ปีเตอร์
ดรักเกอร์ |
||
กูรูด้านการบริหารจัดการของโลก
|
||
![]() |
แม้ว่า ปีเตอร์ ดรักเกอร์ จะเสียชีวิตไปแล้ว | |
ด้วยวัย 95 ปี แต่ชื่อของเขายังคงได้รับการจารึกไว้ในโลกใบนี้ ในฐานะกูรูด้านการบริหารจัดการของโลก เขาได้รับการยกย่องจากนิตยสารฟอร์บส์ว่า ยังคงเป็นคนที่มีความคิดและจิตใจที่หนุ่มแน่นที่สุด ปีเตอร์มีฐานะทางสังคมหลายอย่าง เขาเป็นนักคิด นักเขียน ผู้บรรยาย และที่ปรึกษาให้กับองค์กรระดับโลกมากมาย | ||
ปีเตอร์เกิดเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 1909 ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เขาจบการศึกษาในระดับปริญญาเอก สาขากฎหมายมหาชนและกฎหมายระหว่างประเทศจากมหาวิทยาลัยแฟรงก์เฟิร์ต ในเยอรมนี ปี 1931 ต่อมาก็เข้าทำงานเป็นผู้สื่อข่าวสายการเงินให้กับหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นฉบับหนึ่ง ต่อมาก็ย้ายไปทำงานในฐานะนักเศรษฐศาสตร์ที่ธนาคารกรุงลอนดอน | ||
![]() |
||
หลังแต่งงานในปี 1937 เขาย้ายไปอยู่สหรัฐอเมริกาและเริ่มต้นเป็นอาจารย์สอนหนังสือ เขาก้าวหน้าในแวดวงการศึกษาเรื่อยๆ โดยได้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์อยู่ที่ ซาราห์ ลอเรนซ์ คอลเลจ ในรัฐเวอร์มอนต์ และที่เบนนิงตัน คอลเลจ รัฐนิวยอร์ก โดยทำการสอนในปรัชญาการเมือง | ||
ต่อมาปี 1950 ปีเตอร์ก็ได้ไปสอนด้านบริหารจัดการอยู่ที่มหาวิทยาลัยนิวยอร์กจนถึงปี 1971 แล้วจึงไปดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์สังคม โดยสอนวิชาการบริหารจัดการที่มหาวิทยาลัย แคลร์ มองต์ ในแคลิฟอร์เนีย เขาเคยให้แนวคิดไว้ในทศวรรษที่ 1950 ว่า เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์จะแปลงโฉมโลกธุรกิจอย่างเห็นได้ชัดเจน ในขณะนั้นคนทั่วไปยังไม่ค่อยเข้าใจอิทธิพลของเทคโนโลยีสมัยใหม่กันนัก ในเวลาต่อมาคำพูดของเขาก็เป็นจริง จากการเปิดตัวของบริษัทไมโครซอฟท์ ส่งผลให้เกิดการสื่อสารไร้พรมแดนแพร่กระจายทุกหนทุกแห่งทั่วโลก | ||
![]() |
![]() |
กูรูด้านการบริหารจัดการของโลกเคยทำนายถึงการเติบโตของญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ว่าญี่ปุ่นจะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงมาก เขายังเคยกล่าวว่าไว้ โลกไร้พรมแดนก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อระบบเศรษฐกิจของโลก อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน | |
โดยการเปลี่ยนแปลงกระทบถึงระบบการบริหารจัดการในองค์กรทางธุรกิจทั้งกระบวนการผลิต รวมไปถึงกลยุทธ์ในการแข่งขัน | |||
เขามีผลงานที่สร้างชื่อหลายสิบเล่มด้วยกัน ในจำนวนนี้มี 16 เล่ม เป็นหนังสือที่มีเนื้อหาด้านสังคม เศรษฐกิจและการเมือง อีก 15 เล่มเกี่ยวกับการบริหารจัดการ หนังสือเล่มแรกของเขาคือ The Aim of Economic Man ได้รับการตีพิมพ์ปี 1939 และมีหนังสือชื่อ The Effective Executive, Management Challenges for the 21st Century,Managing in the Next Society ซึ่งตีพิมพ์เมื่อปี 2002 ปีเตอร์เป็นผู้ที่จุดประกายแนวความคิดว่าด้วยสังคมฐานความรู้ (Knowledge Based Society) โดยบอกว่า สภาพของโลกในศตวรรษที่ 21 เป็นสังคม ที่ความรู้กลายเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ลักษณะสำคัญที่ทำให้เกิดสังคมฐานความรู้มี 3 ประการที่สำคัญ คือ | |||
1. ความรู้ไม่มีพรมแดน เพราะความรู้เดินทางง่าย | |||
2. ความรู้ช่วยให้คนเลื่อนฐานะของตนเองได้ เพราะความรู้เข้าถึงได้ง่าย และสามารถหาได้ด้วยการเรียน | |||
3. ความรู้ให้ทั้งโอกาสประสบความสำเร็จและล้มเหลว เพราะทุกคนสามารถเข้าถึงและสะสมปัจจัยการผลิตได้ใกล้เคียงกัน | |||
ไม่เพียงเท่านั้น จากลักษณะทั้ง 3 ประการข้างต้นนั้นสังคมฐานความรู้จะเป็นสังคมที่มีการแข่งขันสูงมากทั้งในระดับองค์กรและปัจเจกชน เทคโนโลยีคือตัวแปรสำคัญที่ทำให้ความรู้เกิดขึ้นพร้อมกันอย่างมหาศาล ทำให้องค์กรต่างๆต้องปรับตัวเพื่อให้สังคมในวงกว้างได้รับข้อมูลของตน ปีเตอร์มองด้วยว่า ข้อมูลข่าวสารเป็นเพียงตัวความรู้ ซึ่งถ้าเราไม่บริโภคข่าวสารนั้นก็ไม่มีประโยชน์ใดๆ เขาจึงเห็นว่าการรับรู้ต่างหากคือความรู้ที่แท้จริง และเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้คนเราอยู่รอดได้ในโลกใบนี้ ความยิ่งใหญ่ของความรู้ในศตวรรษหน้า คือองค์ความรู้สามารถเคลื่อนที่และถ่ายโอนไปมาได้ แต่เมื่อมันเป็นของใคร ก็จะเป็นของคนนั้นตลอดไป ปีเตอร์กล่าวไว้อย่างน่าสนใจ | |||
นอกจากนี้ ปีเตอร์ยังมีมุมมองต่อประเด็น การศึกษาต่อเนื่องแบบออนไลน์ ด้วยว่า ตราบใดที่แรงงานสมองยังคงเป็นที่ต้องการมากขึ้น ตราบนั้นการศึกษาก็ยังคงต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่องเช่นกัน แต่การศึกษานั้นอาจจะมาในรูปแบบใหม่ ไม่ใช่การศึกษาในห้องเรียน แต่เป็นการเรียนตามสถานที่ต่างๆ เช่น อาจจะเป็นที่บ้าน ห้องสมุด ซึ่งปัจจุบันก็มีสถานการศึกษาหลายแห่งที่เปิดเรียนทางอินเตอร์เน็ตแล้ว การเรียนแบบใหม่ทำให้นักศึกษาสามารถเข้าถึงเนื้อหาวิชาได้ โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปไกลๆการเรียนอาจจะเป็นการส่งคำบรรยายผ่านดาวเทียมไปรวมศูนย์อยู่ที่ใดที่หนึ่ง นักศึกษาที่ไม่เข้าใจก็สามารถเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมซ้ำได้เรื่อยๆ | |||
ความเก่งในฐานะกูรูด้านบริหารจัดการนี้ ทำให้เขาได้รับรางวัลอันทรงเกียรติมากมาย หนังสือพิมพ์ บิซิเนสวีค เรียกเขาว่า นักคิดนักบริหารจัดการที่ยืนยงที่สุด เช่นเดียวกับที่ใครหลายคนยกย่องให้เขาเป็นผู้วางรากฐานการเรียนรู้ด้านการบริหารจัดการของโลกยุคใหม่ | |||
ที่มา :หนังสือมพิมโพสต์ TODAY วันที่3-9-06 |