THE TOYOTA
WAY |
แปลโดย :ดร.วิทยา สุหฤทดำรง |
ตอนที่ 4 : หลักการข้อที่ 2-กระบวนการที่ถูกต้องเท่านั้นที่จะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง |
![]() |
การผลิตแบบไหลทีละชิ้น :
90% ของกระบวนการทางธุรกิจล้วนสูญเปล่า มีเพียง 10% เท่านั้นที่เพิ่มคุณค่า กระบวนการทางธุรกิจแบบดั้งเดิมสามารถ ซ่อนความไร้ประสิทธิภาพมากมายโดยผู้บริหารมองไม่เห็น และยิ่งผู้บริหารไม่ใส่ใจมอง ....ก็ยิ่งจะกลายเป็นทางสู่หายนะ ! |
สองแนวคิดนี้เป็นสิ่งที่ผู้บริหาร
TOYOTA ปลูกฝังให้แก่พนักงานทุกคน เพื่อให้องค์กรของเขาเป็นองค์กรเพื่อการพัฒนา
และเพื่อการเรียนรู้อย่างแท้จริง พร้อมๆกันนั้น พนักงานยังถูกสอนให้กำจัด
ความไร้ประสิทธิภาพ (หรือคือ ความสูญเสีย นั่นเอง) |
|
ความไร้ประสิทธิภาพที่ TOYOTA แจกแจงสรุปมาให้มีดังนี้ : | |
1-การผลิตมากเกินไป (หรือการขายช้าเกินไป) | ![]() |
2-การรอคอยในระหว่างขั้นตอนต่างๆ | |
3-การเคลื่อนย้าย - การขนย้ายที่ไม่จำเป็น | |
4-การผลิตที่ใช้ขั้นตอนมากเกินไป | |
5-พัสดุคงคลังมากเกินไป | |
6-การเคลื่อนไหวโดยไม่จำเป็น | |
7-ชิ้นงานไม่มีคุณภาพ |
8-ความคิดสร้างสรรค์ของลูกค้าที่ไม่ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ |
9-ความขาดความสม่ำเสมอ |
งานใดก็ตามที่เกิดจาก 9 ข้อนี้ TOYOTA เรียกว่า งานที่ไม่สร้างมูลค่า |
กระบวนการทางธุรกิจแบบดั้งเดิม ในมุมมองของ TOYOTA หมายถึง การผลิตแบบ Mass Production เพราะมันก่อให้เกิดความคิดที่เบี่ยงเบนออกจาก คุณภาพและ ประสิทธิภาพ ดังนี้ : |
![]() |
1-การให้ความสำคัญกับ ปริมาณ
อยู่เหนือ คุณภาพ ด้วยความยึดติดกับ Fact ที่ว่า-การผลิตทีละมากๆจะให้เกิดการลดต้นทุน
(Economy of scale) การถูกวัด ผล ของการดำเนินงานของหน่วยผลิตหนึ่งๆที่มักจะวัดที่
ปริมาณชิ้นงาน ที่ผลิตได้ มีแนวโน้ม ที่จะ กลืนความคิดเรื่องคุณภาพ
ไป |
![]() |
2-การแข่งกันผลิตโดยที่แต่ละส่วนต่างคนต่างผลิตเผื่อ กรณีฉุกเฉินอันเนื่องมาจาก Lead Time ในการผลิตของแต่ละหน่วยต่างกันนั้น ทำให้เกิด Inventory ที่ซ่อนอยู่ในแต่ละฝ่ายซึ่งนำไปสู่-การที่ต้องหาที่กองเก็บ การขนย้าย ค่าใช้จ่ายของการใช้พื้นที่เพิ่มเกินกว่าจำเป็น การขนย้าย และการดูแลรักษา Inventory เหล่านั้น ! |
งานที่เพิ่มขึ้นอย่างไม่จำเป็น เหล่านี้แหละคือ-ความไร้ประสิทธิภาพในความหมายของ TOYOTA |
แล้ว TOYOTA คิดว่าระบบการผลิตที่ดีที่สุดคืออะไรหรือ ? |
การผลิตแบบไหลทีละชิ้น ! | ![]() |
การผลิตแบบไหลทีละชิ้น
. ทำให้คนในขบวนการทำงานที่อยู่ติดกันต้องตรวจสอบตนเองให้ได้คุณภาพก่อนส่งไปให้หน่วยถัดไป หน่วยถัดไปก็ต้องตรวจผลิตภัณฑ์ที่ถูกส่งมาว่าได้มาตรฐานจึงจะยอมทำงานต่อ (ในระบบ Mass Production นั้นกว่าจะรู้ว่ามีจุดบกพร่องก็ต่อเมื่อผลิตไปหลายสิบ หรือหลายพันชิ้นไปแล้ว!) . |
การผลิตแบบไหลทีละชิ้น .ทำให้เกิด วัฒนธรรม ที่ว่า .หากงานถัดไปไม่ส่งใบคำสั่งงาน (Kanban) ไปยังขั้นตอนก่อนหน้าตนเองแล้วละก็ คนในหน่วยงานก่อนหน้านั้นก็จะไม่ส่งชิ้นงานที่ตนเองทำเสร็จแล้วไปให้หน่วยถัดไปเด็ดขาด ! เพราะอะไรหรือ ? |
![]() |
เพราะใบ Kanban บอกว่า หากหน่วยงานใดยังทำงานชิ้นที่อยู่ตรงหน้ายังไม่ดี-ไม่มีคุณภาพ ก็ถือว่ายังทำงานยังไม่เสร็จ หน่วยงานนั้นๆต้องแก้ไขให้ถูกต้องสมบูรณ์เสียก่อน จึงจะส่งใบ Kanban ไปเรียกหน่วยงานก่อนหน้าตนเองให้ส่งชิ้นงานมาให้ ! |
Kanban จึงเปรียบเหมือน Control Point หรือ Control Slip หรือ |
Reminder ที่จะควบคุมให้ทุกขั้นตอน-ที่ต้องให้น้ำหนักเรื่อง คุณภาพ อย่างไม่มีเงื่อนไข ! |
คุณภาพ ต้องมาก่อนเหนือสิ่งอื่นใดทั้งสิ้น ! |
![]() |
ในขณะที่ระบบ Mass Production
เน้น ปริมาณ แล้วจึงมาตรวจ คุณภาพ ทีหลัง Kanban ในระบบ การผลิตแบบไหลทีละชิ้น เน้น คุณภาพ ก่อนแล้วจึงมาคิดว่าระบบที่จะผลิตให้ได้คุณภาพเดียวกันกับ LOT แรกอย่างไรเพื่อจะได้ ปริมาณ |
การผลิตแบบไหลทีละชิ้น ไม่ได้บอกว่า ไม่ต้องการปริมาณ |
การผลิตแบบไหลทีละชิ้น บอกว่า ระบบที่ให้ปริมาณที่มากต้องให้- คุณภาพที่ต้องการ อย่างเท่าเทียมกันจึงจะเรียกว่า ระบบที่ใช้ได้ |
ที่น่าประหลาดใจคือ ความคิดเดิมที่เคยคิดว่า การผลิตแบบ Mass Production ให้ ต้นทุน ประสิทธิภาพ นั้น เมื่อนำเรื่องของ การแก้ไขชิ้นงานที่บกพร่อง ค่าแรงงาน และ ค่าเสียภาพพจน์ แล้ว . |
การผลิตแบบไหลทีละชิ้น
. กลับชนะอย่างขาดลอย
ไม่ว่าเรื่อง เวลาทั้งขบวนการ หรือ ต้นทุนทั้งขบวนการ !!!! |
นอกจากนี้ การผลิตแบบไหลทีละชิ้น ยังก่อให้เกิดคำพื้นๆแต่โด่งดังที่ว่า Just-in-time | ![]() |
เพราะ Just-in-time มีประสิทธิภาพสูงสุดและเป็นจริงในทางปฏิบัติได้อย่างสมบูรณ์มากที่สุดเมื่อใช้กับระบบ การผลิตแบบไหลทีละชิ้น เท่านั้น !!!! | |
เพราะ .หากไม่มีใบ Kanban เสียแล้ว งานก่อนหน้าจะไม่มีวันยัดเยียดส่งชิ้นงานมาให้งานถัดไปเด็ดขาด ! |
และเมื่อมีใบ Kanban เท่านั้น ชิ้นงานจึงถูกส่งมาให้อย่าง Just-in-time ไปยังหน่วยที่ส่ง Kanban มา!!!! |
ดีไหมละครับ . ? |
![]() |
ไม่มี Stock จากการผลิตกองเกะกะ . แถมยังไม่มีปัญหาของไร้คุณภาพให้ขั้นตอนต่อไปโปะทับปิดบังปัญหาจนไปให้ลูกค้าด่า . แถมยังไม่สร้างปัญหาด้านการเงินที่มาจากความสูญเสียต่างๆ . ที่สำคัญ องค์กรมั่นคง อยู่ค้ำฟ้าอีกต่างหาก ! |
Dr. Liker กล่าวไว้ว่า : |
. เมื่อผมนึกถึง TOYOTA และวิธีดำเนินงานของ TOYOTA ผมมักนึกถึงข้อบัญญัติอันเลื่องชื่อของ W. Edwards Deming ผู้เชี่ยวชาญด้านคุณภาพที่ย้ำคำๆหนึ่งที่เขาเรียกว่า ความสม่ำเสมอของเป้าประสงค์ (Consistency of Purpose) นั้นอธิบาย TOYOTA ได้ดีมากว่า . ไม่ว่าปีไหนก็ตาม ถ้าคุณพนันว่า TOYOTA จะมีผลกำไร คุณมีโอกาสสูงที่จะชนะพนัน .ถ้าคุณพนันว่า TOYOTA จะขายดีขึ้นในปีนี้ คุณก็มีโอกาสสูงที่จะชนะ! .คุณจะไม่เห็นการเติบโตอย่างก้าวกระโดดครั้งใหญ่จากปีหนึ่งไปปีถัดไป หรือการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในกลยุทธ์ คุณจะไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่าง พลิกล็อค ภายในห้องประชุมผู้บริหาร แต่สิ่งที่คุณจะพบคือ การขับเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างช้าๆ .แต่มั่นคง ปีแล้วปีเล่า และนี่คือ ความสม่ำเสมอของเป้าประสงค์ ที่ Deming พูดถึง และใครๆก็พูดถึงทั่วโลก แต่มีเพียงไม่กี่คนที่ทำได้จริง หนึ่งในนั้นคือ TOYOTA !!!!???? |
![]() |
กระบวนการที่ถูกต้องเท่านั้นที่จะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง กับอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่รถยนต์ |
แต่ละอุตสาหกรรม จะนำ การผลิตแบบไหลทีละชิ้น มาใช้ไม่ได้เหมือนกัน และในเวลาเดียวกัน คงไม่เกินความสามารถที่จะเข้าใจว่า การลอกเลียนแบบวิธีทำงานจาก TOYOTA โดยไม่เข้าใจถึงแก่นแท้ของเหตุผลนั้นอาจจะนำความล้มเหลวมาให้ ! |
แต่คงไม่มีใครปฏิเสธว่า ความตั้งใจที่จะผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ใช่หรือไม่ ที่ทำให้ TOYOTA ต้องฝืนตัวเอง .ฝืนทีมงานในองค์กรในการใช้ระบบแบบไหลที่ขัดแย้งกับความเชื่อใน Mass Production ของคนในองค์กรในยุคสมัยนั้นมาสู่การปฏิบัติจริง ???? |
และถ้าหาก ความอยากได้คุณภาพ
ของคนรุ่นบุกเบิก TOYOTA ไม่แรงมากพอ การผลิตแบบไหลทีละชิ้น โดยที่มี Kanban
มาควบคุมขบวนการทำงานก็คงไม่เกิด และ
. TOYOTA ในวันนี้ก็คงจะ กลมกลืน หรือ เป็นพวกเดียวกันกับคนส่วนใหญ่อบอุ่นดี-มีเพื่อนเยอะ กับ SUBARU , NISSAN , หรือแม้แต่รถอเมริกัน . และ TOYOTA ก็จะไม่มีอะไรโดดเด่นอย่างที่เป็นในวันนี้ !!!! |
![]() |
อุตสาหกรรมก่อสร้างบ้าน ที่เราอยู่แม้ว่าจะไม่สามารถเป็นแบบ การผลิตแบบไหลทีละชิ้น เนื่องจากความแตกต่างในขบวนการ นั่นเป็นความด้อยกว่าในเชิงธรรมชาติของระบบที่จะควบคุมคุณภาพได้น้อยกว่า การผลิตแบบไหลทีละชิ้นอยู่ในระดับหนึ่งแล้ว .แต่ ความตั้งใจในการอยากได้คุณภาพ ใช่ไหมที่เรายังคงสามารถรักษาไว้ให้อยู่ในระดับเดิม เพื่อคง ความเหมือน กับ การผลิตแบบไหลทีละชิ้น ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ! . |
ตรงกันข้าม
.หาก ระบบ ก็ด้อยกว่า
.แถม
ความตั้งใจในการอยากได้คุณภาพ ของคนในขบวนการก็ยังด้อยกว่า ผลที่ได้คงเดาได้ว่าจะเตลิดเปิดเปิงจนยากที่จะเดาว่าจะไปจบที่ตรงไหน
? หรือไม่ก็ . ผลที่ได้ก็คงจบเหมือนกับปัญหาที่ใครต่อใครประสบอยู่ในทุกวันนี้ !!!! |
![]() |
ด้วย ความตั้งใจที่แรงกล้ามากพอ
ใช่ไหม ความฝัน จึงถูกแปรเป็น การกระทำที่สม่ำเสมอ
. หาไม่แล้ว
. ความคิดดีๆ ก็เป็นได้แค่ ความเพ้อฝันอันหนึ่ง เท่านั้นเอง !!!! เมื่อเวลาผ่านไป ก็ได้แต่มองผู้อื่นแซงหน้าไปด้วยตาปริบๆ !!!! |
พิชัย
อรุณพัลลภ |
Department
of Quality Management |
![]() |
|