TQM-episode -5

 

Chief Executive Officer

Managing Policy

เมื่อ CEO มีการวางนโยบายในระยะต่างๆแล้ว ถัดมาก็จะเป็นการ “สร้างระบบเพื่อผลักดันให้นโยบายเป็นจริง”

2 -การผลักดันนโยบาย (Ensuring Quality)
ในฐานะที่คุณเป็น CEO คุณมีหน้าที่ที่จะต้องผลักดันนโยบายเรื่องคุณภาพให้เป็นจริงให้ได้  สิ่งที่คุณต้องทำมีดังนี้ :

2.1  -การประชาสัมพันธ์นโยบายให้เป็นที่ทราบทั่วกันทั้งบริษัท

2.2  -การวางโครงสร้างองค์กรที่ชัดเจน

2.3  -การวางระบบที่จะรับมือกับสถานะการณ์วิกฤติ

2.4  -การสร้างความพอใจแก่ลูกค้า
2.5  -การพัฒนาบุคลากร
2.6  -การทำการควบคุมคุณภาพ
2.7  -การวิเคราะห์ตรวจสอบว่าระบบทำงานของทุกฝ่ายอยู่ในกรอบที่รองรับงานคุณภาพ
2.8  -การสร้างคู่มือเพื่อการควบคุม การตรวจสอบ กฏเกณฑ์ในการทำงาน มาตรฐานของสินค้าและการทำงาน
2.9  -การสร้างระบบควบคุมคุณภาพในสายงานที่ไม่ใช่การผลิต
2.10-การประสานงานกับหน่วยงานมหาวิทยาลัย และหน่วยงานที่ทำวิจัย
2.11-การสร้างความเข้มแข็งด้านการแข่งขันในระดับสากล
 

2.1 -การประชาสัมพันธ์นโยบายให้เป็นที่ทราบทั่วกันทั้งบริษัท

การประชาสัมพันธ์มีจุดประสงค์เพื่อให้ทุกคนเห็นเป้าหมายเดียวกันในทุกระยะ ระยะยาว ระยะกลาง และระยะสั้นที่เป็นปีต่อปี เพื่อที่ทุกคนจะได้ใช้พลังกาย-ใจ ใช้ทรัพยากรมุ่งไปทางเดียวกัน ไม่ใช่มุ่งแต่เป้าหมายของฝ่ายตนเองโดยละเลยเป้าของฝ่ายอื่น นั่นคือต้องให้ได้ครบทั้ง : คุณภาพ-เวลา-ต้นทุน การตัดสินใจที่บรรลุเพียงอย่างเดียวเป็นสิ่งที่ผิด หากดันทุรังจะต้องถือเป็นความจงใจทำผิดต่อองค์กรในฐานไม่ทำตามนโยบายขององค์กร หรือของ CEO !

 

A Roadmap to Quality ลงรายละเอียดเรื่องการประชาสัมพันธ์นโยบายไว้ดังนี้ :

a.-CEO ต้องมีการเตรียมตัวที่ดีในการแถลงนโยบายคุณภาพ

b.-CEO ต้องเรียกประชุมที่อาจจะมีการตั้งคำถามจากตนเองให้ทุกคนตอบ หรือให้ผู้เข้าประชุมตั้งคำถามแล้วตน
เองตอบ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดขบวนการสร้างความชัดเจนขึ้นมาให้มากที่สุด ผู้เข้าประชุมต้องรวมถึงร้านค้าที่ขายวัตถุดิบให้กับเราด้วย การให้เขาเข้าประชุมพร้อมกับพนักงานจะทำให้เขารู้สึก “เป็นพวกเดียวกัน” ความเข้าใจเรื่อง “ผลประโยชน์ร่วมจากการร่วมมือด้านคุณภาพ” จะเป็นจริงได้ง่ายขึ้น !

    
c.-ทำ card ที่มีคำขวัญเกี่ยวกับคุณภาพแจกพนักงานทุกคนให้พกติดตัวไว้เสมอ
d.-CEO ต้องสนับสนุนการทำ QC Circle(กลุ่มกิจกรรมคุณภาพ) หรือกลุ่มเพื่อการเรียนรู้ย่อย

e.-สื่อสารเรื่องนโยบายคุณภาพอย่างชัดเจนเสมอ (อย่าเป๋ด้วยการเน้นยอดขายเวลาใกล้สิ้นไตรมาสโดยการมอง
ข้ามคุณภาพ พอเลยสิ้นไตรมาส ก็กลับมาคุยเรื่องคุณภาพเหมือนจะลืมไปเลยว่าตนเองเคยส่งสัญญาณที่ไม่คงเส้นคงวาแก่พนักงาน) มิฉนั้นแล้ว พนักงานจะอ้าง CEO เป็นผู้แหกกฏได้แล้ว ทำไมคนอื่นจะแหกกฏไม่ได้

f.-CEO จะต้องหาโอกาสในการสร้างแรงดลใจเพื่อกระตุ้นให้ทุกคนตระหนักเรื่องคุณภาพอยู่เสมอ
 
 
 
 
 

การสร้างความตระหนักเรื่องคุณภาพ

มีหลายวิธีที่จะใช้สร้างความตระหนักด้านคุณภาพ  เช่น :

-ติดประกาศที่เกี่ยวกับคุณภาพเพื่อย้ำเตือนให้คิดถึงนโยบายของ CEO  และติดไว้ในที่ทุกคนจะเห็นบ่อยๆ
-ประกวดคำขวัญในหมู่พนักงาน แม้กระทั่งผู้รับเหมา  ผู้รับเหมาย่อย  จนกระทั่งถึงร้านค้า
-จัดประชุมบ่อยๆเพื่อใช้เป็นเวทีประกาศความคืบหน้าหรือความสำเร็จในเรื่องคุณภาพ

-CEO จะต้องอยู่ในที่ประชุมที่เกี่ยวกับคุณภาพจนกระทั่งเลิกประชุม อย่ากลับก่อนเลิกเพราะเหมือนไม่ให้ความ
 สำคัญ

-เชื่อมโยงผลสำเร็จทางธุรกิจกับกิจกรรมของคุณภาพ เพื่อชี้ให้ทุกคนเห็นผลกระทบของเรื่องคุณภาพที่มีต่อผลประกอบการ

-กระตุ้นพนักงานให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมระดับชาติเพื่อช่วยเพิ่มความตระหนัก ในขณะเดียวกันก็ได้ความเชื่อมั่นในตนเองที่สูงขึ้นด้วย

 
-ส่งเสริมการให้รางวัลที่มาจากทำงานเป็นกลุ่ม มากกว่ารางวัลที่ทำคนเดียว
 
การส่งเสริม QC Circle (กิจกรรมกลุ่มคุณภาพ)

QC Circle เป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์มากทั้งในแง่การสร้างความตระหนักและการสร้างความต่อเนื่องของการทำงานคุณภาพ ปกติจะประกอบด้วยคนกลุ่มย่อยๆที่สัมผัสกับงานโดยตรง สิ่งที่กลุ่มทำมักจะเกี่ยวกับการแก้ปัญหาในงาน หรือการพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นวิธีที่ CEO จะส่งเสริมมีดังนี้ :

a.-แต่งตั้งเลขา QC Circle ซึ่งจะมีหน้าที่ในการประสานงาน และกระตุ้นกิจกรรม QC Circle

b.-CEO เข้าร่วมในประชุม QC Circle ในระดับบริษัทที่มีการนำเสนอความคืบหน้า การพัฒนา โดย CEOจะต้องแสดงความสนใจในเนื้อหาด้วยการตั้งคำถาม เสนอแนะ และให้กำลังใจแก่ผู้เข้าประชุมทุกคน

c.-CEO จะต้องอยู่ให้ตลอดการประชุมเพื่อแสดงให้ทุกคนเห็นว่า CEO ให้ความสำคัญต่อเรื่องคุณภาพตามที่พูดไว้

d.-CEO จะต้องติดตามกิจกรรมของงานคุณภาพอยู่เสมอด้วยการสร้างวิธีการนำเสนอที่ดูง่าย
e.-CEO จะต้องมีบทบาทในการลงบทความเรื่องคุณภาพในวารสารของบริษัท สื่อสารในเวทีข่าวสู่ภายนอกด้วยภาษาที่เป็นบวกต่องานคุณภาพ
 
 

เห็นรายละเอียดที่ A Roadmap to Quality เขียนแม้กระทั่งว่า  “…CEO ต้องอยู่ในที่ประชุมคุณภาพจนกว่าจะประชุมเสร็จ” หรือจุกจิกกระทั่งในสิ่งที่  “…CEO จะต้องพูดอะไรในที่ประชุม” แสดงว่า UNIDO และ JSA เข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงความสำคัญของ CEO ที่มีต่อ “ความเต็มที่” ของพนักงานที่จะให้ความร่วมมือในการทำงานคุณภาพให้เป็นจริง !

ยิ่งกว่านั้น พวกเขายังย้ำถึงความสำคัญของ “ความชัดเจน” ที่ CEO จะต้องทำขึ้นมาให้เป็นรูปธรรมผ่านเครื่องมืออันแรก…นั่นก็คือ “การประชาสัมพันธ์นโยบายคุณภาพเพื่อให้ทุกคนมุ่งไปที่เป้าหมายเดียวกันให้ได้” !
 
พิชัย  อรุณพัลลภ
Department of Quality Management