ตอนที่ 10
 
อุปนิสัยที่ 3
 
ทำสิ่งที่สำคัญก่อน
     
STEPHEN R. COVEY ยกผลวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ว่าสมองของคนมีสองส่วนใหญ่ๆคือ ซีกซ้าย และ ซีกขวา ซีกซ้ายจะควบคุมการคิดเกี่ยวกับการคำนวนตัวเลข การคิดเชิงวิเคราะห์ ส่วนซีกขวาจะควบคุมการคิดเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ ทิศทางการทำงาน ปรัชญา ศิลปะ
     
อุปนิสัยที่ 1- BE-PROACTIVE และ 2 – เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ จะขึ้นอยู่กับสมองซีกขวาเพราะทั้งสองเรื่องเป็นสิ่งที่ต้องใช้จินตนาการในการมอง มองข้ามพ้นสิ่งที่ตามองเห็น มองด้วยปัญญา มองด้วยความเข้าใจถึงผลของการทำว่าจะได้ผลดีอะไรกลับมา ความเข้าใจว่าหากไม่ทำผลเสียจะเป็นอย่างไร มองเห็นปัจจัยที่ซ่อนอยู่ใต้ผิวหน้าของทุกสิ่ง
     
อุปนิสัยที่ 3- ทำสิ่งที่สำคัญก่อน ขึ้นกับสมองซีกซ้ายซึ่ง COVEY ระบุว่าประสิทธิผลหรือที่เราเรียกง่ายๆว่าความสำเร็จนั้นจะเกิดขึ้นจริงตามที่อุปนิสัยที่ 1 และ 2 ตั้งเป้าไว้ไม่ได้เลย หากเราไม่ได้ลงมือปฏิบัติอย่างมีประสิทธิผลด้วย “ การจัดลำดับความสำคัญ ” ! หรือพูดอย่างรวบรัดคือ “ สมองซีกซ้ายต้องทำงานไปด้วยกันกับสมองซีกขวา ” !
 
คำจำกัดความของคนที่มีประสิทธิผลที่ COVEY สื่อได้ชัดเจนมากคือ “ บริหารด้วยสมองด้านซ้าย นำพาชีวิตด้วยสมองด้านขวา ”
     
เนื่องจากในชีวิตเรามีเรื่องราวมากมายที่รอให้เราทำ ในการบรรลุประสิทธิผลนั้น COVEY แบ่งเรื่องราวทั้งหมดออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆว่าเป็นเรื่องที่ “ สำคัญ ” และ “ เร่งด่วน ”
     
     
COVEY แบ่งคนออกเป็น 4 กลุ่ม :
กลุ่มคนที่ให้เวลากับงานในช่องที่ 1 คือต้องทำงานที่สำคัญและเร่งด่วนตลอดเวลา ผลลัพธ์ที่จะได้จะเป็นไปตามแผนภูมิ :
  คนกลุ่มในช่องที่ 1 นี้จะถูกโจมตีด้วยปัญหาต่างๆทั้งวันและทุกวัน
 
 
กลุ่มคนที่ ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปที่กิจกรรมในพื้นที่ 3 คือเร่งด่วนแต่ไม่สำคัญ จะได้ผลลัพธ์ตามแผนภูมิ :
คนกลุ่มในพื้นที่ 3 นี้จะต้องตอบสนองกับความต้องการของผู้อื่นที่เร่งด่วนโดยที่อาจจะไม่มีความสำคัญเลย เพราะคนอื่นนั้นอาจจะเป็นคนที่ไม่ได้ลำดับความสำคัญในการทำงานเหมือนกัน แต่ตนเองถูกเร่ง จึงคิดว่ามันสำคัญ
 
กลุ่มคนที่ใช้เวลาส่วนใหญ่ในพื้นที่ 3-4 จะเน้นแต่งานที่เร่งด่วนและไม่มีความสำคัญอะไรเลย ผลลัพธ์ของแนวการทำงานชนิดนี้จะเป็นตามแผนภูมิ :
 
กลุ่มคนที่มีประสิทธิผลจะจัดงานของเขาให้อยู่ในพื้นที่ช่องที่ 2 เป็นหลักและอยู่ให้ไกลจากพื้นที่ 3-4 เพราะเขาจะทำงานบนหลักการ เพราะเขาเชื่อว่าหลักการจะทำให้เขาอยู่ใน RIGHT TRACK ( อยู่ในร่องในรอย ) ที่ถูกต้องอย่างน้อยก็ 80% แล้ว อีก 20% ที่จะเกิดจากการตัดสินใจด้วยความเกรงใจ ด้วยการเมืองที่ยากที่จะเลี่ยงซึ่งจะไม่ทำให้เขาต้องวุ่นวายมากเกินไปกับพื้นที่หมายเลข 1 เขาจะพยายามวางระบบทำงานของเขาใว้ล่วงหน้าเสมอ เขาจะวางระบบทำงานเชิงป้องกัน มีระบบเตือนภัยล่วงหน้าที่นานพอให้ตนเองรับกับสถานะกาณ์ได้โดยไม่ต้องลนลาน ( การอยู่ในพื้นที่ช่อง 1 ) เขาจะวางระบบทำงานที่เน้น PC ( PRODUCTION CAPABILITY ) เขาจะสร้างโอกาสใหม่ๆในการทำงานที่เขาเป็นผู้เลือก ( ด้วยความเป็นคนที่ PROACTIVE , ด้วยการที่มีจุดมุ่งหมายในใจในการทำงาน ) หากในระหว่างนี้มีเรื่องที่ดูเหมือน “ เร่งด่วน ” หรือ “ ยุ่งยาก ” จากคนอื่นนำมาให้ เขาก็จะถือเป็นเรื่องปกติในการทำงานกับ “ คน ” ที่ย่อมไม่มีใคร “ สมบูรณ์แบบ ” เขาจะทำงานกับผู้อื่นอย่างเข้าใจ เขาจะมีความสุขในการทำงานด้วยความไม่ยึดติดแต่ความคิดของตนเอง หรือความคิดของคนใดคนอื่นอย่างขาดหลักการ !
 
ผลลัพธ์จากแนวคิดนี้จะเป็นไปตามแผนภูมินี้ :
 
ตัวอย่างที่ดีเรื่องหนึ่งของการจัดสรรเวลาและบทบาทของการทำงานที่มีประสิทธิผลคือเรื่องที่ COVEY ศึกษาผลสำเร็จของการจัดการศูนย์การค้าหนึ่งว่า :
 
ผู้จัดการศูนย์การค้าแห่งหนึ่งเดิมทีให้เวลาในการวิเคราะห์ปัญหาของผู้เช่าพื้นที่เพื่อทำเป็นร้านค้าต่างๆน้อยมาก เขาไม่เคยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับ ผู้เช่า เขาไม่เคยเป็นผู้ฟังที่ดี เขาจึงไม่เคยรู้ว่าส่วนใหญ่ผู้ที่เช่าทำธุรกิจมีหัวการค้าเพียงนิดเดียว พวกเขาไม่เคยคิดที่จะอบรมพนักงานของเขา พวกเขามีความรู้ทางบริหารเพียงนิดเดียวจึงมีปัญหาในการบริหารสินค้าคงคลัง เขาจึงมีปัญหาทางต้นทุน ปัญหาการจ้างงาน เวลาที่ผู้จัดการศูนย์การค้าใช้ส่วนใหญ่จึงเป็นเรื่องการไปเก็บเงินค่าเช่า ไปบังคับให้ผู้เช่าทำตามสัญญา ไปพูดเรื่องที่ผู้เช่าทำไม่สอดคล้องกับนโยบายที่ศูนย์การค้าวางไว้ ดังนั้น เวลาส่วนใหญ่ที่พบกันจึงเต็มไปด้วยความรู้สึกที่ไม่ดี และดูเหมือนจะมีแต่ปัญหาชวนปวดหัว !
 
หลังจากที่ปัญหาต่างๆรุนแรงขึ้นเรื่อยๆจนผู้จัดการศูนย์การค้าเริ่มคิดหาวิธีใหม่ๆในการแก้ปัญหาที่มีต่อผู้เช่า ในที่สุดก็นำปัญหาทุกอย่างมาเรียงลำดับว่าอะไรเป็นผลมาจากอะไรเป็นลูกโซ่ จนในที่สุดเห็นตรงกันในกลุ่มผู้บริหารว่ารากเหง้าของทั้งหมดมาจาก 1- ผู้เช่าส่วนใหญ่ขาดศักยภาพเชิงจัดการทำให้มีกำไรน้อยจนบีบให้ต้องใช้วิธีต่อรองเรื่องค่าเช่าและละเลยระเบียบการจัดร้านเพื่อลดต้นทุน 2- การมองว่าปัญหาของผู้เช่าไม่ใช่ปัญหาของศูนย์การค้า
 
เห็นปัญหา 2 ข้อนี้แล้ว ผู้จัดการศูนย์การค้าจึงตัดสินใจที่จะทำทุกอย่างเพื่อที่จะแก้ไขสาเหตุทั้ง 2 โดยเริ่มจากการหันไปใช้วิธีที่เน้นการส่งเสริมศักยภาพของผู้เช่า ผู้จัดการศูนย์เริ่มแนวทางที่เป็น PROACTIVE โดยกำหนดเป้าหมายว่าหากสามารถอบรมให้กลุ่มผู้เช่ามีความสามารถเชิงบริหารขึ้น พวกเขาก็จะบริหารการตลาดสินค้าคงคลัง การเงิน การบริการได้ดีขึ้น พวกเขาจะมองเห็นคุณค่าที่ยังขาดอยู่ในตัวพนักงานของพวกเขาที่จะสามารถเพิ่มผลผลิตให้แก่ธุรกิจได้ พวกเขาจะได้อบรมให้พนักงานมีคุณค่านั้น ธุรกิจของเขาก็จะมีกำไร เมื่อมีกำไร พวกเขาจะยินดีในการจ่ายค่าเช่าตรงเวลามากขึ้น และเมื่อเห็นว่าศูนย์การค้าที่นี่เป็นอนาคตของพวกเขา พวกเขาก็ไม่คิดที่จะทำผิดระเบียบที่ศูนย์การค้าวางไว้ ทุกฝ่ายได้ประโยชน์
 
 
หลังจากดำเนินการอบรมกลุ่มผู้เช่าตามที่วางแผนไปได้หนึ่งปีครึ่ง ศูนย์การค้ามีรายได้มากกว่าเดิม 20% ในขณะที่การแลกเปลี่ยนความคิดระหว่างกันเต็มไปด้วยพลังสร้างสรรค์ที่เป็นบวก !
 
ไม่ว่าคุณจะเป็นประธานบริษัท หรือพนักงานในระดับใด หรือแม้กระทั่งการเป็นพ่อบ้าน แม่บ้านที่บริหารครอบครัว COVEY เชื่อว่า การเป็นคน PROACTIVE , มีจุดมุ่งหมายในใจที่ชัดเจน และลงมือปฏิบัติต่อต้นเหตุของปัญหาอย่างมีการจัดลำดับที่ถูกต้อง ผลสำเร็จก็คงจะเหมือนกันกับศูนย์การค้านี้ ประสิทธิผลจะเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เหตุการณ์วิกฤตและปัญหาเฉพาะหน้าจะลดน้อยลงจนควบคุมได้ เพราะคุณได้คำนึงถึงมันล่วงหน้าพร้อมกับจัดการกับรากเหง้าของปัญหาจนสามารถป้องกันไม่ให้เกิด หรือหาหนทางแก้ไขไว้ก่อนนั่นเอง ! ทุกอย่างจึง UNDER CONTROL ไปหมด ความร้อนรนจึงไม่มี ! และหากเราทำให้ได้ทั้งด้านการงานและด้านครอบครัว นี่แหละคือหนทางสู่สวรรค์ที่เราเรียกหา !!
 
 
เราได้รู้จักอุปนิสัยที่ 3- ทำสิ่งที่สำคัญก่อนกันแล้ว ตอนหน้า STEPHEN R . COVEY จะพาเราไปรู้จักอุปนิสัยที่ 4 ที่จะทำให้เราทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีขึ้น น่าสนใจมากครับ ….SEE YOU !