THE TOYOTA WAY
แปลโดย :ดร.วิทยา สุหฤทดำรง
 
ตอนที่15 : หลักการข้อที่ 4 : –การแก้ไขปัญหารากเหง้าต่างๆอย่างต่อเนื่องช่วยผลักดันให้เกิดการเรียนรู้ขององค์กร
ตัดสินใจอย่างรอบคอบด้วยฉันทามติ – พิจารณาให้รอบคอบถึงทางเลือกทั้งหมดที่มีอยู่ – และดำเนินการในสิ่งที่ตัดสินใจแล้วอย่างรวดเร็ว (Nemawashi) :
คนที่เคยทำงานกับบริษัทอื่นก่อนที่จะร่วมงานกับ TOYOTA ทุกคนจะรู้สึกตรงกันว่า – เขาต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆมากมาย หนึ่งในนั้นคือการเรียนรู้วิธีของการแก้ปัญหา และการตัดสินใจ
จริงๆแล้ว “การแก้ปัญหา และการตัดสินใจ” ไม่น่าจะมีความแตกต่างจากที่อื่นๆแต่อย่างใด !
แต่  TOYOTA ไม่คิดเช่นนั้น !
 
 
 
 
 
ในความเป็นจริงที่เกิดขึ้นมาแล้วบ่อยๆคือ :
- ผู้บริหารจะยอมยกเลิกสิ่งที่พวกเขาอยากจะทำ ถ้าหากขบวนการที่ใช้วิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจนั้นถูกต้องตามหลักการทุกอย่างให้คำตอบว่า  …. ไม่ควรทำ …. ตรงกันข้าม
ผู้บริหารจะกล่าวตำหนิการใช้วิธีตัดสินใจที่ลวกๆ แม้ว่าจะบังเอิญให้ผลลัพธ์ออกมาดีก็ตาม !

 

Richard Mallery ทนายความจาก Stanford ที่ร่วมงานกับ  TOYOTA ในปี 1989 กล่าวไว้หลังจากทำงานกับ TOYOTA มาได้ 14 ปีว่า :   “ผมได้ความรู้เพิ่มขึ้นมากมายจากการทำเรื่องซื้อที่ดิน 12,000 เอเคอร์ในรัฐ Arizona ให้ TOYOTA เพราะผมต้องคอยตอบคำถามลึกๆมากมายจากผู้บริหารของ TOYOTA พวกเขาจะไม่พอใจกับคำกล่าวของผมที่ว่า – นี่เป็นขบวนการที่ใครๆก็ทำกันในรัฐนี้ – หรือ - พวกคุณไม่ต้องกังวลหรอกเพราะผู้ขายที่ดินจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายให้เอง - เพราะพวกเขาจะต้องรู้ลงลึกไปถึงเหตุผลที่เป็นฐานความคิดของการออกกฎหมายการปฏิบัติของการซื้อ- ขายที่ดินในรัฐนั้นจนผมต้องไปอ่านประวิติศาสตร์รัฐ Arizona ทั้งหมดจนรู้ที่มาของกฎหมายที่ดินทั้งหมด พวกเขาจึงยอมเดินเรื่องต่อไป”
 
Mallery กล่าวต่อว่า “ผลจากการที่ได้เรียนรู้วิธีตัดสินใจของ  TOYOTA ทำให้ผมเริ่มชอบตั้งคำถามแบบล้วงลึกมากขึ้นเวลาทำงานกับคนอื่นๆ เช่น – ทำไมคุณจึงทำเช่นนั้น ? – อย่าบอกแค่สิ่งที่คุณจะทำ เพราะนั่นเป็นแค่ – ผล และ ขบวนการ – เท่านั้น ผมต้องการรู้เหตุผลว่าทำไมด้วย !
ประโยชน์มหาศาลจาก Style การตั้งคำถามแบบนี้อันหนึ่งที่ชัดมากๆครั้งหนึ่งคือตอนที่ผมทำ Due Diligence (การเจาะรายละเอียดทุกด้านเพื่อหาราคาที่เหมาะสมสำหรับการ Take-Over)”
Mallery ได้เปรียบเปรยต่อว่า “มีทฤษฎีระดับ Classicเกี่ยวกับความงามของศิลปะกรีกและโรมันที่ว่า แม้ลวดลายบนยอดเสาใต้ชายคาโบสถ์  Parthenon จะอยู่สูงเกินกว่าที่คนเดินดินจะมองเห็นสังเกตได้นั้น ก็ยังมีความงามอย่างไร้ที่ติ เนื่องจากพระเจ้าของพวกเขาสามารถมองเห็นมันได้นั่นเอง  และนี่คือความยอดเยี่ยมที่ TOYOTA มีความคล้ายในเรื่องของความละเอียดนี่เอง”
Dr.Liker กล่าวถึงการพิจารณาอย่างถ้วนทั่วของ TOYOTA เพื่อการตัดสินใจว่ามี 5 องค์ประกอบสำคัญๆของ Nemawashi คือ :
1-ค้นหาสาเหตุที่แท้จริงที่เกิดขึ้น รวมทั้งใช้หลักการของ Genchi Genbutsu
2-ตั้งคำถามด้วย “ทำไม” 5 ครั้งในการค้นหาสาเหตุ
3-พิจารณาทางเลือกให้ครบทุกด้านพร้อมด้วยเหตุผลเพื่อหาทางเลือกที่ดีที่สุด
4-สร้างฉันทามติขึ้นภายในคณะทำงาน ไม่ว่าจะเป็นพนักงานหรือบริษัทเครือข่ายนอก
5-ใช้เครื่องมือสื่อสารที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการดำเนินการข้อ 1-4 ด้วยข้อความที่กระชับและชัดเจนที่สุด
TOYOTA ทำสิ่งที่ “พูดง่าย” แต่  “ทำได้ยาก” ด้วยเทคนิคของการ “เพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานร่วมกันของกลุ่มคน” ด้วยการสรุปสั้นๆ 3 ขั้นตอนดังนี้ :
1-ทุกคนต้องตอบรับแนวคิด Nemawashi ทั้ง 5 ข้อ
2-ทุกคนต้องมองผลประโยชน์ขององค์กรเป็นเป้าหมาย
3-ผู้นำประชุมต้องมี “วาระการประชุม” ที่มี Format ดังนี้ :
ทำไม TOYOTA จึงต้องกะเกณฑ์วิธีประชุมข้างต้นด้วย ?
เพราะ Key Word ของบทนี้คือ : “ความรอบคอบ”  “ฉันทามติ”
เพราะเขาพิสูจน์แล้วว่ามันเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุด หากเราติดตาม TOYOTA WAY มาตั้งแต่ต้น  เราจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ….
TOYOTA ไม่ประนีประนอมกับ – ความคิดใดๆ – วิธีใดๆที่ไร้ประสิทธิภาพ !
รวมถึงวิธีประชุมซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของการ “ทำงานเป็นทีม” ซึ่งเป็นหัวใจของความสำเร็จทั้งปวง !
 
ผลดีของการตั้ง Format การประชุมที่ Dr.Liker เห็นว่า  TOYOTA ตรัสรู้แล้วคือ :
1-ทุกคนต้องเห็นวัตถุประสงค์ของการประชุม (ทุกคนจะถูกขีดกรอบให้ทบทวนแนวคิด Nemawashi ทั้ง 5 ข้อ ก่อนเข้าประชุมเสมอ)
2-บุคคลที่ถูกกำหนดให้เข้าประชุมเข้าประชุมโดยไม่มีการบ่ายเบี่ยง
3-ผู้เข้าประชุมได้เตรียมข้อมูล ไปดูปัญหาจริง และเตรียมคิดทางออกมาแล้วล่วงหน้า
4-ทุกคนประชุมตามหัวข้ออย่างมีวินัย ไม่มีการพูดออกนอกเรื่อง
5-มี “การแยกข้อมูล” ให้ออกจาก “การแก้ปัญหา” อย่างชัดเจน ไม่มีการพูด “วกวน” “ข้อมูลและการแก้-พูดปนไปปนมา” จนทำให้ที่ประชุมหลงทาง
6-การประชุมเริ่มและเลิกตรงเวลา
 
Dr.Liker กล่าวอย่างชื่นชมว่า “ผมได้เข้าประชุมบ่อยมากๆในหลายๆบริษัท ส่วนใหญ่มักจะขาดคุณสมบัติ 6 ข้อข้างต้นของ  TOYOTA เหตุการณ์ที่พบบ่อยๆคือ :
-หัวข้อการประชุมคลุมเครือ
-บางคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องไม่เข้าประชุม หรือหาเหตุที่จะไม่เข้าประชุม
-ผู้เข้าประชุมไม่มีการเตรียมข้อมูลเข้าประชุม (ยกเว้นผู้ดำเนินการประชุม)
-เวลาที่ใช้ในการประชุมเสียไปกับการถกเถียงเรื่องความน่าเชื่อถือของข้อมูล แทนที่จะนำ “ข้อมูลที่มาจากระบบที่รับรองแล้ว” มาแบ่งปันกัน แล้วคุยเฉพาะ “วิธีแก้ปัญหา” ที่เตรียมมา
-การประชุม – เริ่มช้า – และ – เลิกช้า


อืมม์ …. Dr.Liker …. ถามจริง …. คุณหมายถึงคนแถวๆนี้ด้วยอ่ะเปล่า ?

 

พิชัย  อรุณพัลลภ
Department of Quality Management