TQM-episode -14

 

Chief Executive Officer

Managing Policy
หลังจากผ่านไป 9 งานแรกไปแล้ว  CEO ก็ต้องทำงานที่ 10 จากทั้งหมด 11 งานในการผลักดันนโยบายซึ่งประกอบด้วย :
2.1  -การประชาสัมพันธ์นโยบายให้เป็นที่ทราบทั่วกันทั้งบริษัท
2.2  -การวางโครงสร้างองค์กรที่ชัดเจน
2.3  -การวางระบบที่จะรับมือกับสถานการณ์วิกฤติ
2.4 -การสร้างความพอใจแก่ลูกค้า 
2.5 -การพัฒนาบุคลากร 
2.6  -การทำการควบคุมคุณภาพ 
2.7 -การวิเคราะห์ตรวจสอบว่าระบบทำงานของทุกฝ่ายอยู่ในกรอบที่รองรับงานคุณภาพ 
2.8 -การสร้างคู่มือเพื่อการควบคุม การตรวจสอบ กฏเกณฑ์ในการทำงาน มาตรฐานของสินค้าและการทำงาน 
2.9. -การสร้างระบบควบคุมคุณภาพในสายงานที่ไม่ใช่การผลิต

2.10-การประสานงานกับหน่วยงานมหาวิทยาลัย และหน่วยงานที่ทำวิจัย

2.11-การสร้างความเข้มแข็งด้านการแข่งขันในระดับสากล

 
 
2.10-การประสานงานกับหน่วยงานมหาวิทยาลัย และหน่วยงานที่ทำวิจัย
 

บริษัทของคุณอาจตัดสินใจแล้วว่าจะพัฒนาสินค้าใหม่ขึ้นมาชิ้นหนึ่ง แต่ขาดเทคโนโลยีที่จะใช้ผลิต ขาดวิธีทดสอบคุณภาพ ขาดวิธีที่จะใช้วัดประสิทธิภาพและประสิทธิผล และขาดวิธีในการปรับพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับขบวนการในการผลิตนั้นๆ

วิธีที่บริษัทชั้นนำใช้แก้ปัญหาการขาดแคลนสิ่งที่จำเป็นที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นก็คือการขอความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันที่ทำวิจัยที่มีเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญเหล่านั้น
ขั้นตอนของการสร้างระบบความร่วมมือดังกล่าวมีดังนี้ :

a.-กำหนดเป้าหมายและขอบเขตของการขอความร่วมมือและการทำวิจัยรวมทั้งกำหนดเวลาในการบรรลุเป้าหมายให้ชัดเจนที่สุด

b.-ร่างข้อตกลงในการทำวิจัยร่วมกันที่ครอบคลุมถึงการเก็บข้อมูลในการวิจัยให้เป็นความลับและการจดสิทธิบัตร ค่าใช้จ่ายในระหว่างทำวิจัย ทั้งบริษัทของคุณและหน่วยงานที่ทำวิจัยจะต้องทำเป็นหนังสือข้อตกลงนี้เป็นลายลักษณ์อักษรพร้อมทั้งลงนามและถือไว้ฝ่ายละฉบับ

c.-สร้างระบบสื่อสารที่มีประสิทธิภาพระหว่างกันเช่นโทรศัพท์สายตรงเพื่อการประสานงานกันที่จะมีบ่อยครั้งได้อย่างสะดวก

d.-วางแผนเผื่อความล่าช้าของการวิจัยล่วงหน้าไว้ด้วย

e.-ในเอกสารข้อตกลงจะต้องระบุถึงเรื่องการแบ่งปันข้อมูลและผลความคืบหน้าจากการวิจัยไว้ด้วย

f.-ในข้อตกลงจะต้องระบุถึงการแบ่งความรับผิดชอบของค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการวิจัยของแต่ละฝ่ายอย่างชัดเจน

g.-หากทำการวิจัยกับบริษัทต่างชาติ จะต้องสร้างความชัดเจนในเรื่องของภาษา วัฒนธรรมในการทำธุรกิจและวิธีปฏิบัติที่มีความแตกต่างกัน รวมถึงการใช้มาตรฐานเดียวกันในการเขียนแบบเพื่อให้การสื่อสารมีความชัดเจนที่สุด
 
 

 

แม้คำว่า “คุณภาพทั่วทั้งองค์กร” ฟังดูเหมือนเป็นเรื่อง “ภายในองค์กร” แต่ในเชิงธุรกิจแล้ว บ่อยครั้งก็จำเป็นที่จะต้องพึ่งพา “ศักยภาพที่องค์กรขาดแคลน” อย่างเช่นจากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันวิจัยเพื่อเพิ่ม “ความสามารถในการแข่งขันด้านคุณภาพ” แก่องค์กรซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดนั่นเอง !
 
 

 

พิชัย  อรุณพัลลภ
Department of Quality Management