7 อุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูง
     

 

โดย STEPHEN R. COVEY

เรียบเรียงโดย สงกรานต์ จิตสุทธิภากร

ย่อและสรุปใหม่โดย ฝ่ายมาตรฐานอาคาร

บริษัทแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด ( มหาชน )

 

เกริ่นนำ
  “7 อุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูง ” หรือในชื่อภาษาอังกฤษว่า “ THE 7 HABITS
OF HIGHLY EFFECTIVE PEOPLE ” เป็นหนังสือที่ STEPHEN R. COVEY เขียนในระหว่างปี 2513-2523 ซึ่งเขาได้แรงบันดาลใจมาจากการทำวิทยานิพนต์ระดับปริญญาเอกของเขาในหัวข้อ “ อะไรคือปัจจัยของความสำเร็จตลอด 200 ปีที่ผ่านมา ” สิ่งที่ทำให้หนังสือเล่มนี้ได้รับความสนใจอย่างมากทั่วโลกคือได้มีการพิสูจน์จากการ ปฏิบัติตามหลักการที่ระบุในหนังสือแล้วปรากฏว่าประสบผลสำเร็จจริง จนได้รับการยอมรับอย่างมากจากผู้บริหารระดับสูงสุดในองค์กรชั้นนำของโลกเช่น JAMES C. FLETCHER (NASA) , RICHARD M. DEVOS(AMWAY) , NOLAN ARCHIBALD(BLACK & DECKER) , TOM PETERS ( ผู้แต่งหนังสือเรื่อง IN SEARCH OF EXCELLENCE) , KEN BLANCHARD ( ผู้แต่งหนังสือเรื่อง ONE MINUTE MANAGER ) และบุคคลอื่นๆอีกมากมาย
   
  ผมเห็นว่าในเมื่อแนวคิดและวิธีปฏิบัติดังกล่าวได้สร้างความสำเร็จจากความมีประสิทธิผล
แก่หลายองค์กรทั่วโลกมาแล้ว จึงน่าจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กรของเราและผู้รับเหมาซึ่งเราถือเป็นหุ้นส่วนที่สำคัญยิ่งของเราในการพัฒนา “7 อุปนิสัย ” ดังกล่าวในการบรรลุเป้าหมายความมีประสิทธิผลอันจะนำประโยชน์ที่ยั่งยืนร่วมกันของทุกฝ่ายต่อไป

 

ภาพรวมของ 7 อุปนิสัย

 

 
“ เราในวันนี้เป็นผลจากการที่ได้ปฏิบัติซ้ำกันหลายๆครั้ง หลังจากนั้น ความเป็นเลิศ ก็ไม่ใช่สิ่งที่ต้องจำใจปฏิบัติอีกต่อไป แต่มันกลายเป็นอุปนิสัยที่เรายินดีทำเพราะความเคยชิน ”
   
อริสโตเติล
   
   
อุปนิสัยในตัวเราหลายๆอย่างประกอบขึ้นมาเป็น “ คุณลักษณะ ” ของเราดังคำกล่าวที่ว่า
   
  “ ปลูกความคิด - ผลที่ได้คือการกระทำ
  ปลูกการกระทำ - ผลที่ได้คืออุปนิสัย
  ปลูกอุปนิสัย - ผลที่ได้คือคุณลักษณะ
  ปลูกคุณลักษณะ - ผลที่ได้คือ ชะตาชีวิต ”
 
อุปนิสัยเป็นปัจจัยสำคัญต่อชีวิต เพราะมันเกิดขึ้นตลอดเวลาจนเกือบจะไม่รู้ตัว มันบ่งบอกและประกาศแก่ผู้อื่นว่าเราเป็นผู้มีประสิทธิผลหรือไม่เพียงใด และความมีประสิทธิผลนี้แหละที่จะเปลี่ยนชะตาชีวิตของเรา !

การเปลี่ยนแปลงอุปนิสัยนั้นยากเพราะ ต้องใช้พลังมหาศาล เปรียบเหมือนจรวดที่กำลังขับเคลื่อนขึ้น ไปในอวกาศที่ต้องออกแรงมหาศาลเพื่อต้านแรงโน้มถ่วงของโลก การทำลายอุปนิสัยเก่าๆเช่น การผลัดวันประกันพรุ่ง การขาดความอดทน การชอบวิพากษ์วิจารณ์ การเห็นแก่ตัว ความมักง่าย ความย่อหย่อนต่อปัจจัยความยั่งยืน ที่ล้วนแล้วแต่ละเมิดหลักการพื้นฐานของการมีประสิทธิผลนั้น
 
การเอาชนะมันต้องอาศัยความพยายามอย่างมาก แต่เมื่อหลุดพ้นจากมันได้แล้ว อิสรภาพที่เราได้รับจะนำเราไปสู่ มิติใหม่ซึ่งนำประโยชน์มาให้มหาศาลจนอาจทำให้เราประหลาด ใจว่า “ ทำไมเราจึงไม่ทำมาก่อนหน้านี้ ?” เหมือนดาวเทียมที่ ลอยอยู่ในอวกาศที่ใช้พลังเพียงน้อยนิดก็ สามารถเดินทางไปสู่ที่หมายใหม่ได้อย่างง่ายดาย !  
   

 

นิยามของคำว่า “ อุปนิสัย ( HABIT)”  
   
  “ อุปนิสัย ” ในที่นี้หมายถึงองค์ประกอบที่เกิดขึ้น จากส่วนผสมของ ความรู้ ทักษะ และ
ความปรารถนา ความรู้คือสิ่งที่เราเคยพบประสบมาก่อนแล้วจำเก็บไว้ในสมองว่า - ทำอะไร - ทำไมจึงทำ ทักษะคือสิ่งที่เราทำบ่อยๆจนเกิดความเคยชินว่า - ทำอย่างไร ความปรารถนาเป็นแรงจูงใจต่อความต้องการที่ - จะทำในอนาคต
   
  จะเห็นได้ว่าหากในทุกๆวันเรามีความรู้ใหม่ๆเกิดขึ้นทุกวัน ทำให้เกิดทักษะใหม่ๆทุกวัน
จนกระทั่งเกิดความปรารถนาใหม่ๆทุกวัน การเปลี่ยนแปลงตัวตนและโลกทัศน์เป็นขบวนการที่ขยายวนขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง ( UPWARD SPIRAL ) ตัวตนจะเปลี่ยนโลกทัศน์ ในทางกลับกัน โลกทัศน์ก็จะเปลี่ยนตัวตน ดังนั้นเมื่อใดก็ตามที่เราทำด้วยความรู้ ทักษะ และความปรารถนาที่สูงขึ้น เราก็จะสามารถทะลุไปสู่ระดับที่สูงกว่าเดิมได้ ทั้งในแง่ส่วนตนและความสัมพันธ์กับผู้อื่น สิ่งที่น่าแปลกคือคนส่วนใหญ่มักจะสรุปเอาเองว่าสิ่งที่เราเคยคิด เคยทำแบบเดิมๆนั้นให้ความมั่นคงที่สุดแก่เรา........และมักจะคิดว่าการเปลี่ยนแปลงมักจะนำมาซึ่งความเจ็บปวด ! ทั้งๆที่ในความเป็นจริงแล้วเรายังไม่มีความชัดเจนเลยว่าสิ่งที่เรา “ คุ้นเคย ” นั้นดีที่สุดแล้วจริงหรือ ? เรารู้ได้อย่างไรว่ามันดีที่สุดในเมื่อยังมีอีกหลายสิ่งที่เรายังไม่ได้เห็น ? และวิธีหนึ่งเดียวที่เราจะมองเห็นสิ่งที่ “ ไม่เคยเห็น ” ได้ก็คือ “ การคิดนอกกรอบเดิม ” หรือ “ การเห็นด้วย - จินตนาการ ” !
   
“ การคิดนอกกรอบ ” ที่ว่านั้นก็คือ “ อุปนิสัย นั้นเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ ! พัฒนาได้ !”
   
   
  “ อุปนิสัย ” ที่จะกล่าวถึงต่อจากนี้ไปจะประกอบด้วย :
  1-BE PRO-ACTIVE
  2- เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ
  3- ทำสิ่งที่สำคัญก่อน
  4- คิดแบบ ชนะ - ชนะ
  5- เข้าใจผู้อื่นก่อน - แล้วจึงให้ผู้อื่นเข้าใจเรา
  6- ผนึกกำลังประสานความต่าง
  7- การหมั่นลับเลื่อยให้คมอยู่เสมอ
   
   
จะเห็นได้ว่า อุปนิสัย 1,2,3 นำไปสู่ “ ชัยชนะส่วนตน ” ส่วนอุปนิสัย 4,5,6 ซึ่งนำไปสู่ “ ชัยชนะต่อสังคม ” ส่วนข้อ 7 เป็นตัวควบคุมให้ทั้ง 6 ข้อเป็นไปอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง “ ชัยชนะส่วนตน ” จะต้องมาก่อน เกิดขึ้นก่อน “ ชัยชนะต่อสังคม ” จึงจะเป็นจริงได้ ! จึงไม่น่าแปลกใจที่เราจะเห็นประเทศที่พัฒนาแล้วจะยิ่งเจริญหนีทิ้งห่างเราไปแบบอัตราเร่ง เพราะประชาชนของเขาสามารถช่วยเหลือตนเองได้ พึ่งตนเองได้ รัฐบาลของเขาใช้สมองมุ่งไปในเรื่องสร้างโอกาสด้านความเจริญอื่นๆได้เต็มที่ ไม่ต้องคอยอุ้มประชาชนมากเหมือนอย่างเราที่จะไปข้างหน้าก็ต้องคอยพะวงหลังเหมือนเตี้ยอุ้มค่อม ! จึงไม่น่าแปลกใจที่ประเทศที่เจริญแล้วอย่างอเมริกาจะมีคติประจำชาติเช่น :
  SELF SUFFICIENCY ( การพึ่งพาตนเอง )
  CAN-DO SPIRIT ( หากเรากล้าที่จะทำอะไร ทุกสิ่งเป็นไปได้เสมอ )
  DON'T ASK WHAT THE COUNTRY CAN DO FOR YOU , BUT WHAT YOU CAN DO FOR YOUR COUNTRY ! ( อย่าถามว่าประเทศจะทำอะไรให้คุณ แต่จงถามว่าคุณจะให้อะไรแก่ประเทศ )
     
     
ตอนหน้าเราจะไปทำความรู้จักกับปัจจัยแต่ละข้อของ 7 อุปนิสัยกันครับ