ตอนที่ 3
 
PC ในองค์กร
 
     
  สิ่งที่ STEPHEN COVEY เน้นย้ำบ่อยมากเกี่ยวกับการ
ให้ความสำคัญแก่ ความสามารถในการผลิต (PC) เพราะว่าเมื่อ คนไม่ให้ความสำคัญต่อ PC ผลเสียจะตามมาดังปรากฏในกรณี ศึกษาหนึ่งเกี่ยวกับการร้านอาหารที่ขายดีมากเพราะทำอาหารได้ อร่อยมาก ต่อมามีคนใหม่มาซื้อกิจการร้านนี้ไป
   
เจ้าของใหม่นี้สน ใจแต่ไข่ทองคำ เขาจึงลดต้นทุนด้วยการลดจำนวนเนื้อปลาลง ปรากฏว่าหนึ่งเดือนหลังจากซื้อกิจการมา เขาได้กำไรมากขึ้นมาก ( เพราะขายราคาเดิม แต่ลดคุณภาพวัตถุดิบเพื่อให้ได้กำไรมากๆ )
   
แต่หลังจากนั้น ลูกค้าก็เริ่มหายหน้า ความเชื่อใจหมดไป ลูกค้าหมดความภักดี ร้านนี้จึงเป็นเหมือนห่านที่ไม่ออกไข่ทองคำอีกต่อไป !
   

มีหลายองค์กรที่พูดว่าลูกค้าคือ ผู้ที่มีความสำคัญต่อองค์กร แต่ไม่เคยใส่ใจพนักงานในองค์กรเลย ทั้งๆที่พนักงานเหล่านี้เป็นผู้ส่งมอบสินค้า หรือบริการแก่ลูกค้าไม่ทางตรงก็ทางอ้อม !
 

 
 
 
 
   
การที่คุณจ้างพนักงานเปรียบเหมือนซื้อเวลาของเขาให้ทำงานกับองค์กร นั่นเหมือนซื้อร่างกายเขามา หากคุณไม่สามารถซื้อจิตใจของเขาได้ ทุกสิ่งที่คุณทำไปอาจกลายเป็นความสูญเปล่าโดยที่คุณ ไม่รู้ตัว ที่สำคัญที่สุด คุณ “ เห็นเขาทำงาน ” แต่คุณ “ ไม่สามารถเห็นว่าใจเขาทำงานด้วยหรือไม่ สิ่งที่คุณเห็นนั้นเป็นเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น ของทั้งหมด ” !
     
หากคุณต้องการให้เขาทำงานหนักเพื่อผลิตชิ้นงานที่มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ( ต้องการไข่ทองคำใน คราวเดียวมากๆ : P) โดยที่คุณไม่เคยอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพของเขาเลย โดยที่คุณไม่เคยสนใจ มาช่วยดูขบวนการผลิตให้เขาเหนื่อยน้อยแต่ได้ผลงานที่มากและมีคุณภาพ ( การเพิ่มความ สามารถในการผลิต : PC) ในที่สุดคุณจะไม่เหลืออะไรเลย !
     
ความสมดุลระหว่าง P และ PC เป็นแก่นแท้ของประสิทธิผล มันได้รับการพิสูจน์มาแล้วในทุกด้านของชีวิต ไม่ว่าเราจะชอบมันหรือต่อต้านมัน มันก็อยู่ที่นั่น ! มันเป็นเหมือนประภาคารที่ชี้ ทางเดินของเรือหรือแนวคิดของคน หนังสือเล่มนี้วางอยู่บนหลักการนี้ !
 
 
วิธีใช้ประโยชน์จากหนังสือเล่มนี้
 
ก่อนที่เราจะเข้าสู่รายละเอียดของนิสัยแต่ละข้อ COVEY แนะนำว่า คุณจะต้องเปลี่ยนกรอบ ความคิดใหม่ จากที่เคยเป็นผู้เรียน ให้ไปเป็นผู้สอน และอ่านด้วยความคิดที่ต้องการ จะไปแลกเปลี่ยนกับผู้อื่นภายใน 48 ชม.หลังการอ่านจบลง ยกตัวอย่างเช่น ลองคิดว่าคุณต้องไปพูดเรื่องความสมดุลของ P และ PC ให้กับคู่ครอง ลูกๆของคุณ สมาคมธุรกิจหรือเพื่อนๆ คุณจะสังเกตได้ว่าความรู้สึกกระตือรือร้นในการอ่านของคุณจะดีขึ้น มุมมองกว้างขึ้น จำได้มากขึ้นและอยากนำมันไปใช้มากขึ้น นอกจากนี้ ในขณะเดียวกันกับที่คุณเปิดกว้างกับตนเอง คุณก็จะ ประหลาดใจว่าการแสดงออกที่ตรงไปตรงมาของคุณ นั้นทำให้ผู้อื่นที่เคยมีอคติแง่ลบต่อคุณจะ อันตรธานหายไปหมด เขาจะรู้สึกว่าคุณเปลี่ยนไปเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น เขาและคุณจะร่วมงานกันได้ดีขึ้น !
   

   
คุณคาดหวังจะได้รับอะไรจากการอ่านหนังสือเล่มนี้
   

   
  มารีลีน เฟอร์กูสันกล่าวว่า "ไม่มีใครสามารถชักจูงคน อื่นให้เปลี่ยนแปลงได้ ” นั้นเป็นจริงเสมอ ! พวกเราทุกคนก่อกำแพงไว้กั้นความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิด ขึ้น ประตูบานนี้จะเปิดจากข้างในเท่านั้น ไม่มีคนอื่น เปิดประตูนี้ได้นอกจากเรา และเราก็ไม่สามารถเปิด ประตูของคนอื่นได้หากเขาไม่เปิดรับ
 
 
 
     
แต่หากใครที่ตัดสินใจที่จะแง้ม “ ประตูที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ” นี้เพียงเพื่อดูว่ามันคืออะไร จากนั้นค่อยตัดสินใจ COVEY บอกว่า “ สิ่งดีๆหลายอย่างกำลังจะเกิดขึ้นกับคุณแล้ว !!”
     
อย่างแรกจะเกิดการเปลี่ยนแปลงแบบ “ วิวัฒนาการ ”
แต่ผลกระทบที่แท้จริงของมันจะเป็นแบบ “ การปฏิวัติ ”
 
เพราะเพียงแค่หลักการสร้างความสมดุลระหว่าง P และ PC ก็ให้ประโยชน์มหาศาลอย่างเหลือเฟือแล้ว ทั้งในแง่บุคคลหรือองค์กร
     
     
ผลของการเปิดประตูสู่การเปลี่ยนแปลงในอุปนิสัย 3 ข้อแรกจะทำให้คุณเกิดความมั่นใจในตนเอง คุณจะเรียนรู้ตนเองมากขึ้น รู้จักธรรมชาติของคุณ รู้จักคุณค่าที่มีในตัวคุณ เมื่อรู้สึกว่าชีวิตเป็นสิ่งที่มีค่า คุณจะรู้สึกมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี และควบคุมตัวเองได้อย่างมั่นใจ คุณจะสามารถกำหนดชีวิตของตนจากความรู้สึกข้างในมากกว่ามากจากที่กำหนดโดยความเห็นของผู้อื่น !
     
และเมื่อคุณเปิดให้กับอุปนิสัยที่ 4,5,6 คุณจะค้นพบศักยภาพของคุณในการฟื้นฟูความสัมพันธ์ที่เคยถูกตัดขาดออกไประหว่างคุณและคนอื่นๆ ความสัมพันธ์ใหม่นี้จะลึกซึ้ง มั่นคง และสร้างสรรค์มากกว่าเดิม !
 
ขอให้คุณมีความกล้าหาญที่จะเปิดประตูรับการเปลี่ยนแปลงไปข้างหน้าด้วยการศึกษาอุปนิสัยเหล่านี้ ไม่มีการลงทุนใดที่จะยิ่งใหญ่ไปกว่านี้อีกแล้ว !
     
   

ตอนหน้าเราจะมาดูรายละเอียดของอุปนิสัยแรก -BE PROACTIVE กันนะครับ .