TQM-episode -9

 

Chief Executive Officer

Managing Policy
หลังจากผ่านไป 4 งานแรกไปแล้ว  CEO ก็ต้องทำงานที่ 5 จากทั้งหมด 11 งานในการผลักดันนโยบายซึ่งประกอบด้วย :
2.1  -การประชาสัมพันธ์นโยบายให้เป็นที่ทราบทั่วกันทั้งบริษัท
2.2  -การวางโครงสร้างองค์กรที่ชัดเจน
2.3  -การวางระบบที่จะรับมือกับสถานการณ์วิกฤติ
2.4 -การสร้างความพอใจแก่ลูกค้า 

2.5  -การพัฒนาบุคลากร

2.6  -การทำการควบคุมคุณภาพ
2.7  -การวิเคราะห์ตรวจสอบว่าระบบทำงานของทุกฝ่ายอยู่ในกรอบที่รองรับงานคุณภาพ
2.8  -การสร้างคู่มือเพื่อการควบคุม การตรวจสอบ กฎเกณฑ์ในการทำงาน มาตรฐานของสินค้าและการทำงาน
2.9  -การสร้างระบบควบคุมคุณภาพในสายงานที่ไม่ใช่การผลิต
2.10-การประสานงานกับหน่วยงานมหาวิทยาลัย และหน่วยงานที่ทำวิจัย
2.11-การสร้างความเข้มแข็งด้านการแข่งขันในระดับสากล
 
 
2.5  -การพัฒนาบุคลากร

ความต้องการด้านคุณภาพของผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงเสมอ

เพื่อให้พนักงานมีความสามารถในการตอบสนองที่ทันการเปลี่ยนแปลงนี้ CEO จะต้องทำให้มีโครงการพัฒนาบุคลากรที่สร้างเสริมศักยภาพพนักงานทุกระดับตั้งแต่ผู้บริหารต่างๆลงมาจนถึงระดับปฏิบัติการเพื่อให้มั่นใจว่าองค์กรจะพร้อมเสมอต่อการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว

สิ่งที่ต้องทำมีดังนี้ :
a.-การมอบหมายผู้รับผิดชอบในการทำโครงการอบรมทั่วทั้งองค์กร
b.-การเขียนแผนในการอบรมคุณภาพสำหรับพนักงานทุกคนด้วยการปรึกษาร่วมกันกับฝ่ายต่างๆ
c.-กำหนดรายละเอียดสิ่งที่จะอบรมสำหรับงานแต่ละตำแหน่งพร้อมทั้งกำหนดดรรชนีที่จะใช้วัดผลสัมฤทธิ์
d.-ตรวจสอบการปฏิบัติจริงของแต่ละหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการพัฒนาบุคลากรของตนตามแผนที่กำหนด
e.-การจัดงบประมาณที่ชัดเจนสำหรับการอบรม
f.-การวางแผนระยะยาวเพื่อให้มีผู้ฝึกสอนจากบุคลากรในองค์กรสำหรับการอบรมความสามารถในการบริหารและความชำนาญในการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุคุณภาพ
g.-การได้มาตรฐานคุณภาพระดับชาติอาจเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับบางงาน ดังนั้นจึงควรจะมีตัวแทนอย่างน้อยฝ่ายละหนึ่งคนเพื่อประสานงานกับองค์กรในระดับชาติ
h.-สำหรับมาตรฐานคุณภาพของเนื้องาน ต้องมีการสร้างระบบการจัดการคุณภาพขึ้นมา และต้องทำให้เป็นที่รับรู้กันทั่วทั้งบริษัท
i.-การแต่งตั้งให้ผู้ที่ผ่านการอบรมคุณภาพมาแล้วให้เป็นผู้นำในการทำกิจกรรมคุณภาพในองค์กร
 
 
 
การให้ความรู้เรื่องการควบคุมคุณภาพ
การพัฒนาบุคลากรไม่ว่าฝ่ายใดก็ตามควรจะมีการบรรจุเรื่องหลักการของคุณภาพไว้เสมอ ศิลปของการการดัดแปลงหลักการนี้ไปสู่การปฏิบัติก็เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน การให้ความรู้นี้จะต้องควบคู่ไปกับศาสตร์ด้านสถิติ และ วิธีการแก้ปัญหา(Problem-solving methods) เพื่อให้ได้ความรู้ครบทุกๆมิติที่จำเป็น
การให้ความรู้ด้านคุณภาพมีขบวนการดังนี้ :
a.-ฝ่ายบุคคลและฝ่ายคุณภาพกำหนดเป้าหมายที่ต้องการบรรลุของ “คุณภาพทั้งองค์กร” โดยวางแผนปฏิบัติการสำหรับการอบรมให้ชัดเจน ฝ่ายผลิต ฝ่ายขาย ฝ่ายวิจัยและพัฒนา ฝ่ายบัญชี ฝ่ายอำนวยการควรกำหนดแผนในการอบรมของตนเอง
 
b.-กำหนดแผนรายปีสำหรับการสอนและการอบรมในระหว่างปฏิบัติงาน (On-the-job-training) OJT นั้นอาจรวมถึงการประชุมสรุปประจำเดือน การรายงานผลสัมฤทธิ์ การส่งไปอบรมสถาบันฝึกอบรมนอกบริษัทก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง
 
c.-การประชุมกลุ่มย่อยเป็นวิธีที่ดีวิธีหนึ่ง การ “ติวส่วนตัว” ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งสำหรับงานเฉพาะหน่วยงาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมที่เห็นว่าจะได้ผลที่สุด
 
d.-การอบรมควรแบ่งตามระดับสายบังคับบัญชาเพื่อให้เหมาะสมกับความรับผิดชอบของระดับนั้นๆ อย่างไรก็ตาม UNIDO แนะนำว่าโดยทั่วๆไปแล้ว 3 ถึง 5 ระดับน่าจะเหมาะสมที่สุดโดยพิจารณาจากระดับต่างๆดังนี้:
 
i.   กรรมการผู้จัดการ
ii.  ผู้จัดการฝ่าย ผู้จัดการโรงงาน ผู้จัดการฝ่ายขาย
iii. ผู้จัดการส่วนงาน
iv. พนักงานทั่วไป
v.  เจ้าหน้าที่ที่ควบคุมคุณภาพ
e.-สิ่งที่จะสอนแก่ระดับต่างๆมีดังนี้
i. ระดับอาวุโสจะถูกสอนเรื่องความเข้าใจที่ถูกต้องต่อเรื่องคุณภาพ เพราะเขาจะต้องมีบทบาทในการเป็นผู้นำที่สร้างสรรค์ที่เป็นสิ่งจำเป็นต่อการผลักดันงานคุณภาพทั้งองค์กร
 
ii.การสอนผู้จัดการระดับกลางในเรื่องขบวนการที่ถูกต้องสำหรับระบบคุณภาพ การสอนวิชาสถิติเพื่อให้เขาสามารถเก็บข้อมูลจากการผลิตได้อย่างถูกต้อง
 
iii.สำหรับพนักงานทั่วไป สอนให้เขารู้วิธีใช้เทคนิคของ QC เช่น QC-circle
 
 
f.-คณะกรรมการคุณภาพของทั้งองค์กรจะต้องศึกษาแผนการอบรมต่างๆเพื่อความมั่นใจว่าแผนได้ครอบคลุมทุกส่วนงานอย่างเหมาะสมและสามารถหวังผลได้
 
h.-บันทึกกิจกรรมที่ได้ทำของทุกส่วนว่าทำตามแผนเพียงใด ประเมินผลสัมฤทธิ์ และให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาในรอบต่อๆไป
จากแผนและการปฏิบัติข้างต้น จะต้องมีการเก็บบันทึกค่าใช้จ่ายและนำเสนอต่อคณะกรรมการบริหารของบริษัทในที่ประชุมแผนประจำปี ฝ่ายต่างๆควรมีโอกาสในการนำเสนอความคืบหน้าของการพัฒนาบุคลากรนี้อย่างทั่วถึง
 
การให้ความรู้เรื่องคุณภาพแก่ Suppliers ผู้ผลิตชิ้นส่วนวัตถุดิบแก่เรา
“คุณภาพ” ที่กล่าวมาแล้วย่อมหมายรวมถึงวัตถุดิบที่เราซื้อมาประกอบเป็นสินค้าของเราด้วย ดังนั้นเราจะต้องทำทุกวิถีทางเพื่อให้ Suppliers มีระบบคุณภาพ และการพัฒนาบุคลากรของเขาที่จริงจังเท่าๆกับเราด้วย ดังนั้น เราจึงต้องถือเป็นหน้าที่ในการให้ความรู้เรื่องคุณภาพแก่ Suppliers ของเราเช่นเดียวกันกับที่เราทำกับพนักงานของเรา
 
การให้การสนับสนุนแก่ Suppliers มีดังนี้ :
a.-ส่งผู้เชี่ยวชาญไปสอนแนวคิดและการสร้างระบบคุณภาพแก่ Suppliers
b.-กำหนดให้ Suppliers  ส่งผังเจ้าหน้าที่รับผิดชอบเรื่องคุณภาพ  วิสัยทัศน์ของเขาและเป้าหมายคุณภาพของวัตถุดิบที่เขาจะทำขายให้แก่เรา
c.-เราต้องตรวจสอบระบบคุณภาพของ Suppliers อย่างสม่ำเสมอ และเขาต้องสร้างสร้างความมั่นใจแก่เราได้ว่าเขามีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับเรา
d.-เมื่อพบจุดบกพร่อง เราต้องส่งรายงานเพื่อแจ้งให้เขาส่งแผนปรับปรุงแก่เราใหม เพื่อเราจะได้มั่นใจว่าเขามีการพัฒนาจริงและเพื่อที่เราจะช่วยชี้แนะเพื่อการปรับปรุงต่อไป
 

 

UNIDO และ JSA พยายามชี้ให้เห็นความจำเป็นของ “การพัฒนาบุคลากรผ่านการสร้างความเข้าใจของ CEO ผู้จัดการ และพนักงานทุกคน Suppliers ทุกรายด้วยการกำหนดเป็น-แผนแห่งชาติ-ที่ทุกคนต้องให้ความสำคัญและร่วมมือ”

สิ่งที่ต้องทำอ่านดูแล้วที่จริงก็ “พื้นๆ-ธรรมดาๆ” เราเองก็คิดเองได้…ใช่ไหม ! เพียงแต่ของเขา “ละเอียด-เน้น PDCA” เท่านั้นเอง !
เข้าใจแล้วววว… Eureka …
“ร่วมใจ- สร้างวิธีการที่ละเอียดเน้นคุณภาพ-พัฒนาไม่หยุดนิ่ง” คือ TQM !
 
พิชัย  อรุณพัลลภ
Department of Quality Management