ตอนที่ 5
 
BE-PROACTIVE ( ตอนที่ 2)
 
ขอบเขตแห่งความกังวล และ ขอบเขตแห่งความสามารถจัดการ
วิธีที่จะดูว่าเราเป็นคนโปรแอกทีฟมากแค่ไหนคือการพิจารณาว่าเราใช้เวลาส่วนใหญ่ไปที่
เรื่องอะไร ลองเริ่มต้นจากการแบ่งเรื่องราวในสมองของเราออกเป็น 2 เรื่องหลัก คือ :
  1- ไม่มีความกังวล
  2- มีความกังวล
  แผนภูมิจะเป็นดังรูปที่ 1  
 
  หากเราแบ่งสมองส่วนที่มีความกังวลออกเป็นสองส่วนคือ :  
  A- ส่วนที่เราปล่อยให้ถูกครอบงำด้วยความกังวล ความกลัว  
  B- ส่วนที่เราพยายามสร้างโอกาสจัดการได้  
  แผนภูมิจะเป็นดังนี้ :  
 
กรณีที่ 1 - ลองดูเปรียบเทียบแผนภูมิของคนที่เป็น REACTIVE ( คนที่ชอบคิดเชิงรับ ) จะเป็น
เช่นนี้ :
 
คนที่อยู่ในกรณีที่ 1 จะมีแนวคิดดังนี้ :
1…. เราเป็นเพียงคนเล็กๆคนหนึ่ง ไม่มีบทบาทเปลี่ยนแปลงอะไรได้หรอก ….
2…. ชีวิตเราถูกลิขิตด้วยโชคชะตา เราเปลี่ยนไม่ได้หรอก ….
3…. ชีวิตลูกเราที่มาอยู่ในครอบครัวที่ร้าวฉาน นั่นก็เพราะชะตาลิขิต เลี้ยงรอดก็ดีถมเถแล้ว ….
4…. เราโชคไม่ดีที่มาอยู่กับนายที่ไม่รู้ใจ เราจะทำอะไรได้ ?….
5…. ลูกน้องที่ช่วยเราคุมงาน แม้จะไม่มีคุณภาพ ก็ยังดีกว่าไม่มีคนช่วย อย่าไปสอนมากเดี๋ยวลา
ออกเราจะลำบาก ได้แค่ไหนก็แค่นั้น ….
6…. หัวหน้าไม่ควรทำแบบนี้เลย แต่เราอยู่เฉยๆดีกว่า ไม่เปลืองตัว เสียหายขึ้นมาเขารับผิดชอบ
เองไม่เกี่ยวกับเรา ….
 
กรณีที่ 2 - ในขณะที่สมองของคนที่เป็น PROACTIVE ( คนที่ชอบคิดเชิงรุก ) จะเป็นเช่นนี้ :
 
1…. แม้เราจะเป็นเพียงคนเดียว หากทำสิ่งที่ถูกต้อง 10 คนก็ต้องมีผลดีกับบริษัทบ้างแหละน่าเพราะบริษัทประกอบด้วย “ คน ” ทุกคนต้องทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทจึงจะมีประสิทธิภาพ หากทุกคนไม่คิดอย่างนี้ ตกหล่นคนละ10-20%หลายคนก็ยิ่งเสียหายมากสะสมไปใหญ่บริษัททำงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพจนในที่สุดอยู่ไม่ได้ เราก็จะต้องเดือดร้อนในที่สุดอยู่ดี..
 
2…. ชีวิตเรา เราควรจะเป็นผู้ลิขิตจึงจะถูก เราต้องสามารถกำหนดอนาคตด้วยตนเอง สร้างอนาคตที่ดีจากมือของเราเอง เพื่อวันหน้าจะไม่มานึกเสียใจเมื่อทุกอย่างสายเกินไป ….
 
3…. เราทำให้เขาเกิดมา เราต้องรับผิดชอบโดยสร้างเงื่อนไขที่ดีที่สุดแก่เขา NO MATTER WHAT IT TAKES เช่นการประหยัดเพื่อให้เขาได้เรียนสูงๆ การเลี้ยงเขาด้วยเหตุผล การไม่เล่นพนัน การไม่สูบบุหรี่ การไม่ดื่มเหล้า เพื่อเขาจะใช้เป็นแม่แบบต่อไป ….
 
4…. ไม่มีใครสมบูรณ์ 100% แม้กระทั่งเราเอง การรู้จักนิสัยใจคอนายก็เหมือนการรู้จักนิสัยเพื่อนร่วมงานคนอื่นๆ หากมองเห็นจุดอ่อน เราเข้าไปเติมให้เต็มในงานที่เราต้องทำส่ง หรือเสนอความเห็นเติมเข้าไป และให้เกียรติในจุดแข็ง อย่างนี้แล้ว คนทุกคนไม่ว่าระดับไหนก็ร่วมงานกันได้อย่างราบรื่น ….
 
5…. ลูกน้องที่ช่วยคุมงานยังมีจุดอ่อน เราต้องหาวิธีอธิบายให้เขาเข้าใจให้ได้ หากเขาไม่ยอมเข้าใจด้วยความดื้อรั้น เราอาจต้องเปลี่ยนคน เพื่อความยั่งยืนในระยะยาว ….
 
6…. เราน่าจะหาวิธีเตือนหัวหน้า ( ด้วยวิธีที่ไม่ก้าวร้าว ) ปล่อยไปจะเสียหายทุกคนรวมทั้งหัวหน้าด้วย ….
 
 
ในกรณีที่ 1 คนที่เป็น REACTIVE มีแนวโน้มที่จะมีความกังวล ความกลัวมากกว่า ไม่กล้าตัดสินใจ ไม่มีความมั่นใจในตนเอง และไม่กล้ารับผิดชอบ เพราะคิดแต่ว่าตนเองถูกสถานการณ์ควบคุมมากกว่าที่ตนเป็นผู้ควบคุมสถานการณ์ ( B น้อยกว่า A )
 
ในขณะที่กรณีที่ 2 เราจะเห็นได้ว่าสมองของคนที่เป็น PROACTIVE จะมีความสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ดีกว่า สร้างโอกาสให้ตนเองมีทางเลือกมากกว่า ตนเองยินดีที่จะรับผิดชอบมากกว่า มีส่วนร่วมมากกว่า ตนเองจะมีความกังวลน้อยกว่า เขาจะเป็นผู้ที่เปลี่ยนแปลงเหตุการไปสู่สิ่งที่ตนวางเป้าหมายได้มากกว่า ( B มากกว่า A )
 
 
โอกาสของคนที่เป็น PROACTIVE จะประสบความสำเร็จทั้งในงานและในชีวิตมากกว่าจึงมาจากสาเหตุนี้ !!
 
 
ตอนหน้าเราจะไปรู้จักกับอุปนิสัยที่ 2 กัน …. เริ่มสนุกกับมันหรือยังครับ ….?