วิกฤติเศรษฐกิจครั้งสำคัญในอดีต
 
Wall Street Crash of  1929 : The Great Depression (เริ่ม Oct29-1929 – ถึงจุดต่ำสุด Jul 1932 , ระยะเวลา 11 ไตรมาส)
ลำดับเหตุการณ์ของการเกิดวิกฤติ :
 
1-ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำติดต่อกันเป็นเวลานานหลายปี ชาวอเมริกันมองในแง่ดีมากต่ออนาคตของตนจนทำให้กล้าสร้างหนี้เพื่อการใช้จ่ายซื้อรถและเฟอร์นิเจอร์ที่มากเกินไปจนทำให้ผู้ประกอบการยึดความต้องการเทียมนี้ในการลงทุนโรงงานและเครื่องจักรด้วยการกู้หนี้ที่มีดอกเบี้ยต่ำเช่นกัน จนเกิดฟองสบู่ของตลาด
2-เมื่อผลิตสินค้าจำนวนมากตามหลัก Mass production  เพื่อให้ต้นทุนต่ำ แต่ขายไม่ออกนานๆเข้า เกิดการแข่งขันที่รุนแรงที่นำมาซึ่งการลดราคาอย่างรุนแรง จนเริ่มมีคนสู้ไม่ได้ต้องล้มละลาย ราคาสินค้าและค่าแรงต้องลดลงถึง 20-50% ในขณะที่หนี้สินมีแต่เพิ่ม (จากดอกเบี้ย) ธนาคารที่มีหนี้เสียมากๆก็ล้ม เริ่มจากจำนวนน้อยขยายวงลุกลามถึง 744 ธนาคารที่ต้องปิดกิจการภายใน 10 เดือนแรกของปี 1930 ในขณะที่ระหว่างปี 1930-1940 มีธนาคารที่มีปัญหาต้องปิดหรือควบรวมกันถึง 9,000 ธนาคาร (อ่านว่า เก้าพัน ธนาคาร !) ก่อนปี 1933 ผู้ฝากเงินในธนาคารสูญเงินไปถึง $140,000 ล้าน
3-ผลจากธนาคารล้มทำให้เกิด Snowball Effect (ปรากฏการณ์หิมะกลิ้งลงเขาที่ยิ่งกลิ้งก็ยิ่งใหญ่) ธนาคารต่างเรียกหนี้คืนจากผู้กู้ หยุดปล่อยหนี้ใหม่ เกิดวิกฤติเศรษฐกิจที่เรียกว่า The Great Depression ในปี 1933 ในที่สุด !
 
ผลของวิกฤติ :
1-ธนาคารทั่วโลกเกิดปัญหาทางการเงิน ประเทศที่ยิ่งพัฒนามากยิ่งถูกกระทบมาก
2-อุตสาหกรรมก่อสร้างทั่วโลกหยุดชะงัก
3-ราคาพืชผลเกษตรทั่วโลกตกต่ำลงถึง 40-60%
4-เกิดปัญหาการว่างงานทั่วโลก
5-เกิดการปกป้องธุรกิจของแต่ละประเทศเพื่อรักษาเงินของตนไม่ให้ไหลออก และปกป้องผู้ผลิตภายในประเทศ อเมริกาเองขึ้นภาษีขาเข้าจากเดิม 25.9% ขึ้นไปถึง 50% ด้วยการออกกฎหมายศุลกากร American Smoot-Hawley Tariff Act ในปี 1930 ประเทศอื่นๆก็ทำในทิศทางเดียวกัน
 
ทางแก้จากวิกฤติ :
Ben Bernanke ประธาน Fed และผู้ซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์สายนักการเงินมองว่าวิกฤติ Great Depression 1929-1933 มาจากมีเงินในตลาดขาดสภาพคล่อง หลังจากเกิดการล้มของบางธนาคารแห่งแรกๆแล้ว เหตุการณ์จะไม่รุนแรงหากธนาคารกลางใส่เงินเข้าไปในตลาดอย่างทันท่วงที ดังนั้นในกรณีของการเกิดวิกฤติการทุกครั้งนั้น การแก้ไขที่เป็นสูตรสำเร็จนั้นไม่มี มีแต่สิ่งที่รัฐบาลต้องทำก็คือ “พยายามผ่อนหนักให้เป็นเบา ให้กระทบต่อประชาชนน้อยที่สุด และ เป็นธรรมที่สุด”
   
มาตรการที่รัฐบาลต่างๆต้องทำนั้นก็หนีไม่พ้น :
1-การลดดอกเบี้ย
2-การใช้นโยบายการเงิน การใส่เงินเข้าในระบบ การลดค่าเงิน
3-การเปลี่ยนแปลงการเมืองหรือ ระบบเศรษฐกิจ และที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือ …
4-การสร้างความเข้มแข็งจากภายใน เช่น ประสิทธิภาพจากเทคโนโลยีใหม่ๆที่ทำให้ใช้ทรัพยากรอย่าง “คุ้มค่าที่สุด” ที่ทำให้สินค้าแข่งขันกับประเทศอื่นได้ดีที่สุดจาก“คุณภาพที่ดีที่สุด”
การใช้มาตรการแต่ละข้อในน้ำหนักสัดส่วนเท่าไรก็ขึ้นกับเงื่อนไขของแต่ละประเทศที่แตกต่างกันไป
 
ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดในช่วงนั้นคือ ;
Germany : ปี 1934 พรรคนาซีลดค่าเงินพร้อมกับพัฒนาอุตสาหกรรมหนักเช่นรถยนต์ BMW (ในขณะนั้นมีชื่อเดิมว่า – ไอเซอะนาค มอเตอร์) ซึ่งก่อนหน้านี้ผลิตแต่เครื่องบิน และรถสำหรับกองทัพเยอรมัน แต่หลังสงครามโลกถูกฝ่ายพันธมิตรห้ามผลิตอาวุธ จึงหันไปผลิตรถยนต์เชิงพานิชแทน ด้วยประเทศแพ้สงครามทำให้ต้องพยายามใช้ทรัพยากรทุกชิ้นอย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพ จนทำให้เกิดวัฒนธรรมคุณภาพขึ้นทั้งประเทศ อย่างเช่น Volkswagen , Audi และอื่นๆอีกมากมาย
 
Japan : ญี่ปุ่นถูก Great Depression 1929-1933 กระทบไม่มาก เพราะหดตัวแค่ 8% แต่รัฐบาลของญี่ปุ่นในขณะนั้นโดยนาย Osachi Hamaguchi รัฐมนตรีคลังใช้วิธีลดค่าเงิน Yen พร้อมกับนโยบายงบขาดดุลเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของรัฐบาลในการสร้างงาน ผลคือทำให้อุตสาหกรรมทอผ้าของญี่ปุ่นสามารถตีตลาดอังกฤษได้ด้วยราคาถูกกว่า
ในขณะนั้น Toyota ซึ่งมีธุรกิจหลักจากอุตสาหกรรมทอผ้าในสมัยนั้นก็มีส่วนอย่างมากในการเพิ่มผลผลิตให้ญี่ปุ่นด้วยการพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพของการผลิต จนในระหว่าง 1930-1940 ญี่ปุ่นมีการเติบโตของอุตสาหกรรมทอผ้าถึง 100% !
ส่วนการเกิดวิกฤตินั้น หากมองดีๆแล้ว …แท้ที่จริงมันก็คือ :
  “การปรับสู่จุดสมดุล” ที่เกิดจาก “ความคิดที่ผิดไปจากจุดสมดุลจนก่อให้เกิด – Demand – Supply เทียม” นั่นเอง เมื่อเกิดวิกฤติจนทุกอย่างหดลง หยุดลง จนต้องให้ทุกคนตื่นจากความหลงผิด ได้นั่งนิ่งนิ่งจนมีโอกาสตระหนัก “คิดอย่างมีคุณภาพ” ยอมหันกลับคืนสู่สามัญดั้งเดิมเมื่อก่อนเกิดฟองสบู่ได้ … หรือถูกสภาพจำยอมด้วยความยากลำบากจากวิกฤติที่ทำให้คนที่เคยทนงตนว่าอยู่บนยอดเขา ต้องการอะไรก็ต้อง “เอาให้ได้”เสมอนั้น ยอมถอยจากความต้องการที่ “เฟ้อ” เมื่อนั้นแหละ … ทุกสิ่งจึงจะเริ่ม Bottom out !
 
GDP จึงจะเริ่มเป็น + อีกครั้ง
เหมือนที่ John D. Rockefeller มหาเศรษฐีของอเมริกากล่าวถึง The Great Depression ว่า : “วันที่แสนยากลำบากเหล่านี้อาจจะดูหดหู่ใจมากๆสำหรับคนหลายคน แต่ด้วยประสบการณ์ 93 ปีในชีวิตผม วิกฤติเศรษฐกิจเกิดขึ้น แล้วก็ … จากไป ความมั่งคั่งยังไงก็จะกลับมาอีกวันยังค่ำ ตราบใดที่ … เราได้บทเรียนจากอดีต นำมันมาสร้างภูมิคุ้มกันแก่เรา !”
แล้ว Hamburger Crisis ที่เรากำลังเผชิญอยู่หละ … มีฟองสบู่ที่เกิดจาก … การลืมอะไรไปบางอย่างหรือเปล่า ?
Subprime Mortgage มีรากมาจาก “ความคิดของคนกู้” และ “ความคิดของคนปล่อยกู้” และ “ความโลภจากเอาประโยชน์เชิงปริมาณเหนือคุณภาพ” หรือเปล่า ???
อืมม … เมื่อไหร่ที่ “ลืมตน ลืมคุณภาพ … ”
เมื่อนั้น … เป็นเรื่องทุกที ไม่ว่าวงการไหน !
 
 
พิชัย  อรุณพัลลภ
Department of Quality Management
   

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 



พิชัย  อรุณพัลลภ
                                Department of Quality Management