ตอนที่
6 |
||
อุปนิสัยที่ 2 |
||
เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ |
||
STEPHEN R. COVEY ขอให้เราลองหลับตานึกในใจ สมมติว่าเรากำลังเดินไปในงานศพงานหนึ่งที่ครอบครัวคุณสนิทสนมด้วย คุณเห็นพวงหรีด ได้ยินเสียงดนตรีทำนองเศร้าลอยมา เห็นสีหน้าเศร้าหมองของเพื่อนผู้ตาย คุณรู้สึกได้ถึงความเสียใจของผู้มาร่วมงาน และคุณรู้ว่านั่นเป็นความรู้สึกที่แท้จริงจากใจของคนเหล่านั้น | ||
![]() |
ในขณะที่คุณเดินไปถึงด้านหน้าของห้องและมองลงไปที่โลงศพ ทันใดนั้นคุณก็เห็นว่าผู้ที่กำลัง นอนอยู่ในโลงศพนั้นมีหน้าตาเหมือนคุณทุกอย่าง ซึ่งความจริงแล้ว คุณกำลังมางานศพของ ตัวเองนั่นเอง ! | |
เมื่อคุณนั่งลงเพื่อรอให้พิธีเริ่มขึ้น คุณเปิดดูกำหนดการที่ระบุว่าใครจะเป็นผู้กล่าวคำไว้อาลัยแก่ผู้จากไป ผู้กล่าวอาจมีอยู่ 4 คนซึ่งก็คือ มาจากญาติสนิทเช่นลูก มาจากเพื่อน มาจากผู้ร่วมงาน มาจากชมรมสักอย่างที่คุณเกี่ยวข้องอยู่ | ||
มาถึงตอนนี้ คุณคงอยากรู้ว่าบุคคลต่างๆ 4 คนนั้นจะพูดอะไรเกี่ยวกับคุณ ? หรือคุณต้องการให้เขาพูดถึงคุณและสิ่งที่คุณเคยทำไว้ว่าอย่างไร ? สะท้อนออกมาในทำนองไหน ? คุณเป็นพ่อหรือแม่ประเภทไหน ? หรือเป็นเพื่อนหรือเพื่อนร่วมงานแบบไหน ? | ||
ความหมายของ เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ คืออะไร ? | ||
ลองอ่านคำพูดของ โจเซฟ แอดดิสัน ต่อไปนี้ : | ||
เมื่อผมมองไปที่หลุมฝังศพของผู้ยิ่งใหญ่ ความอิจฉาริษยาที่ผมเคยมีต่อเขาก็หมดไป คำสดุดีที่กล่าวอย่างกินใจทำให้ความต้องการที่ผิดปกติของผมหมดไป ยิ่งหากเป็นหลุมของผู้ที่เคยแบ่งโลกเป็นส่วนๆด้วยสงครามและการขัดแย้งทางศาสนา ผมก็รู้สึกเสียใจและประหลาดใจไปกับการแข่งขันกันในเรื่องที่ช่างไร้สาระสิ้นดี ทำให้ผมรู้สึกตัวว่าผมจะมีชีวิตอยู่นับจากวันนี้ไปอย่างสงบได้อย่างไร | ||
มันเป็นเรื่องง่ายมากที่หลายคนจะติดกับดักของกิจกรรมต่างๆในชีวิตการงานหรือชีวิตการงานที่แสนจะยุ่งเหยิง เหมือนกับการไต่เต้าขึ้นสู่บันไดแห่งความสำเร็จ แต่เมื่อขึ้นไปถึงแล้วกลับพบว่าบันไดนั้นวางพาดอยู่กับกำแพงผิดด้าน ! | ||
การเริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ ขั้นพื้นฐานที่สุดคือการสร้างภาพหรือสร้างกรอบความคิดของคุณที่เกี่ยวกับจุดมุ่งหมายสุดท้ายในชีวิตของคุณ เพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานในการพิจารณาทุกสิ่งทุกอย่างที่คุณจะกระทำ ทั้งวันนี้และวันไหนๆว่าจะต้องสอดคล้องกับค่านิยมที่คุณกำหนดเป็นบรรทัดฐานไว้ และแต่ละวันที่ผ่านไปจะต้องจะต้องทำให้คุณเข้าใกล้เป้าหมายค่านิยมนั้นๆทุกขณะ | ||
ชีวิตเราจะมีความหมายมากขึ้นสักเพียงใด หากเรารู้ว่าอะไรคือสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิต และเรากำลังเดินไปในทิศทางที่เรากำหนด จนจบลงด้วยความภาคภูมิใจว่าเป้าหมายได้บรรลุแล้ว ได้สามารถทำให้ผู้กล่าวคำสดุดีในงานศพของคุณทุกคนกล่าวเชิดชูคุณอย่างเต็มใจ | ||
ถ้าคุณไตร่ตรองให้ดีถึงสิ่งที่คุณต้องการให้ถูกกล่าวถึงในงานศพของคุณแล้ว คุณจะพบกับความหมายของความสำเร็จที่แท้จริง ! มันอาจจะแตกต่างไปจากสิ่งที่คุณเคยคิดมาก่อนเช่นความมีชื่อเสียง การมีเงินมาก การมีอำนาจ หรือมีสิ่งอื่นที่เราเพรียกหา ซึ่งทั้งหมดนี้อาจจะไม่อยู่บนกำแพงด้านที่ถูกต้องก็ได้ ! | ||
เมื่อเราเริ่มต้นด้วยจุดหมายในใจ เราจะมีมุมมองที่แตกต่างออกไป เราจะทำทุกอย่างในวันนี้อย่างมีจุดยืน เราจะรู้สึกถึงคุณค่าของตัวเราในทุกนาทีที่ผ่านไป ! | ||
ทุกสิ่งเกิดขึ้นจากการสร้างสองครั้ง | ||
เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ ตั้งอยู่บนหลักการที่ว่า ทุกสิ่งเกิดจากการสร้างสองครั้ง | ||
การสร้างครั้งแรกเป็นการสร้างในใจ | ||
การสร้างครั้งที่สองเป็นการทำให้เกิดขึ้นจริง |
![]() |
การสร้างบ้านเป็นตัวอย่างที่ดี เราต้องสร้างเป้าหมาย | |
ขึ้นมาอย่างดีอย่างละเอียดก่อนที่คุณจะลงมือก่อสร้างโดยบันทึกและุ | ||
ระบุในแบบก่อสร้าง(นี่เป็นการสร้างครั้งที่หนึ่ง)หากคุณมีรายละเอียดครบถ้วน ชัดเจนตั้งแต่พฤติกรรมการใช้ชีวิตของคุณ รูปแบบที่คุณถามตนเองจนมั่นใจแล้วจึงลงมือสร้างจริง(นี่เป็นการสร้างครั้งที่สอง) | ||
คุณจะสามารถสร้างให้เสร็จในคราวเดียวอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล (เสร็จในงบประมาณและเวลาที่วางไว้) | ||
แต่หากคุณลงมือสร้างในขณะที่ความต้องการของตนยังไม่แน่ชัด คุณอาจจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นสองเท่าเพราะคุณต้องแก้ไขงานก่อสร้างในระหว่างทางบ่อยๆ ! | ||
ชีวิตคุณก็เช่นกัน หากคุณมีพิมพ์เขียวที่เขียนมาจากการสร้างเป้าหมายที่ชัดเจนเพียงไร คุณก็จะมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จเท่านั้น ! | ||
ลองมองไปที่ธุรกิจ ถ้าคุณต้องการประสบความสำเร็จในธุรกิจ คุณต้องรู้อย่างชัดเจนว่าคุณต้องการทำอะไรให้สำเร็จเช่น การวิจัยตลาด การผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ การบริหารบุคคล การบริหารบัญชีและการเงิน การบริการ | ||
การเริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจเป็นปัจจัยหลักที่จะตัดสินว่าคุณจะสามารถทำให้บริษัทประสบความสำเร็จได้หรือไม่ ความล้มเหลวของบริษัทส่วนใหญ่เกิดจากการสร้างครั้งแรกที่ขาดปัจจัยที่นำความสำเร็จในแต่ละด้านเอาไว้ เช่น การวิจัยตลาดที่ขาดข้อมูลที่ถูกต้อง การผลิตที่ขาดคุณภาพ หรือการบริหารบุคคลที่มองพนักงานเป็นแค่หุ่นยนต์แทนที่จะเป็นทรัพยากรที่จะช่วยริเริ่มสร้างสรรค์ได้ เป็นต้นฯ เมื่อแบบแผนที่สร้างไว้ในครั้งแรกไม่สมบูรณ์ การสร้างในครั้งที่สอง (หรือการดำเนินธุรกิจที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละวัน) จึงไม่สมบูรณ์ มีความสูญเสีย ความสูญเสียหนึ่งๆนำไปสู่ความสูญเสียอีกมากกว่าหนึ่งและความสูญเสียอันใหม่ก็ก่อให้เกิดเป็นความสูญเสียอื่นๆอีกมากเป็นลูกโซ่ เกิดความไร้ประสิทธิภาพ จนนำไปสู่ความไร้ประสิทธิผลในที่สุด ! | ||
ในบริษัทหนึ่งๆหากหัวหน้าทำงานอย่างขาดเป้าหมายที่ชัดเจน ลูกน้องก็จะทำตาม หัวหน้าไม่มีเป้าของความซื่อสัตย์ ความพิถีพิถัน ความคิดริเริ่ม ความใฝ่รู้ การทำงานเป็นทีม ลูกน้องก็จะคิดคด มักง่าย ทำเท่าที่นายสั่ง หยุดพัฒนาตนเอง วางอำนาจและเห็นแก่ตัว ตัวอย่างองค์กรเช่นนี้หาได้ไม่ยาก | ||
เรื่องแบบนี้เป็นจริงสำหรับครอบครัวด้วย ถ้าคุณไม่มีเป้าหมายว่าจะอบรมให้ลูกมีวินัย มีความรับผิดชอบ มีความคิดที่ใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ เลือกทำแต่สิ่งที่ดีมีคุณภาพในการคิด พูด ทำ และหากคุณไม่ทำให้ลูกดูเป็นตัวอย่าง ลูกจะเติบโตเป็นพลเมืองประเภทใด เราคงพอจะเดาได้ ! | ||
เรื่องแบบนี้เป็นจริงสำหรับประเทศชาติเช่นกัน ประเทศที่เต็มไปด้วยพลเมืองประเภทหนึ่งๆมักจะมีทิศทางด้านความเจริญที่สอดคล้องกับคุณภาพของพลเมืองเสมอ ! | ||
ความเป็นผู้นำและการจัดการ | ||
![]() |
||
การเริ่มด้วยจุด | ||
มุ่งหมายในใจ | ||
มีพื้นฐานอยู่บน | ||
หลักการของความ | ||
เป็นผู้นำตนเองใน | ||
ที่นี้ความเป็นผู้นำ | ||
หมายถึง | ||
การสร้างครั้งแรก | ||
หรือ การสร้างเป้าหมาย การสร้างค่านิยมที่พึงประสงค์ด้วยตัวเราเองโดยไม่ต้องให้มีคน | ||
มาสั่ง เราจะเห็นความแตกต่างระหว่างผู้นำและผู้จัดการจากตัวอย่างของกลุ่มคนที่กำลังถางป่าดังนี้ : | ||
ผู้จัดการคือคนที่ดูแลการทำงานของคนงาน เขียนคู่มือในการทำงาน หาเทคโนโลยีใหม่ๆมาให้ทำงานเร็วขึ้น จัดตารางทำงาน | ||
ส่วนผู้นำคือคนที่ปีนขึ้นไปบนยอดไม้ที่สูงที่สุดแล้วมองไปไกลๆ สำรวจภูมิประเทศอย่างรอบคอบแล้วคอยตะโกนบอกคนข้างล่างว่า เรามาผิดป่าแล้ว | ||
เราทุกคนในทุกทุกระดับจะต้องมีคุณสมบัติของผู้นำและผู้จัดการผสมอยู่ในตนเอง สัดส่วนมากหรือน้อยขึ้นกับความรับผิดชอบของแต่ละระดับ แต่ทุกคนจะต้องมี ความเป็นผู้นำ ที่เป็นความหมายของ การเริ่มด้วยจุดมุ่งหมายในใจ ก่อนเริ่มลงมือทำงานใดๆหรือเริ่มดำเนินการใช้ชีวิตในแต่ละวัน เพราะมันคือ เข็มทิศ ภายในใจที่จะป้องกันไม่ให้เราหลงทาง !! | ||
ที่สำคัญอย่างยิ่ง การเริ่มด้วยจุดมุ่งหมายในใจ จะทำให้ ขอบเขตแห่งอิทธิพล ขยายวงกว้างขึ้น ทำให้เราสามารถควบคุมสถานการณ์รอบตัวเราได้ดีขึ้น เราเป็นคนที่ PROACTIVE มากขึ้น ! | ||
คราวหน้าเรามารู้จักกับ
ตนเอง มากขึ้น แล้วคุณจะตะลึงในสิ่งที่ |
||
STEPHEN
R. COVEY ชี้ว่าจะเปลี่ยนชีวิตคุณได้ !! |
||