SAMSUNG ผงาดสู่ตลาดโลก
SUNG-HONG KIM … เขียน
 
มิรา คิม และ สุริศา ประชาบาล … แปล
บทที่ 5:กิจการที่ได้รับการยกย่องจากทุกคน
 
ก้าวเดินไปในทิศทางเดียวกัน
“หากความสำเร็จของ SAMSUNG คือ หนึ่งในแบรนด์ที่ดีที่สุดของโลกในช่วงทศวรรษ 1990” คุณคิดว่าอะไรคือจุดแข็งของเรา ประธาน LEE ถามนายยังแคฮยองซึ่งเป็นประธานบริหารสำนักงานสาขาประเทศเยอรมน
ี“การฝึกอบรมผู้เชี่ยวชาญ การบริหารที่มีประสิทธิภาพ การพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง และอื่นๆอีกมากมายครับ” นายยังตอบแบบแทงกั๊ก
ประธาน LEE ส่ายหน้าอย่างไม่ถูกใจเพราะตอบไม่ตรงกับธงในใจ (แม้จะมีส่วนถูกต้องก็ตาม) พร้อมกล่าวว่า :
    “จุดแข็งที่สุดของเราคือ การรวมพลังความร่วมมือของเราต่างหาก เมื่อผมสั่งให้มีการประชุม ผมคาดหวังให้ทุกคนที่ร่วมประชุมได้ถกเถียงกันด้วยวัตถุประสงค์ที่จะให้ผลิตภัณฑ์ออกมาดีที่สุดต่างหาก ผมไม่ต้องการให้มีผู้นำเพียงคนเดียวที่พูด กำหนดความคิดคนอื่นๆ โดยไม่เปิดให้คนอื่นมีส่วนคิดด้วย …     …และด้วยความคิดที่หลากหลายนี้แหละที่ผมจะมั่นใจได้ว่าแบรนด์ของเราจะสามารถรักษาความเป็นผู้นำได้ตลอดไป จนยากที่จะมีใครมาแข่ง เพราะภายในเรามีการลับเลื่อยอยู่เสมอนั่นเอง เหมือนกับเรามี – ความคิดของคู่แข่ง – มาให้เรารับรู้ล่วงหน้าก่อนผลิต แทนที่จะไปรู้เอาตอนผลิตเสร็จแล้วเพิ่งมาพบว่า – คู่แข่งก็คิดเหมือนกับความคิดที่ถูกเก็บไว้ในสมองของคนของเราเองแต่แรก ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายมากๆ”
ศาสดาจารย์โจยองโฮจากมหาวิทยาลัยเอเชีย (Asia University) กล่าวว่า :
“การปฏิรูปภายในของ SAMSUNG ในนโยบายบริหารแนวใหม่เริ่มมาจากการที่ประธาน LEE สามารถสร้าง - ความตระหนักในเรื่องคุณภาพ (Quality Awareness) ได้สำเร็จก่อนใครอื่นๆ และทำได้ต่อเนื่องที่สุดในเกาหลี”
สาเหตุหนึ่งของความต่อเนื่องนั้นมาจากการที่ทุกคนไม่ใช้ “อัตตา” ในการทำงาน แต่ใช้ “พลังร่วม” ที่ประธาน LEE ย้ำบ่อยๆในการทำงาน !
 
เมื่อปี 2002 นายลีแจยอง บุตรชายคนโตของประธาน LEE ได้ข่าวว่า 6-Sigma และ TOYOTA WAY ไม่ได้รับความสนใจจากผู้บริหารระดับสูงใน SAMSUNG เขาจึงอาสามาผลักดันทั้งสองเรื่องนี้ด้วยตนเอง พร้อมทั้งเชิญผู้เชี่ยวชาญจาก GE มาร่วมผลักดันเพื่อให้เกิดประสิทธิผลจริง และเหตุที่นายลีแจยอง จริงจังกับทั้งสองเรื่องนี้ก็เพราะเชื่อมั่นว่ามันจะนำคุณภาพมาสู่ SAMSUNG โดยผ่าน “พลังความร่วมมืออย่างเต็มใจจากทุกคนทุกระดับ” นั่นเอง !
ผู้แต่งได้สรุปความสำเร็จของ SAMSUNG ว่ามาจากทุกๆปัจจัยต่างๆดังนี้ :
1-การบริหารที่แข็งกร้าวที่มุ่งเน้นประสิทธิภาพอย่างไม่ประนีประนอม
2-ศิลปะในการจัดซื้อ การให้ความสำคัญกับคุณภาพจนต้องมีการร่วมพัฒนาในการจัดการของ Suppliers การให้ความช่วยเหลือในด้านเทคโนโลยี เพื่อสร้างความเชื่อมั่นซึ่งกันและกันจนทำให้ลดต้นทุนร่วมกันได้
3-การสร้างวัฒนธรรมการบันทึก โดยเริ่มจากการบันทึกคำสั่งของประธาน LEE จนต่อเนื่องไปถึงการอบรมอื่นๆทุกเรื่อง การสร้างศูนย์การเรียนรู้ในที่ต่างๆ
   
4-การบริหารธุรกิจเชิงกลยุทธ การสร้างศักยภาพในการฉวยโอกาสได้เป็นคนแรกทำให้เป็นผู้นำตลาดซึ่งทำให้สร้างราคาที่สูงได้
5-การฝึกอบรมอย่างหนักแก่พนักงานและ Suppliers เพราะความเชื่อที่ว่าคุณภาพสินค้าย่อมขึ้นกับคุณภาพของบุคลากรที่ผลิตมัน
6-สะพานหิน หรือสะพานไม้ – แม้จะเป็นสะพานหิน ก่อนจะข้ามก็ยังต้องตรวจสอบ ต้องไม่ประมาท ต้องมีวินัย
   
7-คุณสมบัติของผู้จัดการที่พึงประสงค์ – ผู้จัดการทุกระดับโดยเฉพาะผู้บริหารจะต้องมีส่วนผสมของวิสัยทัศน์และศีลธรรม คุณงามความดี การใช้ข้อมูลมากที่สุดในการตัดสินใจ การมองเห็นปัญหาอย่างทะลุปรุโปร่งมากกว่าคนทำงานกินเงินเดือนทั่วๆไป ความสามารถจัดการกับความรู้สึกของทุกคนโดยไม่เสียประสิทธิภาพ
8-ความภาคภูมิใจ – ถ่อมตัวแต่ไม่ลดเกียรติ
9-การคำนึงเรื่องคุณภาพมาก่อนปริมาณ
   
10-การมองทุกๆอย่างด้วยมิติที่หลากหลายเพื่อความเข้าใจอย่างลึกซึ้งทั้งในเชิงเทคนิด และเชิงจิตวิทยา ที่จะส่งผลถึง “ความร่วมมือ (Synergy)”
11-บริษัทชั้นหนึ่ง – “ดีที่สุด เร็วที่สุด และ ถูกที่สุด” คือปัจจัยของความอยู่รอดอย่างยั่งยืน ในโลกของการแข่งขันที่นับวันมีแต่จะเข้มข้นมากขึ้นๆ
12-การเป็นมืออาชีพ – จริงหรือที่คนทำงานมา 20 ปีประกาศตัวว่ารู้ทุกอย่างแล้ว ตั้งแต่กลไก เทคโนโลยีต่างๆ แล้วความผันผวนของราคาวัสดุหละ ?  การทำงานเป็นทีมด้วยมิติที่หลากหลาย ความสามารถในการรับมือกับแรงกดดันที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างไม่จำกัด ความสนใจความเป็นไปในสังคมโลกเพื่อจะได้ตามกระแสวิถีชีวิตของคนทั่วโลก การใฝ่รู้แม้สิ่งที่สัมผัสไม่ได้ด้วยมือ แต่ด้วยใจ ทั้งหมดนี้คือ “ความเป็นมืออาชีพของ SAMSUNG” ที่พนักงานทุกคนต้องไปให้ถึงให้ได้ !
 
..................................................................................................................
… จบบริบูรณ์ …

 

ความคล้ายของ TOYOTA  และ  SAMSUNG
TOYOTA
SAMSUNG
การมุ่งความยั่งยืน
ข้อที่ 4 , 7 , 11 , 12
ขบวนการที่ถูกต้องจึงจะให้ผลผลิตที่ดี
ข้อที่ 1 , 2 , 6 , 9
การพัฒนาพนักงานและ Suppliers
ข้อที่ 2 , 5
การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้
ข้อที่ 3 , 10 , 12

 

สัจธรรมของผู้สำเร็จ …
“ไม่ว่าเป็นใคร ล้วนต้องทำหลักการเดียวกันทั้งสิ้น …
ก็ย่อมบรรลุเป้าแห่งความสำเร็จได้ !”
 
สัจธรรมของผู้ล้มเหลว …
“ไม่ว่าเป็นใคร ล้วนไม่ต้องทำตามหลักการข้างบน …
ก็ย่อมบรรลุเป้าแห่งความล้มเหลวได้โดยง่าย !”

 

พิชัย  อรุณพัลลภ
Department of Quality Management