30 วิธีเอาชนะโชคชะตา
 
The Luckiest Man in the World
โดย...บัณฑิต   อึ้งรังษี
 
 
Rule  04     -- จง  “เคารพ” กฎแห่งเหตุและผล (กฎพ่อแห่งโชคลาภ) -- 
 
Shallow men believe in luck; wise and strong men in cause and effect.
--Ralph Waldo Emerson--
คนตื้นๆเชื่อในเรื่องโชคลาง คนฉลาดและเข้มแข็งเชื่อในเรื่องเหตุและผล
--ราล์ฟ  วอลโด อีเมอร์สัน--
(นักปราชญ์คนสำคัญของอเมริกา)
คนที่มีสิ่งดีๆ เกิดขึ้นในชีวิตมากๆ หรือที่เราเรียกกันว่า “โชคดี” เป็นคนที่เข้าใจ เคารพ และปฎิบัติตามความจริงของโลกที่ว่า “ทุกอย่างเกิดขึ้นโดยมีเหตุมีผล  สำหรับผลทุกอย่างจะมีสาเหตุที่แน่นอน”
สรุปแล้ว ผล และเหตุ มีความเกี่ยวเนื่องกันเสมอ  มีอย่างหนึ่งโดยไม่มีอีกอย่างหนึ่งไม่ได้
ถ้าผลของคุณตอนนี้ไม่ดี  (หรือคนทั่วไปเรียกว่า “โชค” ไม่ดี )  ก็เป็นเพราะเหตุไม่ดี ถ้าคุณเปลี่ยนเหตุให้ดีขึ้น  ผลของคุณก็จะดีขึ้น ( = โชคดี)

 

กฎนี้ภาษาอังกฤษเรียกว่า The Law of Cause and Effect อริสโตเติล นักปราชญ์เอกของโลกในสมัยกว่า 2,000 ปีที่แล้ว  เป็นผู้ริเริ่มสั่งสอนกฎนี้   ในช่วงยุคที่คนกราบไหว้  บูชาภูเขา หิน  ต้นไม้ ดินฟ้าอากาศ  และสิ่งไร้สาระอื่นๆ ท่านได้กล่าวว่า
นี้เป็นรากฐานของความคิดและปรัชญาตะวันตกมาจนถึงทุกวันนี้
ทำไมกฎนี้จึงสำคัญนักหนา  ถึงขนาดเป็น “กฎพ่อ” ของโชคลาภ
เพราะความเข้าใจในกฎสำคัญนี้  จะเปลี่ยนความคิดของคุณเกี่ยวกับเรื่องโชคลาภอย่างสิ้นเชิง เพราะโชคไม่ได้เป็นสิ่งที่เกิดแบบสุ่มสี่สุ่มห้า อะไรที่เกิดขึ้นกับเรา  จะเป็นผลบางอย่างจากการกระทำหรือความคิดของเรา  ไม่ว่าเราจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม  เช่น  การที่เรา “โชคร้าย” ในตอนนี้  อาจเกิดจากการที่เราไปสร้างศัตรูไว้โดยไม่รู้ตัว  หรือการที่ไม่ได้เตรียมพร้อมอย่างดี สำหรับงานสำคัญ ฯลฯ
[ข้อปฎิบัติ]
ถ้าอยากได้ผล (หรือโชค) ที่ต่างไป ก็ต้องเปลี่ยนเหตุ  หรือการกระทำและความคิดของเราเอง  บางทีสาเหตุนั้นอาจไม่ชัดเจน เราอาจจะไม่ทราบหรือไม่เข้าใจในตอนนี้ แต่แน่นอนมันต้องมีสาเหตุ  หน้าที่ของคุณคือ หาสาเหตุนั้น
คนที่บ่นว่าตนเอง “โชคร้าย” แต่ก็ยังคงทำสิ่งเดิมๆ  โดยหวังว่าผลมันจะเปลี่ยนไป เขากำลังฝ่าฝืนกฎที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้
 
( THE  LAWS  OF  SUCCESS ตอนที่ 3 )
หากเราล้มเหลว  ไม่ว่าเป็นการชั่วคราวหรือถาวร  สาเหตุอาจมาจากข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายสาเหตุประกอบกันดังนี้ :
1-การสร้าง “เป้าหมายที่สำคัญ” ยังไม่แน่นอน  ยังไม่ชัดเจนพอเพียง
 
2-การสร้าง “อภิจิต” ของเรายังไม่สมบูรณ์
 
3-สมาชิกบางคนในกลุ่มมิได้ร่วมอย่างเต็มหัวใจด้วยศรัทธา  มิได้ร่วมด้วยความซื่อสัตย์  มิได้ร่วมด้วยความจริงใจ ตามที่จะต้องมีให้ครบในฐานะที่เป็นเงื่อนไขที่สำคัญที่สุดของ “อภิจิต”
ย้ำ—หากสมาชิกมาร่วมอย่างจอมปลอม  มิได้ร่วมด้วยศรัทธาต่อเป้าหมายร่วมที่ทุกคนจะได้ประโยชน์  มิได้ร่วมอย่างซื่อสัตย์และจริงใจทั้งต่อหน้าและลับหลัง   ....
“เป้าหมาย” ไม่มีทางสำเร็จ !!
 
สิ่งใดก็ตามที่เราต้องการ  เราต้องทำให้มัน “แรงกล้า” มากพอ และรักษาความแรงกล้าไว้เสมอ !
ในโลกนี้  ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีราคาของมัน  แปลว่าไม่มีอะไรที่จะได้มาฟรีๆโดยไม่ต้องเหนื่อยลงแรงในการเอามา 
 
และความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ใดๆก็ไม่มีอะไรเทียบได้กับสิ่งที่ได้มาจาก “อภิจิต”—ความร่วมใจ—พลังเสริม (SYNERGY) —(การปรับรังสีจิตใจ—ความยึดมั่นในข้อผูกพันร่วม—ความสามัคคี) เรากำลังใช้กุศโลบายกับพลังที่ได้จากธรรมชาติอันทรงเกียรติ  เราจึงต้องเคารพในเกียรติอันนี้ด้วยการไม่ตบตา  ไม่หลอกลวงว่า—เราดูเหมือนเป็นสมาชิกกลุ่ม “อภิจิต”เดียวกัน—แต่ในใจไม่ใช่!
 
 
พิชัย  อรุณพัลลภ
Department of Quality Management