SAMSUNG ผงาดสู่ตลาดโลก |
SUNG-HONG KIM
เขียน |
มิรา คิม และ สุริศา ประชาบาล
แปล |
บทที่ 3:การบริหารแนวใหม่สร้างตำนานการเป็นที่สุดของโลก |
มูลค่าตราสินค้า และ การตลาดด้านกีฬา |
ชัยชนะอันยิ่งใหญ่จากการได้เป็นผู้สนับสนุนกีฬาโอลิมปิค |
![]() |
ในปี 1999 SAMSUNG ELECTRONICS มีมูลค่าตราสินค้าอยู่ที่ 3,100 ล้านเหรียญสหรัฐและอยู่ในอันดับที่ 100 ของโลก แต่ถัดมาเพียง 4 ปี มูลค่าตราสินค้าเพิ่มอย่างก้าวกระโดดเป็น 10,800 ล้านเหรียญสหรัฐ และอยู่ในอันดับที่ 25 ของโลก ! |
สาเหตุของความสำเร็จนั้นหรือ ท่านประธาน LEE กล่าวว่า : |
การที่จะอยู่รอดในกระแสการแข่งขันของโลกได้นั้นขึ้นอยู่กับความพยายามในการเพิ่มภาพลักษณ์ของตราสินค้า |
![]() |
ภาพลักษณ์ของตราสินค้าของ SAMSUNG ก่อนปี 1996 อยู่ในระดับต่ำมาก ที่ว่าต่ำนั้นเป็นเพราะ คุณภาพต่ำ และขาด วิสัยทัศน์ในการเพิ่มภาพลักษณ์ แต่เมื่อท่านประธาน LEE ได้รับเลือกเป็นผู้อำนวยการ International Olympic Committee ในการจัดงานกีฬาโอลิมปิคที่ Atlanta ในปี 1996 ทำให้ท่านประธาน LEE ได้เห็นวิธีการของบริษัท 10 อันดับต้นๆของโลกในการแทรกตัวเข้ามาสนับสนุนการแข่งขันโดยได้สิทธิ์โฆษณาตลอดการแข่งขันด้วย |
ดังนั้น เมื่อโอกาสมาถึงในอีก 2 ปีถัดมา เมื่อมีการแข่งขันโอลิมปิคฤดูหนาวในปี 1998 ที่เมืองนากาโน่ SAMSUNG ก็ประสบความสำเร็จในการเบียด MOTOROLA ด้วยการคว้าการรับผิดชอบระบบสื่อสารไร้สายในงานไว้ทั้งหมด ! |
ผลของงานนี้ ทำให้ศักยภาพทางด้านเทคโนโลยีสื่อสารของ SAMSUNG เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาชาวโลก โดยเฉพาะชาวโลกตะวันตกที่นิยมเล่นกีฬาฤดูหนาว ทำให้โทรศัพท์ Anycall ขายได้ทั่วโลกถึง 7,500,000 เครื่อง โดย 2,5000,000 เครื่องเป็นยอดส่งออกไปทั่วโลก และหลังจากนั้นอีกเพียง 5 ปี ยอดส่งออกเติบโตเป็น 18 เท่าเมื่อทำยอดขายได้ถึง 43,800,000 เครื่อง ก้าวจากอันดับ 9 มาเป็นอันดับ 3 อย่างรวดเร็ว ! |
เพื่อยืนยันความจริงจังของการสร้างตราสินค้าของประธาน LEE เขาตั้งหน่วยงานเพื่อการนี้โดยเฉพาะ เรียกว่า สำนักงานการตลาดโลก ซึ่งมีหน้าที่ดูแลงานโฆษณาทั้งหมดของบริษัทในเครือเพื่อให้ใช้ Slogan เหมือนกันจนผู้บริโภคทั่วโลกจำได้ติดตรา ตรึงใจ ! |
บริษัท Interbrand บริษัทที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในการสำรวจอัตราการรู้จักตราสินค้า ให้เหตุผลที่ SAMSUNG ประสบความสำเร็จในการสร้างภาพลักษณ์ตราสินค้านี้ว่ามาจากการที่ผู้บริหารระดับสูงตระหนักถึงความสำคัญของตราสินค้าอย่างมากจนทำให้เกิดแรงผลักดันให้บรรลุเป้าหมายในที่สุด ! |
กรณีศึกษาของการสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพสำหรับอนาคต |
ปี 1978 ท่านประธาน LEE ในขณะที่มีตำแหน่งรองประธานของ เจอิลสิ่งทอ สั่งให้นายปักซองอิน โค้ชฝึกสอนทีมปิงปองของเจอิลสิ่งทอไปหาเด็กที่มีพรสวรรค์ด้านกีฬา และที่เมืองอิคซานเคา เขาก็ได้พบเด็กหญิงที่ชื่อว่า ยังยองจา นักเรียนชั้นมัธยม 2 ที่มีความสามารถด้านปิงปอง |
![]() |
ท่านประธาน LEE ได้สนับสนุนทุนการศึกษาพร้อมกับมอบไม้ปิงปองอย่างดีที่สุดแก่ ยังยองจาโดยที่มีปักซองอินเป็นโค้ชในการฝึกซ้อม อยู่ถึง 5 ปีจึงได้รับผลสำเร็จด้วยการได้เหรียญเงิน จากรายการ World Championship ที่โตเกียว และต่อมาอีก 5 ปี เธอก็ได้เหรียญทองโอลิมปิคในปี 1988 ที่จัดที่ประเทศเกาหลี |
เท่านั้นยังไม่พอ |
ในช่วงเวลาเดียวกันกับการเสาะหานักกีฬาปิงปอง ท่านประธาน LEE ยังรับเป็นนายกสมาคมมวยปล้ำแห่งประเทศเกาหลี และในปี 1988 เขายังจัดตั้งทีมขี่ม้าของตนเองขึ้นมาเพื่อส่งเข้าแข่งขันการขี่ม้าในกลุ่มประเทศที่มีทักษะระดับกลางๆถึงระดับล่าง จากนั้น เมื่อเห็นว่าทีมขี่ม้าของ SAMSUNG เริ่มมีทักษะสูงขึ้นแล้ว ท่านประธาน LEE ก็ริอ่านจัดรายการแข่งขันการขี่ม้าขึ้นในอังกฤษ เยอรมันนี ฝรั่งเศส ภายใต้ชื่อรายการว่า "SAMSUNG Nations Cup ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้คนในระดับชั้นสูงของสังคมเหล่านั้นได้รู้จัก SAMSUNG มากขึ้น จนยอมรับในคุณภาพของคนเกาหลีและสินค้าที่คนเกาหลีผลิต
นั่นก็คือ สินค้าภายใต้ตรา SAMSUNG นั่นเอง ! |
นับถือ นับถือ ท่านประธาน LEE |
ในวิสัยทัศน์ |
ในความอดทน ทุ่มเท |
ในการวางแผนยึดตลาดโลก
ด้วยคุณภาพ
ของ คน
ของ ผลิตภัณฑ์ !
|
พิชัย
อรุณพัลลภ |
Department
of Quality Management |
![]() |
|