การจัดการนวัตกรรม VS นวัตกรรมการจัดการ |
|
จาก สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
|
โดย...ปรีดา ยังสุขสถาพร |
![]() |
นวัตกรรมไม่ใช่เรื่องของการตีหัวเข้าบ้าน หรืออยู่ในวงจรอุบาทว์ คือขายให้ได้ปริมาณสูงแต่ Margin ต่ำเพราะเรื่องแบบนั้นไม่มีความเป็นนวัตกรรมเลย |
อย่างไรก็ตาม การมองนวัตกรรมในแง่นี้ก็เป็นเพียงซีกหนึ่งของกระบวนการพัฒนานวัตกรรมทั้งระบบ ที่บอกว่า ระบบหมายความว่า |
เรื่องนวัตกรรม ไม่ใช่สิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้โดยลำพังครับ นวัตกรรมต้องอาศัยการผสมผสานของหลายๆ เงื่อนไขหลายๆปัจจัย และหลายองค์ประกอบเข้าด้วยกัน เมื่อกลั่นจนได้ที่แล้วก็เกิดเป็นนวัตกรรมขึ้นมา ซึ่งเป็นความลงตัวของ ระบบ ที่พูดถึงอยู่นี่แหละครับ |
นอกจากนี้แล้วคนส่วนมากยังคงนึกว่า นวัตกรรมเป็นเรื่องของสินค้าและบริการเสียส่วนใหญ่ เพราะว่ามันมองเห็นได้ชัดเจนที่สุด ซึ่งก็ถูกจริงๆแหละครับ ไม่ผิดสักนิด บ่อยครั้งที่เราพูดถึงนวัตกรรมก็มักจะอ้างอิงถึงการมีอยู่ของสินค้าหรือบริการอะไรบางอย่าง ก็มีบ้างเหมือนกันที่เราจะพูดว่า คนๆ นี้มีความคิดที่เป็นนวัตกรรม (อ้างคนเป็นนวัตกรรมเสียเอง) |
![]() |
หรือพูดว่าการบริหารของบริษัทนี้มีความเป็นนวัตกรรมสูง (พูดถึงนวัตกรรมในด้านบริหารจัดการขององค์กร) หรือพูดว่าสินค้านี้มีโมเดลธุรกิจที่เป็นนวัตกรรม (บอกว่านวัตกรรม แทรกตัวอยู่ในรูปแบบ เทคนิค และกลยุทธ์ในการทำการค้า สร้างผลกำไร) |
|
![]() |
ยิ่งไปกว่านั้นคือ นวัตกรรมในยุคนี้สามารถเน้นเรื่อง กระบวนการในการคิด (Thinking Process ) ได้ด้วยครับ อันเป็นแนวโน้มที่เราน่าจะได้เห็นกันเร็วๆนี้ในบ้านเรา ซึ่งผมเชื่อว่าพัฒนามาจากแนวคิดในเรื่องของการสร้างความคิดสร้างสรรค์และการพัฒนาทักษะในการคิด ผนวกหรือผสมเข้ากับวิธีในการสร้างนวัตกรรมในองค์กร จึงกลายมาเป็นความรู้ใหม่ในเรื่องการพัฒนากระบวนการคิดเพื่อสร้างนวัตกรรม |
เรื่องนี้เข้าใจได้ไม่ยากครับ การคิดนั้น ใครๆก็สามารถคิดได้ทั้งนั้น แต่มีคนจำนวนหนึ่งที่สามารถคิดได้เป็นระบบได้ คนกลุ่มนี้บางพวกจะเป็นคนที่มีตรรกะทางความคิดสูงมาก บางคนเป็นพวกที่มีจินตนาการสูง มีไอเดียสดๆ ใหม่ๆ ตลอดเวลา บางคนมีวิสัยทัศน์เป็นเลิศ สามารถมองเห็นลู่ทาง ช่องทาง โอกาส และวิธีการสู่เป้าหมายที่ปรารถนาได้ |
|
ลักษณะเด่นในการคิดแบบนี้เป็นสิ่งที่ฝึกฝนได้ครับ ขึ้นอยู่กับความพยายามและทุนเดิมของแต่ละคน พระท่านบอกว่าสุดแล้วแต่บุญทำกรรมแต่ง เพราะถ้าหากคนๆ หนึ่งไม่มีความพยายามในเบื้องต้นเสียแล้ว จะมองหาความสำเร็จได้ยากยิ่งครับ | ![]() |
เมื่อผสานเรื่องนี้เข้ากับกระบวนการในการพัฒนานวัตกรรมที่ บริษัทหรือองค์กรต่างๆ ทำ ก็เกิดเป็นศาสตร์ใหม่ที่เรียกว่า การพัฒนากระบวนการคิดด้านนวัตกรรม |
แต่ตรงนี้ก็ทำให้เกิดความสับสนกันบ้างเหมือนกันครับ เพราะในปัจจุบันเราสามารถพบเห็นทั้งคำว่า Innovation Management และ Management Innovation ซึ่งเมื่อสลับที่กันแล้วทำให้ความหมายไปคนละทาง |
แย่ไปกว่านั้นคือ ในขณะนี้ มี 2 มหาวิทยาลัยในบ้านเราที่เปิดการเรียนการสอนเรื่อง การจัดนวัตกรรม (Innovation Management) และมีอีก 1 มหาวิทยาลัยที่สอนเรื่อง นวัตกรรมการจัดการ (Management Innovation) ในระดับบัณฑิตศึกษา |
![]() |
คนที่จะเรียนก็เลยงงๆว่า แล้วฉันจะเลือกเรียนที่ไหนดี หรือเรียนที่ไหนก็เหมือนกัน นวัตกรรมครือกันมั้ง โดยแท้ที่จริงแล้วมันเป็นคนละเรื่องเดียวกันเลยครับ การจัดการนวัตกรรมนั้น เรามองว่าจะสามารถจัดการเพื่อสร้างนวัตกรรมในบริษัท และองค์กรต่างๆ ได้อย่างไร ทั้งการสร้างสินค้าบริการหรือรูปแบบธุรกิจใหม่ ส่วนนวัตกรรมการจัดการเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับแนวคิดและวิธีการในการบริหารจัดการสมัยใหม่ครับ อย่างเช่น ทฤษฎีเรื่อง Blue Ocean เทคนิคการบริหารงานด้วย Six sigma การจัดการความรู้ ฯลฯ คนที่เรียนเรื่องพวกนี้จะเรียนรู้เครื่องมือทางการบริหารจัดการสมัยใหม่มากมาย ซึ่งอาจจะรวมถึงเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการนวัตกรรมขององค์กรด้วยก็ได้ แต่ที่แน่ๆคือไม่ได้เน้นไปถึงการพัฒนาสินค้าหรือบริการใหม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่แตกต่างกัน |
คนที่เรียนเรื่อง การจัดการนวัตกรรม ควรจะมีความรู้พื้นฐานทางเทคโนโลยีพอสมควร ในบางประเทศกำหนดคุณสมบัติเฉพาะผู้ที่จบสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเท่านั้น คนกลุ่มนี้พอเรียนจบแล้วจะไปเป็นผู้พัฒนาธุรกิจให้องค์กรเป็น Business Development Manager หรือ Chief Innovation Officer (CIO ) ในบริษัท ซึ่งจะเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรมออกสู่ตลาด |
ตรงกันข้าม คนที่เรียนเรื่องนวัตกรรมการจัดการจะเป็นคนที่จบไปแล้วไปทำหน้าที่เป็นฝ่ายบริหารในองค์กรเป็นคนที่จะนำเอาแนวคิดการบริหารใหม่ๆ ไปพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพในการดำเนินงานตามภารกิจ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรนั่นเอง |
ท่านผู้อ่านคงจะเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นนะครับว่า การเรียนรู้ทั้งสองเรื่องนี้มันเหมือนจะคล้ายๆ กัน และก็อาจจะมีความรู้บางอย่างร่วมกันด้วย แต่เป้าหมายของการเรียนรู้ทั้งสองอย่างนี้แตกต่างกันทั้งนี้ ผมไม่ได้หมายความว่า เรียนนวัตกรรมการจัดการแล้วจะมีโอกาสได้เป็นผู้บริหารมากกว่าเรียนการจัดการนวัตกรรมนะครับ เพราะเรื่องนี้มันไม่ได้จำกัดแบบนั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถและศักยภาพของแต่ละคนมากกว่า | ![]() |
ฝีมือและโอกาสของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ความรักความชอบของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ไม่ใช่จบ MBA จะได้เป็นกรรมการผู้จัดการกันหมดฉันใดก็ฉันนั้นครับขนาดผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (MAI) คนปัจจุบันยังเป็นวิศกรแท้ๆ เลย แต่อธิบายเรื่องการเงินได้น้ำไหลไฟดับ ทำเอาคนคนจบ MBA อายม้วนไปเลยก็แล้วกัน |
พิชัย
อรุณพัลลภ |
Department
of Quality Management |
![]() |
|