ตอนที่ 4
 
ชัยชนะส่วนตน
 
อุปนิสัยที่ 1 BE-PROACTIVE
 
  VICTOR FRANKLE เป็นชาวยิว ที่เคยถูกคุมขังในค่ายกักกันของนาซี พ่อแม่ พี่น้องของเขาเสียชีวิตในค่ายกักกัน เขาเองไม่ มีทางรู้ว่าชีวิตเขาจะจบลงเมื่อใด เขาต้องทน ทุกข์ทรมานจากทหารนาซี
 
 
  วันหนึ่งด้วยร่างที่เปลือยเปล่าและอยู่คนเดียวในห้องมืดแคบเขาเริ่มรู้สึกถึงสิ่งหนึ่งที่ต่อมาเขา เรียกมันว่า “ อิสรภาพสุดท้ายของมนุษย์ ” ซึ่ง พวกนาซีไม่มีวันยึดเอาไปจากเขาได้ เขา สามารถตัดสินด้วยตัวเองว่าจะมีผลกระทบ อะไรกับเขาหากมีสิ่งเร้าหนึ่งต่อเขาและเขาเลือก ตอบสนองกลับไป
 
 
 
ในสถานะของนักโทษกักกัน เขาสอนให้คนยิวอื่นๆค้นพบความหมายของความทุกข์ทรมานและ ความมีเกียรติยศของคนที่ถูกกักกัน
 
จนแม้แต่ผู้คุมก็ยังนับถือเขา เขากลายเป็นแรงบันดาลใจของคนอื่นๆในคุก ในการมีชีวิตอยู่ให้ดีที่สุดในวันนี้ อิสรภาพที่เขาสอนในคุกต่อมาถูก เรียกว่า FREEDOM TO CHOOSE ( อิสรภาพในการเลือก ) ซึ่ง FRANKLE พัฒนาต่อมาเป็นอุปนิสัยเบื้องต้น ของคนที่จะมีประสิทธิผลในทุก สถานการณ์ว่าเป็นคนที่ PROACTIVE  
 
 
 
 
 
 
   
   
 
 
คำจำกัดความของคำว่า “PROACTIVE”
สิ่งเร้า และ การตอบสนอง (STIMULUS AND RESPONSE)
     
มนุษย์แตกต่างจากสัตว์ตรงที่เรามีการรู้ตนเอง เรามีจินตนาการ เรามีจิตสำนึก เรามีความประสงค์อิสระ มนุษย์สามารถเขียนโปรแกรมใหม่ให้กับตัวเองได้ว่าตนจะตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆในรูปแบบใดแล้วจะได้ผลลัพธ์กลับมาอะไรบ้าง ผลลัพธ์เหล่านี้จะมีระดับผลกระทบทั้งที่เป็นบวกหรือลบไม่เท่ากันต่อเรา การรู้ตนเอง การจินตนาการถึงผลลัพธ์ที่จะเกิด การใช้จิตสำนึก บวกกับการมีความประสงค์ในอนาคตของเราจะทำให้เราสามารถตัดสินใจเลือกการกระทำที่จะให้ประโยน์กับเรามากที่สุด
 
ที่สำคัญคือระดับของการรู้ คิด สำนึก ของแต่ละคนมีเท่ากันหรือไม่ ? หากไม่เท่ากัน การตัดสินใจเลือกตอบสนองต่อเหตุการณ์เดียวกันของคนสองคนเหมือนกันหรือไม่ ? และนี่คือเหตุผลของการที่คนสองคนเริ่มต้นที่จุดเท่าๆกัน แต่ลงท้ายตอนแก่ต่างกันราวฟ้ากับดิน ใช่หรือไม่ ?
 
FRANKLE แนะนำว่ามีค่านิยมอยู่ 3 แบบที่สำคัญต่อชีวิตของคน นั่นคือ ประสบการณ์ ความคิดสร้างสรรค์ และทัศนคติ
 
COVEY ยืนยันว่า ทัศนคติ นั้นสำคัญที่สุดของทั้งหมด !!
 
“ เหตุการณ์ที่ยากลำบากทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกรอบความคิด เกิดกรอบอ้างอิงใหม่ที่เกิดจากมองโลกของแต่ละบุคคล การมองตัวเขาเองและการมองผู้อื่น มุมมองที่กว้างขึ้นของเขาจะสะท้อนคุณค่าทางทัศนคติที่จะช่วยยกระดับจิตใจและดลใจคนอื่นๆที่มองเราอยู่ ”
 
 
ต้องเป็นฝ่ายเริ่มก่อน
 
การเป็นคน PROACTIVE นั้นต้องเป็นคนเริ่มก่อน การเริ่มก่อนไม่ใช่การกดดัน น่ากลัว หรือก้าวร้าว แต่มันหมายความถึงความตระหนักถึงความรับผิดชอบที่จะทำให้สิ่งต่างๆดีขึ้น
 
COVEY ยกตัวอย่างกรณีจากการอบรมเรื่องการสร้างความก้าวหน้าในการงานว่าต้องมาจากการขายวิธีแก้ปัญหากับคนอื่นๆได้ ทุกคนเห็นด้วยกับวิธีนี้ แต่หลายคนพลาดที่จะทำให้เป็นจริงได้เพราะความคิดดังต่อไปนี้ :
 
“ ผมจะศึกษาปัญหาขององค์กรเราได้อย่างไร ดูเหมือนจะไม่มีใครช่วยผมได้ ?”
“ ผมไม่มีวิธีเลยว่าจะนำเสนอออกมาให้ดีได้อย่างไร ?”
 
คนส่วนใหญ่ชอบรอให้บางสิ่งเกิดขึ้นมาก่อน หรือต้องรอให้นายสั่งก่อน แต่คนที่เป็น PROACTIVE จะไม่รอ เขาชอบริเริ่มทำอะไรก็ได้ที่จำเป็น ดำเนินการที่ถูกต้องเพื่อให้สำเร็จ !
 
 
กระทำหรือถูกกระทำ
 
ความแตกต่างของคนที่ชอบริเริ่มทำและคนที่ไม่ชอบริเริ่มทำ เหมือนกับกลางคืนและกลางวัน ผลของการกระทำของคนสองชนิดนี้จะต่างกันไม่ใช่แค่ 20-25% หากแต่จะเป็น 5,000% เลยทีเดียว มันเหมือนกับการเดินถูกและการเดินผิด เหมือนสวรรค์กับนรก
 
 
ตัวอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นในการประชุมหนึ่งในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ มันส่งผลแง่ลบกับอุตสาหกรรมนั้นอย่างมาก ในวันแรกของการประชุมกลุ่มคน “REACTIVE” จะพูดถึงแต่เรื่องหดหู่ว่าต้องเดือดร้อนกันถ้วนหน้า ต้องถูกปลดออกจากงานอย่างแน่นอน แต่คน “PROACTIVE” กลับมองว่าในสถานะการณ์นั้น มีกี่ทางเลือกที่เราจะทำได้ ทางเลือกไหนดีที่สุด และเราจะทำอย่างไรให้เป็นจริง !!
 
 
ภาษาที่เราใช้เป็นอย่างไร
     
ภาษาของคน REACTIVE
 
ภาษาของคน PROACTIVE
ผมทำอะไรไม่ได้   ผมกำลังมองหาทางเลือกอยู่
ผมเป็นของผมอย่างนี้   ผมสามารถเลือกวิธีที่แตกต่างออกไปได้
เขาทำให้ผมหัวเสีย   ผมควบคุมอารมณ์ได้ไม่ว่าอะไรก็ตาม
พวกเขาไม่อนุญาตให้ผมทำ   ผมจะนำเสนอด้วยวิธีที่มีประสิทธิภาพกว่านี้ได้
ผมต้อง ....   ผมชอบที่จะ ....
ถ้าเพียงแต่ ....   ผมจะ ....
ในการสัมมนาครั้งหนึ่งของ COVEY มีคนลุกขึ้นถามเรื่องความง่อนแง่นในชีวิตแต่งงานว่าเขาและภรรยาดูเหมือนจะไม่มีความรักต่อกันอีกแล้ว ทั้งคู่มีลูกด้วยกัน 3 คน เขาจะนำแนวคิดเรื่อง PROACTIVE ไปใช้แก้ปัญหาได้อย่างไร เพราะเขาไม่อยากให้ลูกมีปัญหาทางใจ COVEY ตอบว่า
“ รักภรรยาคุณให้มาก ”
“ แต่ความรู้สึกรักหายไปแล้ว ”
“ รักเธอให้มาก ”
“ คุณไม่เข้าใจ ไม่มีความรักแล้ว ”
“ เพื่อนเอ๋ย ! หากคุณต้องการทำตามความต้องการเรื่องลูกคุณต้องมองคำว่ารักว่าเป็นคำกริยาไม่ใช่ “ รู้สึกรัก ” ผมให้คุณแสดงต่อเธออย่างที่แต่ก่อนเคยทำแม้คุณจะไม่ได้รักเธอ เช่น ฟังเธอ ยินดีกับเธอ เสียสละเข้าอกเข้าใจเธอ หากคุณมองว่าทางเลือกเหล่านี้จะทำให้คุณบรรลุเป้าหมายเรื่องลูก คุณจะยินดีทำไหม ??”
 
นิยามของ “ ความรัก ” ในสังคมที่ “ เจริญแล้ว ” คือ “ คำกริยา ” ไม่ใช่ “ ความรู้สึก ” ภาพยนต์จากฮอลลีวูดทำให้เราเชื่อว่าเราไม่จำเป็นต้องมีความรับผิดชอบต่อครอบครัว มันทำให้เราคล้อยตามได้ง่ายมากว่าเมื่อหมดความรู้สึกรักแล้ว เราจะทำอะไรก็ได้โดยไม่ต้องคำนึงผลกระทบต่อผลของอารมณ์ตอนที่เรารักเช่นการมีลูก มันทำให้เรา ละเลยความรับผิดชอบ ! คน REACTIVE จะยอมอยู่ใต้อำนาจของความไร้รับผิดชอบโดยไม่ต้านทาน !
 
แต่คน PROACTIVE จะเลือกนิยาม “ ความรัก ” ว่าเป็น “ คำกริยา ” เพราะตนต้องรับผิดชอบ ตนจึงต้อง “ กระทำในการรัก ” คู่ของตนเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อลูกของตน !!! คน PROACTIVE เก็บความรู้สึกไว้ใต้ค่านิยม ความรักจึงสร้างขึ้นมาใหม่ได้เสมอ ตราบใดที่เขายินดี “ ทำ ” มันอยู่
 
 
 
ตอนหน้าเราจะทำความรู้จักกับ BE PROACTIVE ให้มากขึ้นครับ