THE TOYOTA WAY
แปลโดย :ดร.วิทยา สุหฤทดำรง
 
ตอนที่7 : หลักการข้อที่ 3 : เพิ่มคุณค่าให้กับองค์กรโดยการพัฒนาบุคลากรและพันธมิตร

การส่งเสริมความเป็นผู้นำ :เมื่อนิตยสาร The Automotive News จัดลำดับผลงานสุดยอดของเหล่า CEO ในวงการรถยนต์ สิ่งที่ถูกยกมาใช้สนับสนุนของ CEO ชาวอเมริกันมักจะเป็น “ผลงานในการนำพาบริษัทให้รอดพ้นวิกฤติทางการเงิน” ในปีใด ปีหนึ่ง หรือ “ยอดขาย-ยอดกำไรก้าวกระโดดในปีใดปีหนึ่ง” หรือ “CEO อัศวินม้าขาวที่ซื้อตัวจากนอกบริษัทเพื่อมาแก้ปัญหาวิกฤติ”
 
แต่ที่ TOYOTA จะไม่เป็นเช่นนั้น !

Fujio Cho (ประธานในช่วงหนึ่ง) เคยเป็นลูกศิษย์คนหนึ่งของ Taiichi Ohno ซึ่งเป็นผู้วางรากฐานของ “หลักการตามวิถีแห่ง TOYOTA” เพื่อนำไปสอนคนทั้งบริษัทฯ
Cho เป็นผู้นำของ TOYOTA ที่เมือง Georgetown ในรัฐ Kentucky ซึ่งเป็น บริษัทหัวหอกในการเปิดตลาดในอเมริกา เขาก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งหลังจากที่ได้ร่วมสร้าง และร่วมผลักดัน TOYOTA WAY จนเป็นผลอย่างเป็นรูปธรรม

 
 
“ผู้นำ” ในความหมายของ TOYOTA ไม่ใช่ “ผู้นำด้วยสภาวการณ์” หรือ “ผู้นำตัวคนเดียว” หรือ “ผู้นำชั่วข้ามคืน” …. ตรงกันข้าม
“ผู้นำ” ในความหมายของ TOYOTA คือผู้ที่ “มือเปื้อนน้ำมัน” หรือ “คลุกคลีกับปัญหารากเหง้า” หรือ “แก้ปัญหาคามือ” มาแล้วทั้งสิ้น !
“ผู้นำ” ในความหมายของ TOYOTA คือ “ผู้ที่เคยแก้ปัญหาด้วยจิตวิญญาณของ Sakichi Toyoda ที่พัฒนาเครื่องทอผ้าไอน้ำกับมือ” และเป็นผู้ที่ “ถ่ายทอดประสบการณ์ร่วมกับคนงานจนกว่าทุกคนจะมีจิตวิญญาณนั้น”

จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าผู้ที่จะเป็นประธานของ TOYOTA ทุกคนจะต้องมาจากการมีจิตวิญญาณ TOYOTA WAY มาก่อน ก่อนที่เขาจะรู้ตัวว่าจะก้าวมารับตำแหน่ง และ “รับแนวคิด TOYOTA WAY” อย่างเต็มใจโดยไม่หวังจะ-เป็น-อะไร หรือ –เป็น-เมื่อไร ด้วยซ้ำ …. เพราะ ….พวกเขาเชื่อสนิทใจว่า TOYOTA WAY เท่านั้นที่จะทำให้ TOYOTA ยั่งยืนในระยะยาว เชื่อตั้งแต่พวกเขาเป็น “รากหญ้า” ในบริษัท ฯ !!!!
Gary Convis ประธานคนแรกของ TOYOTA ในอเมริการ่วมงานกับ TOYOTA ถึง 15 ปี จนซึมซับจิตวิญญาณ TOYOTA WAY ก่อนก้าวขึ้นรับตำแหน่งได้กล่าวไว้ว่า …. 
Gary Convis
“ผมอยู่กับ FORD ถึง 18 ปี ก่อนจะย้ายมาร่วมงานกับ TOYOTA ในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง …. ผมเรียนรู้สิ่งต่างๆตลอดเวลา และผมก็ไม่เคยคิดที่จะหยุดการเรียนรู้ ผมมาถึงจุดนี้ด้วยการลองผิด ลองถูก เรียนรู้จากความล้มเหลว ผมภูมิใจที่ร่วมงานกับ TOYOTA เพราะผมได้รู้หลายสิ่งที่แตกต่างจาก FORD เพื่อนของผมหลายคนล้อผมว่า – โอ้โฮ ! คุณใช้เวลาตั้ง 18 ปีที่ FORD อีก 15 ปีที่ TOYOTA แสดงว่าคุณไม่ค่อยก้าวหน้าเลยนะ ! - แต่ผมไม่คิดเช่นนั้น ! …. ผมคิดแต่เพียงว่า …. ตราบใดที่ผมสนุกกับการเรียนรู้ จากการพัฒนาสิ่งใหม่ๆใน TOYOTA แล้วละก็ ผมพอใจกับความสุขนั้นๆ วันแต่ละวันของผมไม่เคยน่าเบื่อเลย ในขณะเดียวกันผมก็รู้แน่นอนว่าพรุ่งนี้จะมีสิ่งท้าทายใหม่ๆให้ผมเสมอ แล้วผมจะไปเรียกหาไขว่คว้าเปลือกนอกที่คนอื่นมองว่า –ก้าวหน้า- ทำไมอีกล่ะ !”
 
Metrix อธิบายลักษณะผู้นำของ TOYOTA ได้ชัดเจนนั้น ตั้งอยู่บนความสมดุลของ
1-การสั่งการแบบ “ล่างขึ้นบน” และ “บนลงล่าง” และ
2-ความเข้าใจในงานที่ปฏิบัติ
จาก Metrix ดังกล่าว สามารถอธิบายลักษณะผู้นำของ TOYOTA ได้ว่า :
1-ในขณะที่ยังมีความยืดหยุ่นของการสั่งการที่เหมาะกับสภาวการณ์ ….

2-TOYOTA “เรียกร้อง” การเคารพกฎ กติกา วินัย ในระดับที่มีน้ำหนักพอๆกับ….
3-การรับฟังความเห็นจากทุกระดับ ….
4-เพื่อให้ทั้งองค์กรมีส่วนร่วมในการ “เรียนรู้ไปด้วยกัน” โดย “ผู้นำ” ต้องมาร่วมเหนื่อยด้วยกัน …. ด้วยความยินดี !
 
 
 
ผู้นำของ TOYOTA คือผู้ที่ผ่านการพิสูจน์ว่า-นำด้วยการกระทำ และมีคุณลักษณะที่สอดคล้องกับ TOYOTA WAY หรือที่เรียกว่ามี “TOYOTA- DNA” !
 
 
พิชัย  อรุณพัลลภ
Department of Quality Management