THE TOYOTA
WAY |
แปลโดย :ดร.วิทยา สุหฤทดำรง |
ตอนที่6 : หลักการข้อที่ 2-กระบวนการที่ถูกต้องเท่านั้นที่จะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง |
ใช้การควบคุมด้วยสายตา (Visual Control) เพื่อไม่ให้ปัญหาถูกซ่อนไว้ : เมื่อคนอเมริกันไปเยี่ยมชมโรงงานของญี่ปุ่นในช่วงทศวรรษ 1970-1980 ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า โรงงานสะอาดจนคุณนั่งล้อมวงทานข้าวกับพื้นได้เลย ! สำหรับคนญี่ปุ่นแล้ว คำพูดนี้ถือเป็นคำชม ! เขาอาจจะถามกลับว่า แล้วทำไมคุณจึงอยากทำงานในเล้าหมูล่ะ ? |
ที่มากกว่าการทำให้โรงงานดูสะอาดตา และมีระเบียบ ในญี่ปุ่นนั้นมี หลักการ 5 ส. ซึ่งประกอบด้วยชุดกิจกรรมที่ลดความสูญเปล่า ลดความผิดพลาด ลดความบกพร่อง ลดอุบัติเหตุ แต่เพิ่มประสิทธิภาพของการมองเห็นปัญหา ! |
หลักการ 5 ส. ประกอบด้วยอะไรบ้าง ? |
![]() |
1-Seiri-สะสาง : จัดสิ่งของเป็นหมวดหมู่เพื่อกำจัดสิ่งที่ไม่จำเป็นให้ออกห่างพื้นที่ทำงาน |
2-Seiton-สะดวก : จัดเฉพาะสิ่งที่ต้องใช้เท่านั้นให้อยู่ในที่ทำงาน | |
![]() |
3-Seiso-สะอาด : การทำให้พื้นที่ทำงานสะอาด เพื่อให้เห็นสิ่งที่ผิดปกติที่จะชี้สิ่งที่บกพร่อง หรือสิ่งที่ไม่ได้คุณภาพได้อย่างชัดเจน |
4-Seiketsu-สร้างมาตรฐาน : พัฒนาระบบในการติดตามผลของ 3 ส.แรกเพื่อให้มี . | |
5-Shitsuke- สร้างนิสัย : การสร้างความตระหนักของคนทุกๆคนให้ดำรงสถานภาพของที่ทำงานอย่างสม่ำเสมอ อย่างต่อเนื่อง |
เมื่อทำ 5 ส. สำเร็จแล้ว แสดงว่าที่ทำงานนั้นบรรลุเป้าประสงค์ของ การผลิตแบบ
TOYOTA WAY แล้วใช่หรือไม่ ? |
|
คำตอบคือ : หลักการ 5 ส. เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของ
ระบบควบคุมด้วยสายตา เท่านั้น ! |
ระบบควบคุมด้วยสายตา เป็นระบบเครื่องมือสื่อสารต่างๆที่ใช้ในสถานที่ทำงานที่สามารถบอกสิ่งที่ผิดปกติอย่างชัดเจนด้วยการมองเพียงแว่บเดียวเท่านั้น
มันบอกได้ว่ามีอะไรที่กำลังออกนอกลู่นอกทาง เช่นมีสินค้าคงคลังมากองเกินมาตรฐานหรือไม่
สถานภาพของงานในขบวนการมีการขาดช่วงหรือล่าช้าตรงไหนบ้าง ชิ้นงานถูกต้องอย่างมีคุณภาพหรือไม่
ทั้งจากมุมมองผู้ปฏิบัติงานที่วงแคบสุดถึงหัวหน้าผู้ที่มีมุมมองกว้างในภาพรวม |
![]() |
ลองตอบคำถามที่ว่า ผู้จัดการของคุณที่เดินเข้าไปในที่ทำงานจะรู้หรือไม่ว่ามีอะไรที่กำลังออกนอกลู่นอกทางโดยไม่ต้องขอข้อมูลจากผู้ปฏิบัติงาน โดยไม่ต้องถามใครทั้งสิ้น ? |
![]() |
เพื่อให้เข้าใจความหมายของ ระบบควบคุมด้วยสายตา ในทางปฏิบัติ ต่อไปนี้คือตัวอย่าง ปัญหาที่เห็นได้ด้วยสายตา : |
1-ภาชนะที่บรรจุชิ้นส่วนที่ถูกผลิตในขั้นตอนก่อนหน้านี้โดยที่ไม่มีใบ Kanban -แสดงว่ามีการผลิตมากเกินไปซึ่งถือว่าเป็นความสูญเสีย (ทำเกินกว่า Just-in-time) |
2-สาย Andon ที่แสดงออกโดย ธงสีแดง หรือ ไฟสีแดง ที่แม้ผู้ที่อยู่ห่างไกลก็เห็นได้อย่างชัดเจนในจุดที่มีปัญหาและต้องการความช่วยเหลือด่วน |
หัวใจที่สำคัญของ TOYOTA คือการบูรณาการชุดของเครื่องมือควบคุมด้วยสายตา เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมในที่ทำงานที่ เปิดเผยและปราศจากความสูญเปล่า ! |
การควบคุมด้วยสายตา (Visual Control) เพื่อไม่ให้ปัญหาถูกซ่อนไว้ กับงานก่อสร้างบ้าน |
การจัดระบบควบคุมด้วยสายตาของ TOYOTA หลายอย่างสามารถนำมาดัดแปลงในงานก่อสร้างได้ เช่น : |
1-หลักการ 5 ส. เพราะเป็นสิ่งที่เข้าใจอยู่แล้วว่า ประสิทธิภาพย่อมมาจากความเป็นระเบียบ ความสามารถมองเห็นจากหัวหน้า - โดยไม่ต้องมีการถาม |
2-การสร้างกระดานในการควบคุมการตรวจงานให้เป็นไปตามแผนที่หัวหน้าสามารถมองกระดานก็รู้ได้ว่าแปลงไหนอยู่ในแผน
(ใช้สีน้ำเงิน) หรือแปลงไหนล่าช้ากว่าแผน (ใช้สีแดง
) แทนการส่งรายงานที่ต้องอ่านซึ่งใช่เวลานานกว่า
.ที่สำคัญคือ
โดยไม่ต้องมีการถาม |
3-การใช้กระดาษ Post-it ในการสื่อสารในจุดที่มีปัญหา
(เหมือน Kanban) |
การสร้างระบบควบคุมด้วยสายตาเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานได้เพราะ : |
1-เมื่อผ่านขั้นตอนการสร้างข้อตกลงระหว่างหัวหน้าและลูกน้องแล้ว เครื่องมือนั้น ก็จะกลายเป็น เครื่องมือควบคุมผลงาน ของลูกน้องไปโดยอัตโนมัติ |
2-หากลูกน้องไม่ Update ข้อมูลบนกระดาน อย่างน้อยที่สุด
นั่นแสดงว่า ลูกน้องกำลังเบี่ยงเบนจากข้อตกลง นั่นหมายถึงมีโอกาสที่ประสิทธิภาพด้านอื่นๆจะเบี่ยงเบนไปด้วย
ซึ่งหัวหน้าสามารถใช้เป็นจุดเริ่มต้นในการจับตาเปรียบเทียบกับลูกน้องคนอื่นๆได้ |
3-ในวัฒนธรรมไทย คำว่า เกรงใจ ดูเหมือนว่าจะมีอิทธิพลเหนือ ประสิทธิภาพ ได้ง่ายมาก การมีเครื่องมือควบคุมด้วยสายตาช่วยให้หัวหน้าขี้เกรงใจเหล่านั้น หลีกเลี่ยง การถามด้วยวาจา เพราะ ถามบ่อยๆก็เกรงใจลูกน้อง กลัวลูกน้องคิดมาก !(แล้ว Monitoring and Control ที่เรียนในตำราหมายถึงอะไร ?) |
Dr. Liker กล่าวว่า การใช้ระบบควบคุมด้วยสายตา ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย หรือซับซ้อน หากแต่ต้องเป็นสิ่งที่สื่อสารได้อย่างชัดเจน และมีประสิทธิภาพมากกว่า และสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าการใช้ วิธีอะไร ก็คือ ความยินดีร่วมมือในการปรับปรุงจากทุกคน เพราะปราศจากมันเสียแล้ว ไม่ว่าใช้อะไร . ก็สูญเปล่าทั้งนั้น ! |
พิชัย
อรุณพัลลภ |
Department
of Quality Management |
![]() |
|