TQM-episode -35 |
![]() |
Managers: Managing System |
บทความเรื่อง TQM ที่ฝ่ายมาตรฐานอาคารนำเสนอมาตลอด 34 ตอนที่ผ่านมานั้น เป็นการจบโครงสร้างที่1ซึ่งพูดถึงบทบาทของ “ความเป็นผู้นำ” ซึ่งสมาคมมาตรฐานอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (Japanese Standards Association), และองค์การสหประชาชาติ สำนักพัฒนาอุตสาหกรรม (United Nations , Industrial Development Organization) เห็นว่าสำคัญที่สุดในฐานะ “กระดุมเม็ดแรก” จากกรอบโครงสร้างทั้งหมดที่จะต้องมีครบทั้ง 4 โครงสร้างเพื่อให้แนวคิด TQM เป็นจริงสมดัง “เจตนารมณ์ของธุรกิจที่ต้องการดำรงค์อยู่ด้วยความสามารถในการแข่งขันได้” ท่ามกลางสภาวะแวดล้อมที่มีการแข่งขันสูง และที่ทำให้เพิ่มความท้าทายยิ่งขึ้นไปอีก คือปัจจุบันเศรษฐกิจโลกมีความผันผวนอย่างมากจนไม่มีองค์กรไหนที่จะยอมเสี่ยงด้วยการบริหารงานอย่างประมาทด้วยประสิทธิภาพที่ต่ำ TQM ก็ยิ่งมีความจำเป็นเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ! |
ก่อนที่จะเข้าสู่โครงสร้างที่ 2 ขอทบทวนโครงสร้างหลักทั้งหมดมีดังต่อไปนี้ : |
TQM ประกอบไปด้วย 4 โครงสร้างหลัก (Module) และ 20 ข้อย่อย : |
โครงสร้างที่ 1-ความเป็นผู้นำ (Leadership): |
1 -นโยบายของผู้บริหารระดับสูง (CEO) |
โครงสร้างที่ 2-สภาพแวดล้อมของการทำงาน (The work environment): |
5 –การกำจัดและการเก็บวัสดุ |
โครงสร้างที่ 3-ระบบและเครื่องมือ (Systems and tools) : |
8 -การสร้างมาตรฐาน |
โครงสร้างที่ 4-การผลิตและการขาย (Production and sales) : |
13-การควบคุมการผลิต |
โครงสร้างที่ 2-สภาพแวดล้อมของการทำงาน (The work environment): |
5 -การกำจัดและการเก็บวัสดุ |
6 -สุขอนามัยและสุขภาพ |
7 -ความปลอดภัย |
5-การกำจัดและการเก็บวัสดุ |
5.1-การย้ายสิ่งที่ไม่จำเป็นต่อการใช้งานออกจากพื้นที่ |
5.1-การย้ายสิ่งที่ไม่จำเป็นต่อการใช้งานออกจากพื้นที่ |
1-พื้นที่ทำงานที่เรียบร้อย เป็นระเบียบ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และให้ความเจริญใจต่อผู้ทำงาน ปกติเราจะเห็นสิ่งของรกรุงรังทั้งๆ ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการทำงานอยู่ด้วยอยู่ 2 ประเภท : |
![]() |
a.สิ่งที่จะไม่มีวันถูกใช้ในอนาคต จงกำจัดข้อแรกทิ้งไปจากพื้นที่ และจัดวางข้อที่สองให้เป็นระเบียบด้วยชั้นวางของเป็นต้น การทำดังนี้จะช่วยทำให้มีพื้นที่ทำงานมากขึ้น การจราจรสะดวกขึ้น อุบัติเหตุจากการเดินสะดุดลดลง ทำให้การทำงานได้ชิ้นงานมากขึ้นหรือเร็วขึ้น เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ |
2-การคัดสรรแยกแยะสิ่งที่จะใช้งานหรือจะไม่ใช้งานข้างต้นควรทำอย่างเป็นระบบดังนี้ : |
![]() |
a.วางเกณฑ์ที่จะใช้แยกแยะว่า “สิ่งที่จะใช้หรือไม่ใช้ดูอย่างไร?” |
การวางเกณฑ์ในการแยกแยะสิ่งที่จะใช้งานจะต้องมีความชัดเจนในรายละเอียดดังนี้ : |
3-ทำเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อเลี่ยงการใช้วิจารณะญาณของคนแต่ละคนที่อาจแตกต่างกัน |
4-สิ่งที่ไม่ต้องใช้อาจแบ่งออกได้หลายประเภท : |
![]() |
a.ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตเสร็จแล้ว หรือผ่านแผนกหนึ่งๆที่พร้อมสำหรับแผนกต่อไป ชิ้นงานต้นแบบ ชิ้นส่วนสำหรับในการผลิตที่มีมากเกินกว่าจำนวนที่ต้องผลิตในช่วงเวลาหนึ่งๆ เช่นในวันหนึ่งๆเป็นต้น |
5-มีหลายสิ่งที่เราเคยใช้ในอดีตแต่จะไม่ใช้ในปัจจุบันหรือในอนาคตที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงดังนี้ : |
![]() |
a.เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ถูกเปลี่ยน b.ขบวนการผลิตที่เปลี่ยน c.การเปลี่ยน Spec d.การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการร้องขอของลูกค้า e.สิ่งของที่หมดอายุตาม Expiry date |
การหาวิธีแยกประเภทสิ่งที่อาจจะต้องกลับมาใช้ใหม่ และสิ่งที่มั่นใจว่าจะไม่มีการใช้ใหม่ |
6-ควรหาวิธีที่จะทำให้ผู้ที่จะเกี่ยวข้องสามารถเห็นสิ่งที่เราแยกแยะด้วยวิธีที่สังเกตได้ง่าย เช่นการผูกโบว์สีไหนแปลว่า : |
![]() |
a.ชิ้นไหนมีตำหนิที่ต้องซ่อมแซม |
7-การระบุข้อมูลที่แยกแยะในข้อ 6 มีหลายวิธี : |
![]() |
a.การใช้สี |
การกำหนดตัวผู้รับผิดชอบต่อรายการที่จะไม่ใช้ |
8-การมีผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจนมีประโยชน์อย่างมาก บุคคลนั้นจะต้องตัดสินใจในเรื่อง |
![]() |
a.รายการไหนที่ไม่ต้องใช้ |
การกำหนดสถานที่เก็บสำหรับรายการที่จะใช้ |
9-วัตถุดิบในการผลิตต้องแยกออกจากสินค้าที่ผลิตเสร็จแล้ว เราอาจจัดได้เป็น 2 ประเภท |
![]() |
a.รายการที่ทั้งบริษัทสามารถเข้าถึงได้ง่ายเพราะใช้ |
การสร้างขบวนการในการกำจัดสิ่งที่ไม่ต้องการอีกแล้ว |
10-การกำจัดสิ่งที่จะไม่ใช้อีกต่อไปมีขั้นตอนดังนี้ : |
![]() |
a.ผ่านการคัดแยกตามลายลักษณ์อักษรที่วางไว้ในขั้นตอนแรกอย่างเคร่งครัด |
“การแยกแยะสิ่งที่จะใช้หรือไม่ใช้” ดูผิวเผินอาจจะเป็นเรื่องยิบย่อย แต่เมื่อดู “ประโยชน์และผลกระทบหากไม่มีการแยกแยะ” ที่จะที่มีต่อเรื่อง “การเพิ่มประสิทธิภาพ” แล้ว กลับทำให้เราตระหนักว่าแท้จริงแล้ว “เป็นเรื่องใหญ่” ! |
Key words ของเรื่องนี้คือ ความชัดเจน การสื่อสาร ความปลอดภัย คุณภาพของสินค้าจากการไม่มีความเสี่ยงจากการหยิบวัตถุดิบที่ไม่สมบูรณ์ไปผลิต ! |
พิชัย อรุณพัลลภ |
Department of Quality Management |
…where endless devotion is our commitment… |