TQM-episode -10

 

Chief Executive Officer

Managing Policy
หลังจากผ่านไป 5 งานแรกไปแล้ว  CEO ก็ต้องทำงานที่ 6 จากทั้งหมด 11 งานในการผลักดันนโยบายซึ่งประกอบด้วย :
2.1  -การประชาสัมพันธ์นโยบายให้เป็นที่ทราบทั่วกันทั้งบริษัท
2.2  -การวางโครงสร้างองค์กรที่ชัดเจน
2.3  -การวางระบบที่จะรับมือกับสถานการณ์วิกฤติ
2.4 -การสร้างความพอใจแก่ลูกค้า 
2.5 -การพัฒนาบุคลากร 

2.6  -การทำการควบคุมคุณภาพ

2.7  -การวิเคราะห์ตรวจสอบว่าระบบทำงานของทุกฝ่ายอยู่ในกรอบที่รองรับงานคุณภาพ
2.8  -การสร้างคู่มือเพื่อการควบคุม การตรวจสอบ กฏเกณฑ์ในการทำงาน มาตรฐานของสินค้าและการทำงาน
2.9  -การสร้างระบบควบคุมคุณภาพในสายงานที่ไม่ใช่การผลิต
2.10-การประสานงานกับหน่วยงานมหาวิทยาลัย และหน่วยงานที่ทำวิจัย
2.11-การสร้างความเข้มแข็งด้านการแข่งขันในระดับสากล
2.6  -การทำการควบคุมคุณภาพ

หาก CEO ต้องการสร้างระบบคุณภาพ CEO จะต้องสร้างความมั่นใจด้วย “การตรวจสอบระบบคุณภาพ (Quality audit)” เพื่อ “รู้สถานะ” ของเรื่องที่จำเป็นดังนี้ :

a.-มีการทำกิจกรรมงานคุณภาพตามที่วางแผนไว้หรือไม่
b.-กิจกรรมที่ทำนั้นได้บรรลุเป้าที่วางไว้หรือไม่
c.-กิจกรรมเหล่านั้นมีความเหมาะสมหรือไม่

เพื่อให้ได้ประโยชน์จากการตรวจสอบอย่างเต็มที่ CEO จะต้องจัดให้มีการประชุมเพื่อปรึกษากันในหัวข้อต่างๆเหล่านี้ :

 
a.-การกำหนดเป้าหมายประจำปี
b.-ขอบเขตของระดับคุณภาพที่ต้องการบรรลุ
c.-ผลสัมฤทธิ์ที่ทำได้
d.-ผลการประเมินคุณภาพของผู้รับเหมาช่วงและ Suppliers ของผู้รับเหมาช่วง

e.-สถานการณ์ของสิ่งที่อยู่เหนือการควบคุมและวิธีที่ใช้วัดการเกิดเหตุที่อยู่เหนือการควบคุมรวมทั้งมาตรการป้อง

    กันการเกิดซ้ำ
f.-อัตราการเกิดสินค้าด้อยคุณภาพและวิธีที่ใช้วัดการเกิดซ้ำ
g.-รายงานการเปลี่ยนขบวนการผลิตและระบบการเตือนภัยก่อนที่จะเกิดสินค้าด้อยคุณภาพ
h.-การปรับปรุงคู่มืองานคุณภาพ กฎและกติกาในการทำงานคุณภาพ
i.-กิจกรรมที่สร้างความต่อเนื่องของระบบคุณภาพ

(ISO 8402 จำกัดความหมายของ “การตรวจสอบระบบคุณภาพ” ไว้ว่า :  “การตรวจสอบระบบคุณภาพ” คือการตรวจสอบเพื่อดูว่ากิจกรรมคุณภาพและผลสัมฤทธ์ของมันเป็นไปตามเป้าหมายอย่างเหมาะสมหรือไม่

ISO 8402 จำกัดความหมายของ “ระบบคุณภาพ” ว่า : “ระบบคุณภาพ” คือโครงสร้างองค์กร ขบวนการทำงาน ขั้นตอนและทรัพยากรที่ใช้ในการจัดการงานคุณภาพทั้งหมดรวมกัน )
 
ISO 9000 กำหนดไว้ว่า “การตรวจสอบระบบคุณภาพ” ต้องประกอบด้วย :
 
a.-Suppliers ต้องมีการประเมินผลสัมฤทธิ์ใน “ระบบตรวจสอบระบบคุณภาพ” ของตน มีการบันทึกเก็บไว้อย่างเป็นระบบเพื่อความสะดวกในการขอดูในเวลาที่ต้องการ
b.-ผู้ตรวจสอบจะต้องเป็นผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับหน่วยงานที่ถูกตรวจสอบ ผู้ตรวจสอบจะต้องเป็นหน่วยงานที่อิสระจากการพิจารณาได้ความดีความชอบจากหน่วยการที่เขาตรวจสอบ
c.-การตรวจสอบระบบคุณภาพจะต้องตั้งอยู่ในแนวคิดของ PDCA ที่มุ่งเน้นการ “รู้สถานะจุดอ่อนและปรับปรุง” อย่างต่อเนื่องเสมอ
d.-การตรวจสอบระบบคุณภาพจะต้องทำโดยผู้ที่เข้าใจลักษณะของการทำงานเป็นอย่างดี
 
 

 

UNIDO และ JSA พยายามชี้ให้เห็นความสำคัญของ “การตรวจสอบระบบคุณภาพ (Quality Audit

เพราะมันคือเครื่องมือของ CEO ที่จะ “เห็นสถานะ”ของการ-ทำนโยบายคุณภาพให้สัมฤทธิ์ผล เพื่อที่จะได้ปรับปรุงและพัฒนาให้ขบวนการทำงานคุณภาพดีขึ้นตามแนวคิดของ PDCA” นั่นเอง !

 

พิชัย  อรุณพัลลภ
Department of Quality Management