30 วิธีเอาชนะโชคชะตา |
The Luckiest Man in the World |
โดย...บัณฑิต อึ้งรังษี
|
![]() |
Rule 19 -- เป็น คนเก่ง ทางด้านมนุษยสัมพันธ์- - |
![]() |
การเข้ากับคนได้ดี การทำตัวให้คนรักคนชอบ เป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้กันตลอดชีวิต เนื่องจากกฎข้อก่อนที่ว่า ส่วนใหญ่แล้วโชคดีของคุณจะมาจากคนอื่น ยิ่งคุณ เก่ง เรื่องมนุษยสัมพันธ์มากเท่าใด |
คุณจะยิ่ง โชคดี มากขึ้นเท่านั้น
|
เรื่องมนุษยสััมพันธ์เป็น ทักษะ ที่พัฒนากันได้ คนที่ไม่เก่งก็จะเป็นคนเก่งได้ ถ้าตั้งใจ และไม่มีใครที่เก่งเกินไป ทุกคนพัฒนาเพิ่มเติมได้ |
[วิธีบางวิธีที่จะเก่ง ทางมนุษยสัมพันธ์ได้] |
1.ปฎิบัติกฎทองคำ |
![]() |
กฎนี้เป็นกฎที่สำคัญที่สุดในปรัชญา มนุษยสัมพันธ์ของขาวตะวันตก กฎมนุษยสัมพันธ์ข้ออื่นๆ เป็นแค่ข้อมูลเสริมของกฎนี้ ถ้าก่อนที่จะทำอะไรทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับผู้อื่น เราแค่หวนคิดว่า เราอยากจะให้เขาทำกับเราอย่างนี้หรือไม่นะ ชีวิตนี้คุณจะ โชคดี ขึ้นอีกมาก |
2.อ่านหนังสือของเดล คาร์เนกี* |
How to Win Friends and Influence People ** หนังสือเล่มนี้ยังถือว่าเป็นหนังสือคลาสสิกด้านการสร้างมนุษยสัมพันธ์ มีหนังสือเกี่ยวกับจิตวิทยาการสร้างมนุษยสัมพันธ์อีกมากมายที่น่าอ่าน แต่ที่สำคัญคือ การปฎิบัติให้ได้ผลและทำบ่อยๆจนตนเองเก่ง |
![]() |
คุณลองสังเกตได้ว่า ถ้ามีคนคนไหนที่ไม่เก่งเรื่อง คน และการปฎิบัติกับคน เขาก็ไม่มีทางเป็นคนที่เราเรียกว่า โชคดี ได้ เพราะทำอะไรจะลำบากไปหมด โอกาสก็จะไม่มาเยีอนเพราะคนอื่นจะไม่ชอบมายุ่งกับเขา อย่าลืมครับ โชคดีส่วนใหญ่ของคุณจะมาจากผู้อื่น |
![]() |
ในโลกของคอนดักเตอร์กับวงออร์เคสตร้า ระดับนานาชาติ ผมได้รู้จักหรือเห็นคอนดักเตอร์มาแล้วในชีวิตเป็นพันๆคนมีข้อดีข้อเสียต่างกันไป แต่ข้อที่สำคัญที่สุดและทำให้สามารถทำนายได้เลยว่า คอนดักเตอร์คนไหน ไปไม่รอด คือ ถ้าวาทยกรคนนั้นมีปัญหาเรื่องมนุษยสัมพันธ์ส่วนใหญ่เป็นเรื่อง อีโก้ คิดว่าตนเองเป็น ของขวัญจากพระเจ้าสู้โลกแห่งดนตรี |
หน้าที่หลักของคอนดักเตอร์คือ การทำงานกับ คน (นักดนตรี) ไม่ใช่กับ สิ่งของ (เครื่องดนตรี) ในเมื่อคนนั้นไม่ เก่ง ในเรื่องคน ก็ยากที่จะก้าวหน้า ตัวผมเองก็ค่อยๆเรียนรู้ทักษะนี้พร้อมๆกับทักษะการเป็นวาทยากร |
ในโลกของการทำงาน ทักษะมนุษยสัมพันธ์จะมีความสำคัญต่อความสำเร็จมากกว่า ความเก่งเฉพาะด้าน ข้อนี้ได้รับการยืนยันจากผู้เชี่ยวชาญด้านศาสตร์แห่งความสำเร็จหลายคน รวมทั้งผลงานวิจัยหลายชิ้นที่น่าเชื่อถือ และประสบการณ์ (ที่ค่อนข้างจะเจ็บปวด) ของผมเอง จริงๆแล้วคนทั่วไปและผู้จ้างส่วนใหญ่แม้กระทั่งนักดนตรีในวงออร์เคสตร้าเองก็ไม่รู้ว่าคอนดักเตอร์เก่งกับไม่เก่งแตกต่างกันอย่างไร เพราะวัดยากมาก ต้องดูกันนานๆ โดยผู้เชี่ยวชาญและคนที่มีประสบการณ์อยู่ในวงการมายาวนาน แม้กระนั้นคนในวงการส่วนใหญ่ก็มีความเห็นที่แตกต่างกันไปเกี่ยวกับคอนดักเตอร์คนเดียวกัน หลังจากที่ผมทำงานมาเกือบ 20 ปี และกำกับมากกว่า 50 วงทั่วโลก
|
ก็สรุปได้ว่า ความสำเร็จของคอนดักเตอร์ 30 % มาจากความฉลาด ความรู้ ความเก่ง ในศาสตร์การเป็นวาทยากร แต่ 70 % มาจากความสามารถในการสร้างสถานการณ์ที่ทำให้ผู้ร่วมงานทำงานได้ดีที่สุด ทั้งในการซ้อมและการแสดง ให้เขาใช้ศักยภาพที่มีอยู่ให้เต็มที่ และมีความรู้สึกว่า กำลังทำงานให้ สิ่งประเสริฐ สิ่งหนึ่งที่เรียกว่าดนตรี ไม่ใช่ทำงานให้ อีโก้ของคอนดักเตอร์ | ![]() |
........................................................................................................ |
* Dale Carnegie (ค.ศ.1888-1955) นักเขียนหนังสือขายดีของอเมริกา |
**มีแปลเป็นภาษาไทยแล้ว ชื่อว่า ศิลปะการผูกมิตรและจูงใจคน ม.ร.ว รมณียฉัตร แก้วกิริยา แปลและเรียบเรียง |
อืม...ก็น่าจะใช่นะ คงจะดีไม่น้อยที่เราแยกแยะให้ออกว่า : |
- ทำงานเพื่อ "ผลงาน" หรือ "อัตตาของตนเอง" |
- การรู้จัก"ขอโทษ" เพื่อสร้างบรรยากาศ "ทีม" ที่ดีนั้น แสดงถึง "ความใจกว้าง" ไม่ใช่ "ความพ่ายแพ้" ซักหน่อย ! |
- การที่หัวหน้า "เปิดโอกาส" ให้ลูกน้องแสดงความคิดเห็น หรือชมเชย เมื่อความเห็นลูกน้องดีต่องานแสดงถึง "ความฉลาด" ของหัวหน้าในการที่จะได้รับ "ความคิดที่หลากหลาย และ เพิ่มทางเลือก" แทนที่จะดันทุรัง "เอาความคิดตนเป็นใหญ๋" จนลูกน้องกลายเป็น "ใบ้" ในที่ประุชุม |
พิชัย
อรุณพัลลภ |
Department
of Quality Management |
![]() |
|