TQM-episode -16 |
![]() |
|
![]() |
Managers:
|
จาก TQM-episode-1 เราทราบว่า TQM มีทั้งหมด 4 โครงสร้างหลัก (Module) และ 20 ข้อย่อยดังนี้ : |
โครงสร้างที่ 1-ความเป็นผู้นำ (Leadership): |
3 -การจัดการด้านระบบ | |
4 -การจัดการด้านบุคลากร |
โครงสร้างที่ 2-สภาพแวดล้อมของการทำงาน (The work environment): | |
![]() |
5 –การกำจัดและการเก็บวัสดุ |
6 -สุขอนามัยและสุขภาพ | |
7 -ความปลอดภัย |
โครงสร้างที่ 3-ระบบและเครื่องมือ (Systems and tools) : |
8 -การสร้างมาตรฐาน | |
9 -การแก้ปัญหา | |
10-กลุ่มย่อยคุณภาพ (QC Circles) | |
11-การใช้สถิติ | |
12-การให้ความรู้และการอบรม |
โครงสร้างที่ 4-การผลิตและการขาย (Production and sales) : | |
![]() |
13-การควบคุมการผลิต |
14-การควบคุมขบวนการผลิต | |
15-การตรวจสอบ |
|
16-การจัดการภายในสถานประกอบการผลิตและการใช้อุปกรณ์ | |
17-การวัด | |
18-การจัดการร้านค้าที่ส่งวัตถุดิบ | |
19-การบริการหลังการขาย | |
20-การออกแบบและการพัฒนา |
ในขณะนี้เราเพิ่งอยู่ในโครงสร้างหลักที่ 1 ที่ถือว่าสำคัญที่สุดของการทำ TQM นั่นก็คือ “ทัศนคติของผู้บริหาร” ใน “การวางวิสัยทัศน์” และ “ออกแบบระบบ” เพื่อที่จะทำให้องค์กรได้ TQM สมดังปรารถนา ! |
3.1-การนำนโยบายของ CEO ไปทำเป็นแผนปฏิบัติรายปี |
3.2-การสร้างขอบเขตในความรับผิดชอบให้ชัดเจนในแต่ละฝ่าย |
3.3-การกำหนดงานที่ต้องทำ |
3.4-การสร้างความมั่นใจว่าพนักงานเข้าใจเป้าหมายของงานและทำอย่างถูกต้อง |
3.5-การติดตามผลการทำงานของผู้จัดการในการบรรลุเป้าหมาย |
3.6-การติดตาม “คุณภาพ” ที่ฝ่ายต่างๆผลิตออกมาอย่างเป็นรูปธรรม |
3.7-การจัดการกับข้อบกพร่อง |
3.8-การสร้างความตื่นตัวต่อ “ความผิดปกติ” ที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต |
3.9-การบันทึกข้อมูลที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ |
3.10-การใช้วิธีการที่เป็นระบบในขบวนการพัฒนาคุณภาพ |
3.11-การนำเสนอความคืบหน้าในงานคุณภาพของฝ่ายต่างๆอย่างต่อเนื่อง |
3.12-การสร้างขบวนการทำรายงานและการเก็บบันทึก |
3.1-การนำนโยบายของ CEO ไปทำเป็นแผนปฏิบัติเป็นรายปี |
|
![]() |
ถึงตอนนี้อาจมีคนคิดว่า UNIDO และ JSA ทำไมจึงจุกจิกยิบย่อย แต่หากเรายอมรับ “ความสำเร็จของชาวญี่ปุ่นในการเป็นผู้นำเรื่องคุณภาพ” แล้วละก็ เราต้องเข้าใจว่า มันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลยที่ CEO จะคิดฝันไปคนเดียวว่าองค์กรจะต้องยั่งยืนจากการมีคุณภาพ หากฝ่ายต่างๆไม่รับนโยบายนั้นไปถ่ายทอดแก่พนักงานในฝ่ายต่างๆอย่างเป็นระบบ และทำเป็นแผนรายปีโดยมีความชัดเจนในรายละเอียดในแผนปฏิบัติดังนี้ : |
a.-การปรึกษาและร่วมกันวางแผนปฏิบัติรายปีของพนักงานและผู้จัดการฝ่ายนั้นๆ |
b.-การสร้างความมั่นใจว่าพนักงานทุกคน “เข้าใจเป้าหมาย” และ “วิธีปฏิบัติ” ที่ร่วมกันวางไว้ |
c.-การทำงานอย่างใกล้ชิดของผู้จัดการในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างดำเนินการตามแผนนั้นๆ |
จากการปรึกษาและกำหนดเป้าหมายและวิธีการร่วมกันดังกล่าว สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาก็คงหนีไม่พ้นงานต่างๆดังต่อไปนี้ : |
a.-การกำหนดค่าเป้าหมายเป็นตัวเลขเพื่อช่วยให้ง่ายต่อการวัดการบรรลุ เช่นการกำหนดเป็น KRA (Key Result Area) และ KPI (Key Performance Index) หรืออาจเป็นวิธีอื่นๆที่เป็นระบบที่วัดได้ |
b.-การบันทึกค่าต่างๆให้มากพอและต่อเนื่องพอเพื่อนำมาสร้างเป็นสถิติ |
c.-การนำเสนอสถิติให้พนักงานเข้าใจง่ายด้วยรูปแบบเป็นกราฟเพื่อให้พนักงานเห็น “ความแตกต่างระหว่างเป้าหมายกับสิ่งที่ทำได้จริง” |
d.-การร่วมกันปรึกษาเพื่อลด “ความแตกต่าง” ในข้อ c. ให้หมดไป หรือแม้กระทั่งการปรึกษาถึง “ความสมเหตุสมผลของเป้า” ที่วางไว้ว่ามัน “สูงไป หรือ ต่ำไป” หรือแม้กระทั่ง “เป้าที่ผิดประเด็นที่ไม่ส่งผลต่อคุณภาพที่องค์กรต้องการ” จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเป้าไปสู่สิ่งที่มีนัยสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายมากกว่าเดิม |
คำว่า “คุณภาพทั่วทั้งองค์กร” จึงไม่ใช่ “สิ่งที่ CEO ต้องการ” เท่านั้น หากแต่เป็น “ทุกๆคนในทุกๆฝ่ายต้องการจากการมี-ความเข้าใจและ-มีการสร้างวิธีการบรรลุร่วมกัน” และ “พัฒนาวิธีการบรรลุอย่างต่อเนื่อง” นั่นเอง !! |
|
พิชัย
อรุณพัลลภ |
Department
of Quality Management |
![]() |
|