วิธีการจัดการผู้เข้าฝึกอบรมที่มาสาย (ตอนที่ 1)

 

ทุกครั้งที่คุณชัยฝึกอบรมพนักงงาน  จะต้องมีคนเข้าอบรมสาย  ซึ่งเป็นการรบกวนสมาธิและความต่อเนื่องในการฝึกอบรมของผู้อื่น  ช่วยแนะนำวิธีจัดการพวกที่มาสายให้คุณชัยด้วยค่ะ...

วิธีจัดการกับผู้เข้าร่วมฝึกอบรมที่มาสายมีหลายวิธีีที่ใช้ได้ผล  เช่น เริ่มทำการสอนให้ตรงเวลา  เพราะการเริ่มสอนช้ากว่าที่กำหนดเล็กน้อยนั้น

เท่ากับเป็นการสนับสนุนผู้มาสาย ถ้าปฎิบัติแบบนี้เป็นประจำ ผู้เข้าฝึกอบรมทุกคนก็จะถือเป็นธรรมเนียมปฎิบัติในเรื่องการเริ่มสอนช้ากว่ากำหนด  และยังเป็นการเพาะนิสัยการไม่ตรงต่อเวลาอีกด้วย หรืออาจจะใช้วิธีทำช่วงเวลาแรกของการเริ่มฝึกอบรมบอกเคล็ดลับต่างๆ เรียกว่าทำให้เป็นช่วงเวลาที่มีคุณค่า 
ถ้าใครมาตรงเวลาก็จะได้รับประโยชน์มากกว่าคนอื่นๆ และอีกวิธีที่ดีก็คือ  ควรบอกเวลาพักให้ชัดเจน คือ แทนที่จะบอกว่า “เราจะพักทานของว่าง  10 นาที  ” ก็ควรบอกว่า “ขณะนี้นาฬิกาของผมเวลา 9.30 น. เราจะพัก 10 นาที แล้วกลับมาเจอกันอีก ครั้ง  9.40 น.”  วิธีนี้จะทำให้ผู้เข้าฝึกอบรมปรับเวลาให้ตรงกับผู้สอน  และกลับเข้ามาในห้องตามเวลาที่กำหนดครับ..
 
 

วิธีการจัดการผู้เข้าฝึกอบรมที่มาสาย (ตอนที่ 2)

   

เวลาที่บริษัทจัดฝึกอบรมพนักงาน  โสภณและยลดา คู่รักหวานแหวว จะต้องมาสายกว่าคนอื่นทุกครั้ง  ทำให้การฝึกอบรมชะงักและไม่ต่อเนื่อง  แบบนี้ผู้สอนต้องหาทางจัดการแล้วหล่ะค่ะ...

ถ้าผู้เข้ารับการฝึกอบรมมาสาย  ผู้สอนควรหาวิธีแก้ไขพฤติกรรมของผู้ที่ไม่ตรงต่อเวลาดังนี้
วิธีแรก  ให้ดำเนินการฝึกอบรมต่อไป  อย่าหยุดชะงัก เพราะมีผู้มาสาย  เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้มาสายทำลายการไหลลื่นของการเรียน การสอน  และควรเตรียมเอกสารและที่นั่งให้พร้อมสำหรับผู้มาสายเพื่อไม่ให้เกิดความวุ่นวาย
วิธีที่ 2 ให้ผู้มาสายเป็นผู้จับเวลา  เช่นมอบหมายให้ผู้มาสายเป็นผู้ดูแลและเตือนว่าเมื่อใดถึงเวลาพัก  และเมื่อใดสิ้นสุดเวลาพัก  วิธีนี้จะทำให้ผู้มาสายมาถึงได้ตรงเวลาด้วย
 
วิธีที่ 3  คือการลงโทษอย่างสร้างสรรค์  และสร้างความสนุกสนานจากการลงโทษ  เช่น ให้ผู้ที่มาสายมาเล่าเรื่องตลก หรือร้องเพลงให้คนอื่นๆฟังเพื่อผ่อนคลายในระหว่างเวลาพักก็ได้ครับ...
 

 

 

 
 
พิชัย  อรุณพัลลภ
Department of Quality Management