ระบบคุณภาพของชาติผู้นำเศรษฐกิจ
|
โพสต์ TODAY วันที่ 25-8-08 |
เป็นที่ทราบกันดีว่า การที่ธุรกิจจะมีความยั่งยืนได้นั้น คุณภาพเป็นเรื่องสำคัญที่เป็นตัวบ่งบอกความอยู่รอดของธุรกิจในภาวะที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน และความต้องการที่หลากหลาย |
![]() |
ผู้ที่ไม่สามารถพัฒนาธุรกิจให้ตอบสนองต่อความต้องการ และการเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบันได้ ก็ยากที่จะเอาตัวรอดได้เช่นกัน |
สหรัฐอเมริกา ถือเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ถูกยกให้เป็นผู้นำทางความคิดในการพัฒนานวัตกรรมเชิงคุณภาพ และใช้เป็นเครื่องมือพัฒนาความสามารถในเชิงการแข่งขันทางธุรกิจในยุคโลกาภิวัตน์ โดยมีประเทศญี่ปุ่นเป็นคู่แข่งรายสำคัญ |
นับแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมาจนกระทั่งปี 1987 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของอเมริกา ได้ยกระดับการพัฒนาคุณภาพของอเมริกาขึ้นใหม่ ในนาม Malcolm Baldrige National Quality Award (MBNQA) |
หลังจากนำเสนอระบบดังกล่าว บริษัทต่างๆในอเมริกาก็ล้วนแล้วแต่พัฒนาคุณภาพตามแนวทางของระบบคุณภาพใหม่นี้ จนในที่สุดบริษัทต่างๆ ของอเมริกาก็สามารถขยายกิจการได้อย่างใหญ่โต | ![]() |
ผนวกกับการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์ บริษัทอเมริกาก็สามารถสร้างผลผลิตที่ดีกว่าคู่แข่งอย่างมาก ปัจจุบันมีประเทศต่างๆ ทั่วโลก 70 ประเทศ (รวมทั้งญี่ปุ่น) ก็นำระบบ MBNQA ไปใช้ ซึ่งเป็นเวลากว่า 28 ปี ที่ระบบดังกล่าวได้ใช้ทั่วไปในอเมริกากว่า 41 รัฐ |
ระบบคุณภาพ MBNQA ยังมีการพัฒนาแนวทางเพิ่มเติมเพื่อใช้กับระบบธุรกิจต่างๆ ทั้งเกณฑ์สำหรับธุรกิจต่างๆ ทั้งเกณฑ์สำหรับธุรกิจขนาดทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ หรือแม้แต่เอสเอ็มอี และ เกณฑ์สำหรับธุรกิตเฉพาะ อย่าง การศึกษา และสุขภาพ ขณะนี้มีกว่า 1 หมื่นบริษัท ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่ได้รับรางวัลคคุณภาพนี้ และธุรกิจแฟรนไซส์ในอเมริกาก็พัฒนาตามแนวทางนี้เช่นกัน |
![]() |
ญี่ปุ่น ในช่วงปี 1950-1970 ระบบคุณภาพของธุรกิจยังต่ำกว่าอเมริกา แต่ในระหว่างนั้นญี่ปุ่นก็เริ่มตั้งต้นพัฒนาคุณภาพ ภายใต้ชื่อ Deming Prize หรือ ที่เรารู้จักกันดีในนาม QC จนในที่สุด คุณภาพสินค้าของญี่ปุ่นก็พัฒนาดีขึ้นตามลำดับแถมยังเอาชนะสินค้าจากธุรกิจอเมริกาได้อีกต่างหาก |
เห็นได้จากการเติบโตของธุรกิจญี่ปุ่นในยุคปี 1980 ขยายตัวอย่างมากทั่วโลก จนเข้าไปซื้อทรัพย์สินทางธุรกิจในอเมริกาได้ |
ช่วงเวลาดังกล่าวนั้นเอง การพัฒนาคุณภาพในอเมริกาก็ตื่นตัว นำไปสู่การปรับปรุงพัฒนาขึ้นใหม่ โดยนำระบบ MBNQA มาใช้เมื่อปี 1995 ในนามของ Japan Quality Award |
ปัจจุบัน เป็นเวลากว่า 13 ปี มีองค์กรสมัครรับการพิจารณากว่า 145 องค์กร ในจำนวนนี้มี 21 องค์กรที่ได้รางวัลคุณภาพแห่งชาติ อาทิ Toyota , Matsushita , Ricoth, Fuji-Xerox เป็นต้น ส่วนใหญ่เป็นองค์กรขนาดใหญ่ระดับนานาชาติ มีเพียง 1 องค์กรที่เป็นเอสเอ็มอี คือ Toshida Original (บริษัทผลิตกระเป๋า) | ![]() |
![]() |
สิงคโปร์ เป็นอีกหนึ่งประเทศที่ได้รับการยอมรับในความเป็นมืออาชีพทางการบริหารในระดับโลก โดยนำระบบ MBNQA ไปใช้เมื่อปี 1994 และมีองค์กรสมัครเข้ารับการพิจารณาถึง 141 แห่ง ได้รับรางวัลทั้งหมด 19 องค์กร และมีองค์กรที่ได้รับรางวัลระดับรองกว่า 459 แห่งด้วย ถือว่าสิงคโปร์เป็นประเทศที่นำระบบ MBNQA ไปประยุกต์ใช้ และประสบความสำเร็จจนเป็นที่เชื่อถือเป็นอย่างมาก |
พิชัย อรุณพัลลภ |
Department of Quality Management |
![]() |