ตอนที่
8 |
||
อุปนิสัยที่ 2 |
||
เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ
(3) |
||
5- ศูนย์กลางชีวิตอยู่ที่การเป็นเจ้าของ | ||
![]() |
คนเป็นจำนวนมากได้รับแรงผลักดันจากความต้องการเป็นเจ้าของ | |
ซึ่งไม่จำกัดเฉพาะสิ่งของที่จับต้องได้เช่นเสื้อผ้า บ้าน รถยนต์ เรือ เพชรพลอย แต่ยังรวมถึงสิ่งที่จับต้องไม่ได้เช่น ชื่อเสียง เกียรติยศ หรือฐานะทางสังคม พวกเราบางคนคงทราบดีอยู่แล้วว่าสิ่งเหล่านี้มันเลื่อนลอยแค่ไหน มันอาจหายไปเมื่อไหร่ก็ได้ เพราะมันขึ้นกับปัจจัยอื่นๆมากมาย | ||
สำหรับคนกลุ่มนี้ ความมั่นคงของเขาขึ้นอยู่กับชื่อเสียงหรือสิ่งที่เขามี ชีวิตของเขาจะรู้สึกถูกคุกคามอยู่ตลอดเวลา เพราะสิ่งที่เขาเป็นเจ้าของนั้นอาจถูกขโมยไป หรือมีราคาลดลง และเมื่ออยู่ต่อหน้าสาธารณะ เขาอดไม่ได้ที่จะเทียบเคียง ความมี ความเป็น กับคนรอบข้าง นั่นก็เท่ากับการที่เขา สูญเสียความมั่นคงในจิตใจ ไปแล้วนั่นเอง ! | ||
6- ศูนย์กลางชีวิตอยู่ที่ความยินดีและความพอใจ | ||
คนกลุ่มนี้จะให้ความสำคัญของชีวิตอยู่ที่ความสนุกสนานเพลิดเพลิน นิยมมองหาความสุขระยะสั้น ความสุขที่หาได้ง่าย บ่อยครั้งที่เขาจะเบื่อความสุขที่เคยได้และเรียกหาสิ่งที่นำความสุขที่มากขึ้น ตื่นเต้นขึ้นมากกว่าเดิมเพื่อให้ชีวิตเขามี ความหมาย | ||
![]() |
วันหยุดพักผ่อนที่ยาวนานเกินไป การดูภาพยนต์ที่บ่อยเกินไป การเล่น VDO GAMES ที่มากเกินไป และการใช้เวลาว่างอย่างไร้ระเบียบวินัยมากเกินไปจะค่อยๆทำให้ชีวิตของคนผู้นั้นหมดค่าไป แล้วความรู้สึกมั่นคงในจิตใจ เครื่องนำทาง ปัญญา และอำนาจจะไปอยู่ที่ไหน คำตอบคือลำดับท้ายสุด ของวงจรวุฒิภาวะ ! มัลคอล์ม มักเกอริดจ์เขียนไว้ในหนังสือชื่อ A TWENTIETH-CENTURY TESTIMONY ว่า |
บางครั้งเมื่อผมมองไปที่อดีตของผม สิ่งที่ทำให้ผมประหลาดใจที่สุดก็คือสิ่งที่ผมเคยคิดว่ายิ่งใหญ่และสำคัญที่สุดในขณะนั้น มาถึงวันนี้ สิ่งเหล่านั้นดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่เหลวไหลที่สุดและไร้สาระที่สุด ยกตัวอย่างเช่น | |
นิยามความสำเร็จในสมัยนั้นของผมคือการที่มีชื่อเสียงและได้รับการชื่น ชมมากที่สุด ความสนุกสนาน การมีเงินใช้อย่างฟุ่มเฟือย การออกไปจีบผู้หญิง ทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งเพ้อฝันสิ้นดี ! | |
7- ศูนย์กลางชีวิตอยู่ที่มิตรหรือศัตรู | ||
คนที่มีศูนย์กลางชีวิตแบบนี้ส่วนใหญ่มักเป็นพวกที่ยัง มีความเป็นเด็ก สูง เขาชอบคล้อยตามเพื่อนฝูง อยู่คนเดียวไม่เป็น การได้รับการยอมรับจากเพื่อนเป็นสิ่งสำคัญที่สุด | ||
![]() |
ความเห็นของเพื่อนที่มีต่อเขามักจะมีอิทธิพลต่อเขาเสมอ | |
คนที่มีศูนย์กลางชีวิตอยู่ที่ศัตรูมักจะเป็นคนกลุ่มเดียวกันกับคนที่มีศูนย์กลางชีวิตอยู่ที่เพื่อน เพราะเมื่อเขาสนใจในความคิดเห็นของผู้อื่นเสียแล้ว ความคิดเห็นของใครที่ถูกใจเขา เขาก็จะนับเป็น เพื่อน ส่วนความคิดที่ขัดแย้งต่อเขามากเกินไป หรือขัดแย้งต่อ เพื่อน ของเขา ก็พร้อมที่จะกลายเป็น ศัตรู และเมื่อเขาหมกมุ่นอยู่กับการแยกแยะความ เป็น เพื่อน หรือ ศัตรูอยู่นั้น เขาก็จะตกเป็นเหยื่อของทัศนคติเชิงลบ เช่น เข้าข้างเพื่อนแม้ว่าในขณะที่ เพื่อนกำลังทำผิด หรือทำไม่ดีต่อ ศัตรูแม้ว่าในขณะที่ศัตรู ไม่ได้ทำผิด เป็นต้น | ||
เพื่อนของผมคนหนึ่งเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยหนึ่ง เขาคลุ้มคลั่งไปกับความไม่เอาไหนของเสมียนคนหนึ่งที่ เขาไม่ชอบหน้า เขาคิดถึงเรื่องนี้มากเสียจนคิดจะลาออกจากมหาวิทยาลัยนี้ไปอยู่ที่อื่น |
ผมถามเขาว่า คุณจะสอนที่นี่ต่อไปหรือไม่หากเสมียนคนนั้นไม่อยู่ที่นี่ ? | ![]() |
|
เขาตอบว่า ผมจะสอนต่อไป แต่ถ้ามีเขา ต้องไม่มีผม หรือมีผม ต้องไม่มีเขา ! | ||
ผมถามเขาต่อว่า ทำไมคุณจึงยอมให้เสมียนคนนั้นมาเป็นศูนย์กลางชีวิตของคุณมากขนาดนั้น | ||
เขารู้สึกอึ้งกับคำถามของผม เขาปฏิเสธไม่ยอมรับในตอนต้น แต่เมื่อผมอธิบายว่า สิ่งที่เขาแสดงออกถึงความไม่พอใจต่อเสมียนในหลายโอกาส หลายสถานที่ ทำให้เขาดูแย่ในสายตาคนฟัง เขายอมให้คนไม่เอาไหนมาทำลายความน่าเชื่อถือ | ||
คุณภาพของชีวิต ความสัมพันธ์ที่เขามีต่อเพื่อน อาจารย์ในมหาวิทยาลัยได้อย่างไร ที่สำคัญที่สุด ตัวเขาเองกลับโทษเสมียนที่ทำให้เขาเป็นเช่นนี้ ตรงกันข้าม ตัวเขาเองต่างหากที่ต้องมีความรับผิดชอบที่เลือกใช้ทัศนคติเชิงลบโต้ตอบมากเกินควรจนเกือบจะทำลายอนาคตที่ดีของตนเองและครอบครัวไป ! | ||
คนที่มีศูนย์กลางชีวิตอยู่ที่มิตรหรือศัตรูเป็นคนที่ไม่มีความมั่นคงทางจิตใจ ความรู้สึกต่อคุณค่าของตนอยู่ในภาวะไม่มั่นคง เพราะต้องขึ้นกับอารมณ์และกรอบความคิดและพฤติกรรมของคนอื่น เครื่องนำทางขึ้นกับการคาดการณ์ว่าคนอื่นจะตอบสนองอย่างไร ปัญญาถูกจำกัดด้วยกรอบความคิดของสังคมเพื่อน หรือโดยความหวาดระแวงศัตรู คนพวกนี้ไม่มีอำนาจ มีคนอื่นเป็นผู้เชิดหุ่นเขาอยู่ ! | ||
คราวหน้าเราจะได้รู้จักกับอุปนิสัยที่ COVEY บอกว่าน่าสนใจที่สุดกันครับ |