30 วิธีเอาชนะโชคชะตา |
The Luckiest Man in the World |
โดย...บัณฑิต อึ้งรังษี
|
![]() |
Rule 14 -- เพิ่มโอกาส โดยการไปเจอคน - - |
ถ้าคุณเป็นคนขี้อายแต่อยาก โชคดี อาจต้องเปลี่ยนนิสัย คนที่รู้จักคนน้อย หรือรู้จักคนที่ไม่ได้อยู่ใน ระดับ ที่เราต้องการไปถึง อาจจะโชคดีน้อยหน่อย |
![]() |
ถ้าในที่ทำงานหรือที่เรียน เราเป็นประเภท Wallflower คือไม่มีใครสังเกตว่ามาทำงานหรือเรียนหรือไม่ ทำตัวเป็น nobody (เหมือนเด็กชายบัณฑิต อึ้งรังษี ตอนเรียนโรงเรียน อัสสัมชัญ ) เวลามีโอกาสผ่านเข้ามาถึงถ้าคนในตำแหน่งที่มีอำนาจไม่เคยรู้จัก หรือไม่เคยเห็นหน้าเราเลย เขาไม่สามารถจับเราชนกับโอกาสนั้นได้ เขาต้องคิดถึงคนที่โดดเด่นในบางอย่าง ซึ่งบางครั้ง ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องความเก่งเสมอไป อาจเป็นความมีมนุษยสัมพันธ์ดี หรือความเป็นผู้นำหรือผลงาน |
ความทะเยอทะยานและความรักดนตรีทำให้ผมต้องเอาชนะความกลัวและความขึ้อายเป็นอย่างมาก เพราะตอนอยู่โรงเรียนมัธยมแค่ให้ยืนพูดหน้าชั้นก็ขาสั่นไปหมดแล้วนับประสาอะไรกับการที่จะไปยืนหน้าคนเกือบร้อย บอกเขาว่าต้องทำอะไรแล้วเป็นภาษาอังกฤษอีกต่างหาก มีเหตุการณ์สองครั้งในชีวิต ที่การกล้าไปเจอคนแบบ face to face ทำให้ผมได้โอกาสเปลี่ยนแปลงชีวิต |
ครั้งแรก ตอนที่อยากจะเข้าไปเรียนวิชาการควบคุมวงออร์เคสตร้า ( Conducting ) ในระดับปริญญาโท ได้ข่าวมาว่า ในอเมริกามีอาจารย์ที่ดังที่สุด คือ Mr.Gustav Meier สอนอยู่ที่ University of Michigan จึงตั้งเป้าไว้อย่างเดียวว่าจะได้ไปเรียนกับท่าน แต่ส่งใบสมัครไปเรียบร้อย ไม่ได้รับคำตอบเสียที โทร.ไปเท่าไรก็ไม่มีคนรับ ในขณะเดียวกันเวลาผมก็เริ่มจะหมดลง ผมจึงตัดสินใจบินไปพบกับท่านที่มิชิแกนเลย ปรากฏว่าพอเคาะประตูท่านก็เป็นคนมาเปิดประตูเอง ท่านบอกว่าผมอยู่ในหกคนสุดท้าย จากผู้สมัครทั้งหมดที่ส่งวิดีโอเทปมากว่า 200 คน แต่จะรับแค่ 2 คน ! | ![]() |
ตอนนั้นอยู่ในระหว่างตัดสินใจ แต่เมื่อท่านเห็นความ พยายามที่ผมไปพบท่านทำให้ผม แตกต่าง ไปจากผู้สมัครรายอื่นในวันนั้นท่านตัดสินใจรับผมเป็นหนึ่งในสองนักศึกษาวาทยากรที่ได้เรียนที่มหาวิทยาลัยอันมีเกียรติ เป็นเหตุการณ์ที่เปลี่ยน แปลงชีวิตผมอย่างพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ เพราะถ้าวันนั้นไม่ได้เข้ามหาวิทยาลัยนั้นคงเตะฝุ่น เพราะความ ไม่ฉลาด ของตนเองที่สมัครเรียนปริญญาโทไว้แค่มหาวิทยาลัยเดียว ! |
อีกครั้งหนึ่ง คือตอนที่จะข้ามระดับจากการเป็นคอนดักเตอร์ฝึกหัด ( Apprentice Conductor )ไปเป็นระดับโปรหรือมืออาชีพจริงๆ |
![]() |
ซึ่งเป็นก้าวกระโดดที่สำคัญของชีวิตผมมากคอนดักเตอร์บางคน ทั้งชีวิตไม่เคยข้ามเป็นระดับโปร ตอนนั้นผมมีตำแหน่งเป็นวาทยกรฝึกหัดอยู่ที่เมืองพอร์ตแลนด์ รัฐโอเรกอน ในประเทศสหรัฐอเมริกา ส่งใบสมัครไปหลายที่ก็ไม่ได้รับคำตอบเรียกไปสัมภาษณ์ มีอยู่ที่หนึ่งที่สมัครไป เป็นงานใหญ่ที่สุดในจำนวนที่สมัครไปทั้งหมด คือตำแหน่ง Associate Conductor ( วาทยากรร่วม ) ของ Utah Symphony |
ซึ่งเป็นวงท็อปเท็นของอเมริกา วาทยากรประจำของวงนั้น ( Music Director ) ซึ่งมีอำนาจการตัดใจในการการเลือกวาทยากรร่วม มีชื่อว่า Keith Lockhart เป็นเรื่องเหมาะเจาะที่ผมได้เห็นโฆษณาว่า จะมีวาทยากรท่านนั้นจะมาแสดงในเมืองพอร์ตแลนด์ที่ผมอาศัยอยู่ในตอนนั้น ผมรีบจองตั๋วไปดูทันทีและพยายามทุกวิถีทางที่จะฝ่าด่านยามเข้าไปพบตัวจริงเขาให้ได้ |
ในที่สุดก็ได้เจอ Mr.Lockhart เมื่อได้เห็นหน้าและพูดคุยทำให้ resume ของผมไม่ได้เป็นแค่กระดาษแผ่นเดียวสำหรับเขา ไม่กี่วันต่อมาผมได้รับคำเชิญให้ไปสอบแข่งขันกำกับวง Utah Symphony และสอบสัมภาษณ์ จนในที่ สุดเมื่ออายุได้ 28 ปี ผมได้รับตำแหน่ง Associate Conductor ของ Utah Symphony
|
![]() |
ซึ่งนับได้ว่าเป็นวาทยากรที่อายุน้อยที่สุดในอเมริกาที่ได้รับตำแหน่งในระดับนี้ แน่นอน เพื่อนๆวาทยากรที่ไม่ได้เห็นว่าผมทำอะไรอยู่เบื้องหลังก็บอกว่า บัณฑิตนี่มันโชคดีมากเลย |
อืมม...เข้าทำนอง "กระบวนการที่ดีที่สุดเท่านั้น จึงให้ผลลัพท์ที่ดีที่สุด" ...TOYOTA WAY! |
พิชัย
อรุณพัลลภ |
Department
of Quality Management |
![]() |
|