30 วิธีเอาชนะโชคชะตา
 
The Luckiest Man in the World
โดย...บัณฑิต   อึ้งรังษี
 
 
Rule  11    -- เพิ่มโอกาส โดยลองสิ่งแปลกใหม่ี้    - -
 
ถ้าครึ่งหนึ่งขององค์ประกอบของความโชคดีอยู่ที่โอกาส ก็น่าคิดว่า โอกาสนั้น จะมาถึงเราได้อย่างไร จะทำอย่างไรที่จะเปิดให้ โอกาสนั้นมาถึงเราได้มากครั้งที่สุด  สิ่งหนึ่งที่ทำได้ คือ ลองสิ่งใหม่ๆ ถ้าเราทำสิ่งจำเจอยู่ได้ทุกวัน  เดินทางเดิมๆ คิดอย่างเดิมๆ มีเพื่อนเดิมๆ รู้จักคนจำนวนเท่าเดิม ไม่เคยอ่านหนังสือดีๆ ดูแต่รายการทีวีไร้สาระอย่างเดิม ไม่ได้พัฒนาสมอง ก็จะได้ “ผล”แบบเดิมๆ

 

 
เพราะฉะนั้น ถ้าอยากได้ผลที่แตกต่างไปในทางดี ก็ต้องลองทำสิ่งใหม่ๆดีๆที่เราไม่เคยทำ หรือที่ไม่มีคนอื่นเคยทำ
การเจอคนใหม่ๆ ที่ดีๆ ทำให้มีโอกาสที่จะ ประสบสิ่งดีๆมากขึ้น (อย่าลืมว่า โชคของคุณส่วนใหญ่จะมาจากผู้อื่น) บางทีเป็นการได้เพื่อนใหม่  หรืออาจได้งานที่ดี (เคยเกิดกับผมเอง) หรือบางอย่างอาจมีผลเปลี่ยนชีวิตไปเลย
ยิ่งคุณเป็นคนที่รู้จักคนมากเท่าไหร่  โอกาสที่คนจะนำไปหรือให้ไอเดียสิ่งดีๆ ก็มีเยอะมากยิ่งขึ้น
อย่าลืม แค่ไอเดียดีๆไอเดียเดียว สามารถทำให้เราเป็นมหาเศรษฐีได้
ถ้าคุณทำแต่สิ่งเดิมๆ คุณก็จะได้แต่สิ่งเดิมๆ โอกาสหรือโชคดีก็จะจำกัด
 
ในปี ค.ศ. 1997 ตอนผมอายุ 27 ปี นักเรียนคอนดักเตอร์ชาวไทยที่ทะเยอทะยานแต่ขี้อาย คนนี้ ได้เอาชนะความขี้อาย ไปพูดสนทนากับคอนดักเตอร์ชาวอเมริกันชื่อดังระหว่างที่เขาพักสูบบุหรี่ ไม่มีคนคุยด้วย (ยอมทนกลิ่นบุหรี่) ระหว่างการสนทนา คอนดักเตอร์คนนี้ ได้พูดออกมาว่า กำลังจะมีการจัดเวิร์คชอปที่คาร์เนกี้ฮอลล์  ในมหานครนิวยอร์ก
โดยรวบรวมวาทยกรรุ่นใหม่ของโลกทั้งหมด 9 คน เท่านั้น โดยแบ่งเป็นจากอเมริกา 3 คน จากยุโรป 3 คน และทั่วๆไปอีก 3 คน
(งานนั้นไม่มีการโฆษณา  เฉพาะคนในวงในถึงจะรู้  ตามทางปกติ  ระดับผมตอนนั้นไม่มีทางรู้) ผมรู้ว่า  ถ้าผมได้รับเลือกครั้งนี้จะทำให้ผมมีชื่อเสียงมากขึ้นในอเมริกา และเป็นที่ยอมรับมากขึ้น (งานนี้ต้องชี้แจงว่า  แตกต่างจากการแข่งขั้นในปี ค.ศ.2002 ที่ผมไปแข่งชนะมา)
ปัญหา คือ ผมไม่รู้จักใครเลยในกลุ่มผู้จัดนั้น ไม่รู้ว่าทำอย่างไรจึงจะได้รับเลือก
อย่างไรก็ตาม  ผมเริ่มก้าวทีละก้าว เริ่มถามคนโน้นถามคนนี้ จนได้เรื่อง พยายามใช้ทุกสิ่งที่ตนมีอยู่  เครือข่ายที่พอมีบ้างในที่สุดก็ได้รับเลือกไปคอนดักต์แสดงฝีมือที่คาร์เนกีฮอลล์เป็นครั้งแรก
เพื่อนๆวาทยกรด้วยกัน เมื่อได้ยินผมได้รับเลือกก็พุดว่า "บัณฑิตนี่เขา "โชคดี"จริงๆ" ! ผมได้แต่ยิ้ม เพราะรู้ว่ามันไม่ใช่ "โชค"
ถ้าผมไม่ทำตัวแบบใหม่ๆ โดยการไปพูดคุยซักถามกับคอนดักเตอร์ชื่อดังคนนั้น คงไม"่โชคดี" ขนาดนี้
 
(นักวิจารณ์พูดเปรียบเทียบคอนดักเตอร์หลายคนที่คาร์เนกี้ฮอลล์) "สำหรับเสน่ห์บนแท่น ผมประทับใจมากกว่ากับงานของบัณฑิต อึ้งรังษี จากประเทศไทย...ถ้าสุดยอดของพรสวรรค์ที่สอนกันไม่ได้ของคอนดักเตอร์คือความสารถในการกระตุ้นวงออร์เคสตร้าโดยภาษากาย การสบตา และการปรากฎกายที่น่าเกรงขาม นักดนตรีคนนี้มีอนาคตที่ยิ่งใหญ่"
จาก "New York Magazine" พ.ศ. 2540

 

   
พิชัย  อรุณพัลลภ
Department of Quality Management