรฐานอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (Japanese Standards Association) , |
เห็นไหมว่า ในบริษัทเรามีอยู่แล้วถึงกว่า 80% ! |
แล้วทำไมจึงต้อง TQM อีก ? |
1-20% ที่เหลืออยู่นั้น ยังไม่ได้ทำงานตามหลักการ 3 ข้อ ของ TQM ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อ คุณภาพ |
2-80% ที่ ดูเหมือน จะมี TQM อยู่แล้วนั้น ยังไม่ได้ทำอย่างมีระบบเต็มประสิทธิภาพเพียงพอ |
3-แม้ได้ทำ 100% แล้วก็ตาม ท่ามกลาง กระแสการแข่งขัน และ สภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอยู่ |
เมื่อเราได้เห็น ความจำเป็นที่ต้องปรับตัว เพื่อรักษา ความสามารถในการแข่งขัน แล้ว |
ลองถามตนเองว่า |
เราอยากทำอะไรไหม ? |
เราจะแกล้งไม่เห็นไหม ? |
เพราะ พวกเราอยากช่วยกันรักษาโรงเรียน แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ของเรา ด้วยการร่วมมือ โดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยากตามที่คุณครูสอน |
วิธีการที่จะทำให้เป็นจริงจึงเป็นเรื่องเล็ก อุปสรรคที่จะตามมาจึงเป็นเรื่องเล็ก ! |
เพราะ พวกเราจะไม่แกล้งกัน สามัคคีกัน ไม่เกี่ยงกันว่ามันเป็นงานของใคร ขอให้ทำแล้วโรงเรียนสะอาด มีระเบียบ มีความเจริญก้าวหน้า เราก็ยินดีช่วยกันคิด แล้วลองทำตามที่คิดให้ดีที่สุด ทำผิดก็ลองเปลี่ยนใช้วิธีอื่น ไม่กล่าวโทษเพื่อน ร่วมกันเรียนรู้จากความผิดพลาด ตามที่คุณครูสอน |
โอกาสที่ เพื่อน-หัวหน้า จะเลิกนิสัยชอบ พูด ตำหนิ (ไม่เคยช่วย คิดแต่แรก ไม่เคยช่วย ระหว่างทำ แต่รอให้ทำเสร็จแล้วค่อยมาแสดงละครบทตัวร้าย) เลิกรอหาจังหวะติ เวลามีคน คิดนอกกรอบ และ ทำพลาด และเปลี่ยนมาเป็น การช่วยคิดช่วยทำ-ช่วยกันเสี่ยง-ช่วยกันเข็น จึงเป็นจริงได้ไม่ยาก ! |
โอกาสที่จะได้คนกล้าเสี่ยงทดลองทำจนได้สิ่งที่ดีขึ้นกว่าเดิม จนโรงเรียนมี ทางเลือก หลากหลายในการแก้ปัญหา จึงไม่ใช่เรื่องน่ากลัวสำหรับหลายๆคน ! |
โอกาสที่คนต่างฝ่ายกันจะสนับสนุนข้อมูลข้ามฝ่ายกันที่เป็นประโยชน์ พูดจาภาษาบวก ฟังมากกว่าพูด จนเกิด Synergy ในระบบจึงไม่ใช่เรื่องยาก ! |
โอกาสที่ทุกๆฝ่ายจะส่งงานที่ผ่านการกลั่นกรองถี่ถ้วนแล้วว่า ดีที่สุดต่อโรงเรียนแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ แก่ ลูกค้าภายใน จึงไม่ใช่เรื่องใหญ่ ! |
โอกาสที่ เรา และ ผู้รับเหมา จะช่วยกันปรับปรุงการทำงานที่ทำให้ต่างก็มี ความต่อเนื่องในการทำ CEC-B-to-S จนทั้งระบบมีประสิทธิภาพ มีความเชื่อใจกันและกัน (Trust) สูงขึ้น การรับมือกับ ความผันผวน จากเหตุการณ์ภายนอก จึงเป็นเรื่องหมูๆ ! |
โอกาสที่ กลุ่มโครงการ และ ฝ่ายที่อยู่ส่วนกลางทั้งหมด จะทำงานประสานกันอย่างเต็มใจโดยไม่มี อัตตา มาขวางกั้น จึงไม่ใช่เรื่องเสียหน้า ! |
โอกาสที่การนำโครงการนำร่อง โครงการต้นกล้า ไปทำบ้างเพื่อขยายผลของความสำเร็จไปสู่ทั้งองค์กรจึงไม่ใช่เรื่องใหญ่ ! |
โอกาสที่โรงเรียนแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จะ เติบใหญ่ และ ยั่งยืนขึ้นอีกครั้ง จึงไม่ใช่เรื่องที่ยาก ! |
เพียงเพราะด้วย |
สิ่งที่เราเรียนรู้มาแล้วในชั้นอนุบาล-TQM ! |
พิชัย
อรุณพัลลภ |
Department
of Quality Management |
![]() |
|
โปรดติดตามบทความแปลเรื่อง TQM อย่างต่อเนื่องใน WEB-QC จนกว่าผมจะแปลหมด 380 หน้า พร้อมทั้งขั้นตอนที่เรียบง่ายในการ Implement และ ปฏิบัติได้จริง |