TQM-episode-45
 
Managers:
Managing System
 

ความเดิมตอนที่แล้ว เราอยู่ในโครงสร้างที่ 2 ข้อที่ 6.3 จากทั้งหมด 4 โครงสร้างที่ปรากฎเค้าโครงต่อไปนี้ :

 

ก่อนที่จะเข้าสู่โครงสร้างที่ 2 ข้อที่ 6 ขอทบทวนโครงสร้างหลักทั้งหมดมีดังต่อไปนี้ :

TQM ประกอบไปด้วย 4 โครงสร้างหลัก (Module) และ 20 ข้อย่อย :

โครงสร้างที่ 1-ความเป็นผู้นำ (Leadership):

1 -นโยบายของผู้บริหารระดับสูง (CEO)
2 -การยืนยันการทำนโยบายให้เป็นจริง
3 -การจัดการด้านระบบ
4 -การจัดการด้านบุคลากร

 
โครงสร้างที่ 2-สภาพแวดล้อมของการทำงาน (The work environment):

5 -การกำจัดและการเก็บวัสดุ
6 -สุขอนามัยและสุขภาพ
7 -ความปลอดภัย

 

โครงสร้างที่ 3-ระบบและเครื่องมือ (Systems and tools) :

8  -การสร้างมาตรฐาน
9  -การแก้ปัญหา
10-กลุ่มย่อยคุณภาพ (QC Circles)
11-การใช้สถิติ
12-การให้ความรู้และการอบรม

 

โครงสร้างที่ 4-การผลิตและการขาย (Production and sales) :

13-การควบคุมการผลิต
14-การควบคุมขบวนการผลิต
15-การตรวจสอบ
16-การจัดการภายในสถานประกอบการผลิตและการใช้อุปกรณ์
17-การวัด
18-การจัดการร้านค้าที่ส่งวัตถุดิบ
19-การบริการหลังการขาย
20-การออกแบบและการพัฒนา

 
 
 
คราวนี้เราจะว่ากันต่อที่โครงสร้างที่ 2 ข้อ 6
6 -สุขอนามัยและสุขภาพ มี 5 หัวข้อย่อยดังนี้ :

6.1 การรักษาความสะอาดในที่ทำงาน
6.2 การทำกิจกรรม 5 ส
6.3-การรักษาระดับความเหมาะสมของ : ความสว่าง อุณหภูมิ และความชื้น
6.4-การลดเสียงรบกวน  กลิ่นที่ไม่พึงประสงค์  ความสั่นสะเทือน  และฝุ่นละออง
6.5-การป้องกันการเกิดมลภาวะแก่สิ่งแวดล้อม : การกำจัดของเสียที่เกิดจากการผลิต

 
 
เรามาลงรายละเอียดข้อ 6.4 กัน :

6 -สุขอนามัยและสุขภาพ

6.4-การลดเสียงรบกวน  กลิ่นที่ไม่พึงประสงค์  ความสั่นสะเทือน  และฝุ่นละออง
1.สภาวะที่สบายในที่ทำงานที่ถูกสุขอนามัยประกอบด้วยการปราศจากเสียงรบกวน กลิ่นเหม็น การสั่นสะเทือน และฝุ่นละอองในอากาศ ปัจจัยดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ด้วยการกำหนดค่าออกมาเป็นตัวเลขที่มีมาตรฐานในการวัด ด้วยเหตุผลเดียวกันนี้ สินค้าที่ผลิตเสร็จแล้วและเครื่องมือที่ใช้ทำงานก็ต้องมีการกำหนดค่าเหล่านี้ที่เหมาะสมเช่นกัน
 

เสียงรบกวน

2.สถานที่ทำงานต้องออกแบบให้มีการป้องกันเสียงรบกวนต่างๆไม่ว่าจากที่ใด จากภายนอก หรือจากเครื่องจักร หรือแม้กระทั่งคนงานที่ทำงานใกล้เครื่องจักรก็ต้องใส่อุปกรณ์ปิดหูเพื่อกันเสียง

 

กลิ่นเหม็น

3.สถานที่ทำงานที่มีการปล่อยกลิ่นต่างๆต้องมีการวางมาตรการต่อไปนี้ :
a.ติดตั้งเครื่องกรองกลิ่น ที่เหมาะสมกับกลิ่นที่ขบวนการผลิตปล่อยออกมาจากเครื่องจักร
b.การส่งกลิ่นจากเครื่องจักรเข้าสู่ระบบขจัดกลิ่นด้วยสารเคมีกำจัดกลิ่น
c.ก่อนปล่อยกลิ่นสู่สาธารณะต้องมีการบำบัดให้ถูกสุขลักษณะต่อสิ่งแวดล้อมเสมอ

การสั่นสะเทือน

4.เนื่องจากการสั่นสะเทือนรบกวนการทำงานของมนุษย์ จึงต้องมีการวางมาตรการในที่ทำงานต่อไปนี้ :
a.การออกแบบระบบซึมซับการสั่นสะเทือนที่เกิดจากเครื่องจักร เช่นการรองรับด้วยยางหรือ สปริง
b.การแยกพื้นที่มีการสั่นสะเทือนออกจากพื้นที่มีคนทำงาน
c.การติดตั้งอุปกรณ์วัดการสั่นสะเทือน กำหนดค่าที่เหมาะสม การบันทึกค่าการสั่นสะเทือนเพื่อจะได้ตรวจตราเมื่อมีการสั่นเกินค่าที่กำหนดไว้

 

ฝุ่นละออง

5.ฝุ่น-ในทางวิทยาศาสตร์หมายถึงละอองที่ลอยมาในอากาศ (มาตรฐานฝุ่นหมายถึงอนุภาคที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 10 micron ลงไป จะต้องไม่มากกว่า 0.20 mg ต่อลิตรของอากาศต่อชั่วโมงที่วัดผ่านเครื่องวัด) เป็นสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ก่อให้เกิดความไม่สะบายในการหายใจ การกำจัดฝุ่นจึงเป็นสิ่งจำเป็นต่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพด้วยมาตรการต่อไปนี้ :
a.ติดตั้งเครื่องดักฝุ่นที่เครื่องจักรที่ก่อให้เกิดฝุ่น และในที่ทำงานพร้อมกับวางตารางในการกำจัดฝุ่นที่ดักไว้ทิ้งเสีย
b.ติดตั้งเครื่องวัดปริมาณฝุ่นในอากาศ และให้มีระบบการระบายอากาศในที่ทำงาน
c.เมื่อค่าระดับฝุ่นสูงกว่าค่ามาตรฐาน ต้องหาสาเหตุและแก้ไขให้ลดลงได้ตามมาตรฐาน
d.พนักงานที่ทำงานที่ก่อให้เกิดฝุ่น จะต้องมีการใส่หน้ากากป้องกันฝุ่น

การเก็บสต๊อคสินค้าที่ผลิตเสร็จแล้ว และเครื่องมือในสภาวะที่เหมาะสม

6.ไม่ว่าสินค้าหรืออุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ทำงานก็ต้องมีมาตรฐานในการเก็บดังนี้ :
a.ต้องกำหนดสถานที่เก็บให้สินค้าและเครื่องมือสะอาด ปราศจากฝุ่น มีอุณหภูมิ ความชื้นที่เหมาะสมที่จะไม่ทำให้เกิดความเสียหาย หรือเป็นสนิม
b.ป้องกันการรั่วน้ำจากภายนอกที่อาจเกิดกับสถานที่เก็บของ
c.การกองเก็บต้องมีการติดป้ายรายละเอียดสินค้าเพื่อให้ง่ายต่อการหยิบ
d.ทำความสะอาดสิ่งของที่เก็บอย่างสม่ำเสมอ

 
 

“สภาวะแวดล้อมในที่ทำงานที่เหมาะสม” เป็นสิ่งจำเป็นต่อสุขลักษณะของผู้ปฏิบัติงาน หากผู้ปฏิบัติงานห้อมล้อมด้วยความไม่ถูกสุขลักษณะ การผลิตที่มี “คุณภาพ” คงเป็นไปไม่ได้ !

 

ในขณะเดียวกัน “คุณภาพของสินค้าที่จะขาย หรือเครื่องมือที่จะใช้” ก็ต้องได้รับการเอาใจใส่ !
“คุณภาพ” ของ UNIDO จึงครอบคลุมทุกจุด และเป็น TOTAL QUALITY  MANAGEMENT !

 
 
พิชัย อรุณพัลลภ
Department of Quality Management
…where endless devotion is our commitment…