THE TOYOTA WAY
แปลโดย :ดร.วิทยา สุหฤทดำรง
 
ตอนที่10 : หลักการข้อที่ 3 : เพิ่มคุณค่าให้กับองค์กรโดยการพัฒนาบุคลากรและพันธมิตร
ทฤษฎีที่ TOYOTA ใช้กระตุ้นพนักงาน :ที่ TOYOTA ทุกทฤษฎีที่มีการสอนเกี่ยวกับการสร้างแรงกระตุ้นแก่พนักงานนั้น ได้รับการนำมาใช้ทุกทฤษฎี อันได้แก่ :
ทฤษฎีลำดับชั้นความต้องการของ MASLOW

TOYOTA ได้สร้างปัจจัยที่ตอบสนองความต้องการทุกระดับขั้นของพนักงาน เริ่มจากขั้นต่ำที่สุดคือเรื่องค่าตอบแทนที่ดี ความปลอดภัยในที่ทำงาน ในขณะเดียวกันก็ให้ได้รับการยอมรับจากองค์กรผ่านทางการทำงานเป็นทีม มีการสนับสนุนกันและกันเพื่อช่วยกันแก้ปัญหาของแต่ละคน ฉะนั้นคนทุกคนจะรู้สึกอบอุ่น พร้อมๆกันนั้น แต่ละคนก็ยังมี “อิสรภาพทางความคิด” ในการแสดงจุดยืนของตนไม่ว่าจะอยู่ในวงของคณะทำงานหรือในการ “หยุดขบวนการทำงาน” ผ่านการดึงสาย ANDON ก็ตาม
   
ทฤษฎีการเพิ่มคุณค่าของงาน (Job Enrichment)
ทฤษฎีนี้คล้ายกับของ MASLOW แต่เน้นเพิ่มเติมตรงที่การเพิ่มคุณค่าเข้าไปในเนื้องานให้พนักงานรู้สึกได้เพื่อช่วยลดความรู้สึกของการทำงานอย่างเดียวนานๆ ทางออกเช่น การหมุนเวียนให้ไปทำงานในขั้นตอนอื่นๆ สลับกันไปจนครบทั้งสายการผลิต เมื่อครบหมดทุกคนแล้ว ผู้บริหารก็จะสร้างสรรค์โครงการใหม่ๆเพื่อให้พนักงานร่วมกับรับผิดชอบ เช่นการเริ่มโครงการ LEXUS , PRIUS ที่ดึงคนที่มีประสบการณ์สูงในทุกระดับมาเป็นคณะทำงานออกแบบรถทั้งสองรุ่นตลอดจนสร้าง Prototype ปรับปรุงจนกระทั่งผลิตเป็นรถจริง ซึ่งทำให้คณะทำงานมีความภูมิใจใน “ผลงาน” ที่ตนมีส่วนร่วม !
   
 
ทฤษฎีสิ่งกระตุ้นภายนอก (ทฤษฎีการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ของ Taylor)
TOYOTA ดัดแปลงโดยการนำบางส่วนของ Taylor มาใช้ เช่น Time-Motion Study เพื่อความจำเป็นในการสร้างประสิทธิภาพเชิงปริมาณ แต่ TOYOTAเพิ่มเรื่องของ “คุณภาพ” เข้าไป โดยผ่านการทำงานเป็นกลุ่มเพราะ TOYOTA เห็นว่าการทำงานเป็นกลุ่มที่ “ลงตัว” จะช่วยสร้างจิตสำนึกด้าน “คุณภาพ” ได้ และเพราะ TOYOTA เชื่อว่าหากมีสายตามากกว่า 1 คู่ทำงานด้วยกันแล้วหละก็ โอกาสของคนที่จะทำงานอย่างไร้คุณภาพจะลดลง
หรือหาก “บุคคล” ใดๆจะไม่ทำตามสิ่งที่ “สังคมนั้นกำหนด” เขาก็กลัวว่าจะถูก “เขี่ยออก”
นี่จึงเป็นอิทธิพลของ “สังคม และ การอยากได้รับการยอมรับจากสังคม” ของมนุษย์ที่ TOYOTA นำมาใช้อย่างชาญฉลาด !
 
ทฤษฎีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
การกล่าวคำชมเชยทันทีที่มีการดึงสาย ANDON แล้วหัวหน้าเห็นว่ามีปัญหาเกิดขึ้นจริงๆเป็นสิ่งที่ TOYOTA ทำมาตลอด และไม่มีใครเลยที่จะตำหนิคนงานที่ดึง ANDON ว่าเป็นผู้ที่ทำให้คนที่อยู่ขั้นตอนก่อนหน้าที่ส่งสินค้ามีข้อบกพร่องมาให้คนถัดไป เพราะนี่เป็น “พฤติกรรมที่พึงประสงค์” ที่วางกติกาไว้ก่อนการรับพนักงานเข้าทำงานอยู่แล้ว
ฉะนั้น “การดึงสาย ANDON” จึงเป็นค่านิยมที่ถูกต้องขององค์กร ที่ใครที่เป็นเหตุให้งานถัดไปต้องดึงสาย ANDON จะต้องอับอายด้วยตนเองและสายตาคนรอบข้าง
(ไม่ใช่ในทางกลับกันอย่างที่เราเคยเห็นในงานก่อสร้างบ้าน ที่คนถัดไปจะช่วยปกปิดความผิด “ที่เพื่อนร่วมงานทำไว้” ! คนญี่ปุ่นจะไม่ช่วยคนที่ผิด-แม้จะเป็น “เพื่อน” ก็ตาม ! )
 
ทฤษฎีกำหนดเป้าหมาย
การกำหนดเป้าหมายเพื่อสร้างแรงกระตุ้นใน TOYOTA จะเหมือนกับธุรกิจอื่นๆ ต่างไปบ้างก็ตรงที่จะวางร่วมกันเป็นคณะ แล้วพยายามบรรลุด้วยกันมากว่าต่างคนต่างทำเฉพาะงานของคนใดคนหนึ่ง เพราะนั่นทำให้เกิด INVENTORY ซึ่งขัดแย้งกับ “เป้าหมายเรื่อง Just-in-Time”
การพัฒนาบุคลากรภายในนั้นคงเข้าใจได้ไม่ยากว่า-ทุกบริษัทฯ ก็ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องทำอยู่แล้ว ….
แต่หากเราอยากจะรู้ว่า …. แล้วการพัฒนาพันธมิตรหละ จะมีใครทำได้จริงหรือ ? ฟังดูเหมือนเป็นคำหวานหูเพื่อหลอกพันธมิตร (Supplier) ให้ร่วมมือเพื่อให้บริษัทฯของเราได้เอาเปรียบเขามากกว่ามั้ง ? ….
TOYOTA พิสูจน์มาแล้วว่าทำได้จริง !
ทำอย่างไร ? คราวหน้าเราไปดูกัน !
 
พิชัย  อรุณพัลลภ
Department of Quality Management